ประสิทธิภาพของเชื้อราไตรโคเดอร์มาที่รวบรวมได้จากจังหวัดเชียงใหม่ ในการควบคุมเชื้อรา <I>Sclerotium rolfsii</I>
Main Article Content
บทคัดย่อ
เชื้อรา Trichoderma spp. ที่แยกจากวัสดึเพราะในฟาร์มเห็ด ตัวอย่างดินแปลงเกษตรกรทุดอำเภอในจังหวัดเชียงใหม่ และสารชีวภัณฑ์ โดยวิธี dilution plate จำนวนทั้งหมด 156 ไอโซเลท เมื่อนำมาศึกษาการเจริญของเส้นใยเชื้อราบนอาหาร PDA สามารแบ่งอัตราการเจริญออกเป็น 3 กลุ่ม โดยมีอัตราการเจริญเฉลี่ย ± SD เท่ากับ 32.30 ± 1.62, 27.17 ± 2.32 และ 19.48 ± 0.56 มิลลิเมตรต่อวัน ตามลำดับ และการสร้างสปอร์ทั้ง 3 กลุ่ม มีปริมาณการสร้างสปอร์เฉลี่ย ± SD เท่ากับ 13.04 ± 2.52 × 1010, 7.37 ± 1.28 × 1010 และ 3.22 ± 1.22 × 1010 สปอร์/มิลลิลิตร จากนั้นคัดเลือกเชื้อราไตรโคเดอร์มา มาทดสอบประสิทธิภาพประสิทธิภาพในการเป็นปฏิปักษ์ต่อเชื้อรา Sclerotium rolfsii สาเหตุโรคราและโคนเน่าของถั่วเหลืองด้วยเทคนิค dual culture พบว่าไอโซเลท T12, T42, T75 และ TM10 มีเปอร์เซ็นต์ของการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อสาเหตุโรคภายในห้องปฏิบัติการเท่ากับ 71.67, 54.93, 60.79 และ 25.42 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ และจากการทดสอบประสิทธิภาพการควบคุมโรคในสภาพเรือนทดลอง พบว่า ไอโซเลท T15 และ T75 มีประสิทธิภาพในการควบคุมเชื้อสาเหตุได้ดีโดยพบการเกิดโรคกับต้นพืชเพีบง 25.00 เปอร์เซ็นต์ทั้ง 2 ไอโซเลท และ T42 พบการเกิดโรคถึง 48.75 เปอร์เซ็นต์ ส่วนไอโซเลท TM10 มีประสิทธิภาพในการควบคุมโรคต่ำ คือพืชแสดงอาการการเกิดโรคเท่ากับ 72.50 เปอร์เซ็นต์
Article Details
References
มาลัยพร เชื้อบัณฑิต วีระศักดิ์ ศักดิ์ศิริรัตน์ พิศาล ศิริธร และ นิวัฒ เสนาะเมือง. 2546. ความหลากหลายชนิดของเชื้อราปฏิปักษ์ Trichoderma spp. จากแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์และศักยภาพในการควบคุมเชื้อราสาเหตุโรค Fusarium wilt ของมะเขือเทศและพืชตระกูลแตง. หน้า 933-944. ใน: รายงานการประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติครั้งที่ 6. วันที่ 24-27 พฤศจิกายน 2546. โรงแรมโซฟีเทลราชาออคิด, ขอนแก่น.
สมศักดิ์ วังใน. 2528. จุลินทรีย์และกิจกรรมในดิน. ไทยวัฒนาพานิช, กรุงเทพฯ. 193 หน้า.
Chu, Y.M., J.J. Jeon, S.J. Yea, Y.H. Kim, S.H. Yun, Y.W. Lee and K.H. Kim. 2002. Double-stranded RNA mycovirus from Fusarium graminearum. Applied and Environmental Microbiology 68: 2529-2534.
Cook, R.J. and K.F. Baker. 1983. The Nature and Practice of Biological Control of Plant Pathogens. APS Press, St. Paul. 539 pp.