การควบคุมไร <I> Suidasia pontifica </I> Oudemans ในอาหารไก่ โดยใช้ฟอร์มาลดีไฮด์ร่วมกับกรดโพรพิโอนิก

Main Article Content

ฉัตราภรณ์ กุณาวงค์
เยาวลักษณ์ จันทร์บาง
ไสว บูรณพานิชพันธุ์
อำมร อินทร์สังข์

บทคัดย่อ

ฟอร์มาลดีไฮด์และกรดโพรพิโอนิกเป็นสารเคมีที่นำมาใช้ผสมอาหารสัตว์เพื่อกำจัดจุลินทรีย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Salmonella sp. ได้นำมาใช้ในการทดสอบการควบคุมไร Suidasia pontifica Oudemans ซึ่งเป็นศัตรูในโรงเก็บที่พบในอาหารไก่  ในการทดลองที่ 1 นำอาหารไก่ผสมฟอร์มาลดีไฮด์ร่วมกับกรดโพรพิโอนิกอัตรา 0.017:0.004; 0.034:0.008; 0.068:0.016 และ 0.136:0.032 เปอร์เซ็นต์ โดยน้ำหนัก หลังจากนั้นปล่อยไร S. pontifica ให้สัมผัสกับอาหารจำนวน 300 ตัว ต่ออาหารไก่ 200 กรัม พบว่า ในชุดควบคุมไร S. pontifica สามารถเพิ่มจำนวนได้ 1,022.00 ± 388.49 ตัว และ 2,924.00 ± 1,104.05 ตัว ตามลำดับ หลังปล่อยไรเป็นเวลา 1 และ 4 สัปดาห์ ตามลำดับ อาหารไก่ผสมฟอร์มาลดีไฮด์ร่วมกับกรดโพรพิโอนิกที่ระดับความเข้มข้น 0.068:0.016 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก มีผลทำให้จำนวนไรลดลงเหลือ 416.00 ± 74.48 ตัว และ 388.00 ± 46.42 ตัว ต่ออาหารไก่ 200 กรัม ตามลำดับ ในการทดลองที่ 2 การป้องกันไร S. pontifica เข้าทำลาย (re-infestation) อาหารไก่ที่ผสมฟอร์มาลดีไฮด์ร่วมกับกรดโพรพิโอนิก พบว่าในชุดควบคุมมีไรเข้าทำลายอาหารไก่ ในสัปดาห์ที่ 4 มีจำนวนเฉลี่ย 26.00 ± 31.58 ตัว ส่วนอาหารไก่ผสมฟอร์มาลดีไฮด์ร่วมกับกรดโพรพิโอนิก อัตรา 0.068:0.016 และ 0.136:0.032 เปอร์เซ็นต์ พบไรเข้าทำลาย ในสัปดาห์ที่ 7 มีปริมาณไร 92.00 ± 38.27 และ 18.00 ± 17.74 ตัว ตามลำดับ มีผลทำให้การเข้าทำลายซ้ำของไรช้าลง และในการทดลองที่ 3 ได้นำอาหารไก่ผสมฟอร์มาลดีไฮด์ร่วมกับกรดโพรพิโอนิก ในการทำความสะอาดท่อลำเลียงอาหารจำลองที่ประยุกต์การปนเปื้อนของไรจากท่อ PVC พบว่า ปริมาณไร S. pontifica ในกรรมวิธีที่ใช้ฟอร์มาลดีไฮด์ร่วมกับกรดโพรพิโอนิกผสมกับอาหารไก่อัตรา 0.034:0.008 เปอร์เซ็นต์ (592.00 ± 54.65 ตัว), 0.068:0.016 เปอร์เซ็นต์ (150.00 ± 59.28 ตัว) และ 0.136:0.032 เปอร์เซ็นต์ (12.00 ± 24.00 ตัว) แตกต่างจากไรที่ปนเปื้อนในท่อลำเลียงในชุดควบคุม (2,590.00 ± 855.35 ตัว) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมควบคุมมลพิษ. 2544. เอกสารข้อมูลความปลอดภัยเคมีภัณฑ์ (MSDS). (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://msds.pcd.go.th/ pdf/40.pdf (31 มีนาคม 2557).
กรมปศุสัตว์. 2548. ใบสำคัญการขึ้นทะเบียนอาหารสัตว์. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.dld.go.th/certify/th/images/stories/BLSC/feed%20quality%20control/FeedFeedเปอร์เซนต์20Quality%20Control/low% 20res.pdf (18 ธันวาคม 2555).
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 2539. ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กําหนดชื่อ ประเภท ชนิดหรือลักษณะของ วัตถุที่เติมในอาหารสัตว์ ที่ให้ใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตอาหารสัตว์เพื่อขายตลอดจนอัตราส่วนหรือปริมาณ ที่ให้ใช้ หรือห้ามมิให้ใช้วัตถุนั้นเกินกำหนด. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.fisheries. go.th/management/law/management/law/CONTROL20.pdf (27 มกราคม 2556).
กระทรวงสาธารณสุข. มปป. ฟอร์มาลิน หรือ ฟอร์มัลดีไฮด์ (Formalin or Formaldehyde). (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.fda.moph. go.th/project/foodsafety/formalin.htm (31 มีนาคม 2557).
จรงค์ศักดิ์ พุมนวน และ อำมร อินทร์สังข์. 2555. ประสิทธิภาพของน้ำมันหอมระเหยจากกานพลูและอบเชยในการควบคุมไร Suidasia pontifica Oudemans ในผลผลิตในโรงเก็บ. วารสารวิทยาศาสตร์ 40(4): 1205-1213.
พลอยชมพู กรวิภาสเรือง มานิตา คงชื่นสิน และ เทวินทร์ กุลปิยะวัฒน์. 2553. อนุกรมวิธานไรศัตรู โรงเก็บของประเทศไทย. หน้า 2047-2081. ใน: รายงานผลงานวิจัยประจำปี 2553 เล่มที่ 3. สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร, กรุงเทพฯ.
พันทิพา พงษ์เพียจันทร์. 2542. การตรวจสอบวัตถุดิบอาหารสัตว์ด้วยกล้องจุลทรรศน์และการควบคุมคุณภาพ. โอเดียนส โตร์, กรุงเทพฯ. 168 หน้า.
ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 8. 2553. Propionic acid. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://nakhonsawan.dmsc.moph.go.th/2011/announce.php?view=propionic (19 พฤศจิกายน 2553).
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข. 2544. สารฟอร์มาลีน. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://webdb.dmsc.moph.go.th/ifc_toxic/a_tx_2_001c.asp?Info_id=162 (31 มีนาคม 2557).
อำมร อินทร์สังข์ และ จรงค์ศักดิ์ พุมนวน. 2553. การควบคุมไรในโรงเก็บ Suidasia pontifica Oudemans โดยใช้น้ำมันหอมระเหยจากพืช. วารสารกีฏและสัตววิทยา 28(1): 40-53.
Collins, D. A. 2006. A review of alternatives to organophosphorus compounds for the control of storage mites. Journal of Stored Products Research 42(4): 395-426.
Department of Agriculture, Fisheries and Forestry. 2010. Mites in stored grain. (Online). Available: http://www.daff .qld.gov.au/26_6182.htm (November 30, 2012).
European Commission. 2002. Update of the opinion of the Scientific Committee for Animal Nutrition on the use of formaldehyde as a preserving agent for animal feeding stuffs of 11 June 1999. Scientific Opinions.
Ho, C. C., and C. S. Wu. 2002. Suidasia mite found from the human ear. Formosan Entomologist 22: 291-296.
IRAC. 2012. Acaricide mode of action classification: A key to effective acaricide resistance management. (Online). Available: http://www.iraconline.org/content/uploads/moamiteposterMarch 12v1.7.pdf (November 30, 2012).
Lorenz, S., M. Schöllerand and C. Reichmuth. 2010. Efficacy of propionic acid against the granary weevil Sitophilus granaries (L.). pp. 906-909. In. Proceedings of 10th International Working Conference on Stored Product Protection. Estoril, Portugal.
Nattudurai, G., M. Gabriel Paulraj and S. Ignacimuthu. 2012. Fumigant toxicity of volatile synthetic compounds and natural oils against red flour beetle Tribolium castaneum (Herbst) (Coleopetera: Tenebrionidae). Journal of King Saud University-Science 24(2): 153-159.
Ott, S. R. and M. R. Elphick. 2002. Nitric oxide synthase histochemistry in insect nervous systems: Methanol /formalin fixation reveals the neuroarchitecture of formaldehyde-sensitive NADPH diaphorase in the cockroach Periplaneta americana. Journal of Comparative Neurology 448: 165-185.
Rees, D. P. 1995. Coleoptera. pp. 1-39. In: B. Subramanyam and D.W. Hangstrum (eds.). Integrated Management of Insects in Stored Products. Marcel Dekker, Ink., New York.
Tursun, A., Y. Zheng and Y.F. Wang. 2011. Effect of formaldehyde in diet on development and reproduction of Drosophila melanogaster. Journal of Environmental Entomology Issue 1: 13-16.