การชักนำให้เกิดความต้านทานโรครากเน่าไฟทอปธอรา ในสตรอว์เบอร์รีที่เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อด้วย เชื้อแอกติโนไมซีสต์เอนโดไฟต์
Main Article Content
บทคัดย่อ
จากการนำเชื้อแอกติโนไมซีสต์เอนโดไฟต์ (EA) ที่แยกได้จากพืชวงศ์กุหลาบ (Rosaceae) และพืชสมุนไพร จำนวน 97 ไอโซเลท มาทดสอบประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญของเชื้อรา Phytophthora cactorum สาเหตุโรครากเน่าของสตรอว์เบอร์รีพันธุ์ 329 (Yeal) ด้วยวิธี dual culture พบว่าสามารถคัดเลือกเชื้อที่มีประสิทธิภาพการยับยั้งการเจริญเชื้อราสาเหตุในระดับสูงมาก จำนวน 5 ไอโซเลท ได้แก่ ไอโซเลท DUC2, CINv1, FRA19, CINc1 และ POL2 โดยมีเปอร์เซ็นต์การยับยั้งไม่แตกต่างกันทางสถิติเท่ากับ 95.51, 94.38, 93.43, 89.89 และ 88.96 ตามลำดับ และเมื่อนำเชื้อ EA จำนวน 5 ไอโซเลทที่คัดเลือกได้ดังกล่าวมาตรวจสอบการเข้าอาศัยภายในต้นสตรอว์เบอร์รีในสภาพปลอดเชื้อ ด้วยวิธีการแยกเชื้อกลับ พบว่าเชื้อ EA ทั้ง 5 ไอโซเลท สามารถเข้าอาศัยภายในต้นสตรอว์เบอร์รีได้ โดยไอโซเลท DUC2 เข้าอาศัยภายในต้นสตรอว์เบอร์รีได้มากที่สุด ซึ่งสามารถแยกเชื้อกลับได้เท่ากับ 96 เปอร์เซ็นต์ จากนั้นนำต้นสตรอว์เบอร์รีที่เพาะเลี้ยงในสภาพปลอดเชื้อและได้รับการปลูกเชื้อ EA ที่คัดเลือกได้ทั้ง 5 ไอโซเลท มาทดสอบการชักนำความต้านทานต่อการเกิดโรครากเน่าโดยการหยด oospore แขวนลอยของเชื้อราสาเหตุบริเวณโคนต้นสตรอว์เบอร์รีในสภาพปลอดเชื้อ พบว่าต้นสตรอว์เบอร์รีที่ได้รับการปลูกเชื้อ EA แต่ละไอโซเลท เกิดความต้านทานต่อการเกิดโรครากเน่าได้แตกต่างกัน โดยไอโซเลท CINv1 และ FRA19 สามารถชักนำให้พืชเกิดความต้านทานต่อการเกิดโรครากเน่าได้ดีที่สุด ซึ่งลดระดับความรุนแรงของโรครากเน่าได้ไม่แตกต่างกันทางสถิติ เท่ากับ 2.20 และ 2.50 ตามลำดับ แต่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับชุดควบคุมที่มีระดับรุนแรงของโรครากเน่าเท่ากับ 3.90
Article Details
References
ณรงค์ชัย พิพัฒน์ธนวงศ์. 2543. สตรอว์เบอร์รี: พืชเศรษฐกิจใหม่. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์. 158 หน้า.
ศิริมาศ ชัยชม และ เกวลิน คุณาศักดากุล. 2557. การใช้เชื้อแอกติโนไมซีสต์เอนโดไฟต์ชักนำให้เกิดความต้านทานโรคทางใบของสตรอว์เบอร์รีด้วยเทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ. วารสารเกษตร 30(2): 141-150.
Aghighi, S., G. H. S. Bonjar, R. Rawashdeh, S. Batayneh and I. Saadoun. 2004. First report of antifungal spectra of activity of Iranian actinomycetes strains against Alternaria solani, Alternaria alternata, Fusarium solani, Phytophthora megasperma, Verticillium dahliae and Saccharomyces cerevisiae. Asian Journal on Plant Sciences 3(4): 463-471.
Bowman, K. D., U. Albrecht, J. H. Graham and D. B. Bright. 2007. Detection of Phytophthora nicotianae and P. palmivora in citrus roots using PCR-RFLP in comparison with other methods. European Journal of Plant Pathology 119: 143-158.
Erwin, D. C. and O. K. Ribeiro. 1996. Phytophthora Diseases Worldwide. APS Press, St. Paul, MN. 562 p.
Erwin, D. C., S. Garcia and P. H. Tsao. 1983. Phytophthora Its Biology, Taxonomy, Ecology And Pathology. The American Phytopathological Society. 392 p.
Ingram, D. S. 1967. The expression of R-gene resistance to Phytophthora infestans in tissue cultures of Solanum tuberosum. Microbiology 49(1): 99-108.
Kunoh, H. 2002. Endophytic actinomycetes: attractive biological control agents. Journal of General Plant Pathology 68: 249-252.
Martínez, F., S. Castillo, E. Carmona and M. Avilés. 2010. Dissemination of Phytophthora cactorum, cause of crown rot in strawberry, in open and closed soilless growing systems and the potential for control using slow sand filtration. Scientia Horticulturae 125: 756-760.
Mass, J. L. 1998. Compendium of Strawberry Diseases. APS Press, St. Paul, MN. 128 p.
Meguro, A., S. Hasegawa, M. Shimizu, T. Nishimura and H. Kunoh. 2004. Induction of disease resistance in tissue-cultured seedlings of mountain laurel after treatment with Streptomyces padanus AOK-30. Actinomycetologica 18: 48-53.
Meguro, A., Y. Ohmura, S. Hasegawa, M. Shimizu, T. Nishimura and H. Kunoh. 2006. An endophytic actinomycete, Streptomyces sp. MBR-52, that accelerates emergence and elongation of plant adventitious roots. Actinomycetologica 20: 1-9.
Nelson, S. C. and Z. G. Abad, 2010. Phytophthora morindae, a new species causing black flag disease on noni (Morinda citrifolia L.) in Hawaii. Mycologia 102(1): 122-134.
Shimizu, M., Y. Nakagawa, T. Furumai, H. Onaka, R. Yoshida and H. Kunoh. 2000. Studies on actionmycetes (I) Streptomyces sp. isolate from rhododendron and antifungal activity. Jornal of General Plant Pathology 66: 360-366.
Taechowisan, T., C. Lu, Y. Shen and S. Lumyong. 2005. Secondary metabolites from endophytic Streptomyces aureofaciens CMUAc130 and their antifungal activity. Microbiology 151: 1691-1695.
Van der Scheer, H. A. T. 1971. Isolation of Phytophthora cactorum from soil in orchards and strawberry fields and differences in pathogenicity to apple. Netherlands Journal of Plant Pathology 77: 65-72.
Valois, D., F. Karine, B. Tharcisse, G. Marie, D. Claude, B. Ryszard and B. Carole. 1996. Glucanolytic actinomycetes antagonistic to Phytophthora fragariae var. rubi, the causal agent of raspberry root rot. Applied and Environmental Microbiology 62: 1630-1635.