การตอบสนองของผลผลิตหญ้าแพงโกล่าแห้งต่อการใส่ปุ๋ยในพื้นที่เกษตรกร

Main Article Content

วาสนา วิรุญรัตน์
อำพรรณ พรมศิริ

บทคัดย่อ

ศึกษาการตอบสนองของหญ้าแพงโกล่าต่อการใส่ปุ๋ยอัตราต่าง ๆ ในด้านผลผลิตน้ำหนักแห้ง โดยทำการทดลองในพื้นที่นาของเกษตรกรที่อำเภอไชยปราการ จำนวน 7 ราย และที่อำเภอสันกำแพง จำนวน 5 ราย แปลงเกษตรกร 1 รายเป็นแปลงทดลองหนึ่งซ้ำ อัตราการใส่ปุ๋ยสำหรับการปลูกหญ้าในพื้นที่เกษตรกรแต่ละราย ในแต่ละรอบการตัด มี 5 อัตราดังนี้ 1) การใส่ปุ๋ยตามคำแนะนำของกรมปศุสัตว์ (อัตรา R) โดยใช้ปุ๋ย 15-15-15 ในอัตรา 25 กก.ต่อไร่ และยูเรียอัตรา 20 กก.ต่อไร่ 2) การใส่ปุ๋ยตามอัตราเกษตรกร (อัตรา F) ซึ่งใช้ยูเรียในอัตราตั้งแต่ 0-20 กก./ไร่ ขึ้นอยู่กับเกษตรกรแต่ละราย 3) การใส่ปุ๋ยตามผลตามการวิเคราะห์ดินและปริมาณ N P K ในผลผลิตหญ้า (อัตรา ST) 4) การใส่ปุ๋ยอัตรา ST ร่วมกับการใส่ปูนในอัตรา 1,000 กก.ต่อไร่ (อัตรา STL) และ 5) การใส่ปุ๋ยอัตรา ST ร่วมกับ การใส่มูลวัวในอัตรา 3,000 กก.ต่อไร่ต่อปี (อัตรา STM) ดินในพื้นที่ของเกษตรกรที่ใช้ทดลองทุกแปลงมีปฏิกิริยาของดินในระดับที่เป็นกรดจัดมาก และมีปริมาณของฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ได้ และโพแทสเซียมที่สามารถแลกเปลี่ยนได้อยู่ในระดับสูงมาก ดังนั้นการใส่ป็ยในอัตรา ST จึ่งใช้เฉพาะยูเรียในอัตรา 17 กก.ต่อไร่ต่อต้นหญ้า 1 รอบ ผลการทดลองพบว่า หย้าแพงโกล่าที่ปลูกในพื้นที่ทั้ง 2 แห่งมีการตอบสนองต่ออัตราการใส่ปุ๋ยอย่างมีนัยสำคัญ แต่ระยะเวลาที่พบการตอบสนองต่อปุ๋ยอย่างมีนัยสำคัญ และลักษณะในการตอบสนองต่อการใส่ปุ๋ยแต่อัตราในแต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกัน ในแต่ละรอบการตัดที่หญ้ามีการตอบสนองต่อการใส่ปุ๋ยนั้น พบว่าทั้งสองพื้นที่การใส่อัตรา R ทำให้หญ้ามีผลผลิตน้ำหนักแห้งสูงที่สุด และแตกต่างจากการใส่ปุ๋ยอัตราอื่น ๆ อย่างมีนัยสำคัญ สำหรับการทดลองที่อำเภอสันกำแพง การใส่ปุ๋ยอัตรา STL และ STM ให้ผลผลิตน้ำหนักแห้งดีกว่าอัตรา ST ในทางสถิติในบางช่วงของการเก็บเกี่ยว ถึงแม้การใส่ปุ๋ยอัตรา R ทำให้ผลผลิตรวมของหญ้าในพื้นที่ทั้งสองอำเภอที่ได้จากการ เก็บเกี่ยว 4 ครั้ง สูงกว่าทุกกรรมวิธีของการใส่ปุ๋ย ST แต่ ST ทุกกรรมวิธีให้ผลผลิตต่อหนึ่งหน่วยน้ำหนักของธาตุอาหารหลักในปุ๋ยที่ใส่มากกว่าอัตรา R ประมาณ 2 เท่า

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมลทิพย์ เรารัตน์. 2549. ผลของความถี่และความสูงในการตัดที่มีต่อผลผลิตและเปอร์เซ็นต์โปรตีนในหญ้าแพงโกล่า. ปัญหาพิเศษ. ภาควิชาพืชไร่ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 28 หน้า.
กรมปศุสัตว์. 2545. ปริมาณคาร์โบไฮเดรตละลายน้ำได้ของหญ้าและถั่วที่ตัดอายุต่าง ๆ กัน. กองอาหารสัตว์ กรมปศุสัตว, กรุงเทพฯ.
การดา นาคมณี ศศิธร ถิ่นนคร วิรัช สุขสถาน และ วารุณี พานิชผล. 2545. อิทธิพลของปุ๋ยฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมที่มีผลต่อผลผลิตและส่วนประกอบทางเคมีของหญ้ารูซี(1) ในชุดดินปากช่อง. หน้า 175-191. ใน: รายงานผลงานวิจัยกองอาหารสัตว์ ประจำปี 2545. กรมปศุสัตว์, กรุงเทพฯ.
เฉลิมพล แซมเพชร. 2524. ทุ้งหญ้าเขตร้อน. หน่วยออฟเซ็ท คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 244 หน้า.
เฉลิมพล แซมเพชร อำพรรณ พรมศิริ อรวรรณ โอภาสพัฒนกิจ พรสิริ สืบพงษ์สังข์ สุวิทย์ อินทฤทธิ์ วิทยา ปัญญาโกษา จีราวรรณ อกตัน และ ธนากร คาพูน้อย. 2549. โครงการการพัฒนาความร่วมมือเพื่อสนับสนุนการปลูกหญ้าเป็นทางเลือกเกษตรกรในจังหวัดลำพูนและเชียงใหม่. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, กรุงเทพฯ. 181 หน้า.
นพมาศ นามแดง. 2545. การศึกษาอิทธิพลของปุ๋ยไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมต่อการเจริญเติบโตผลผลิตและคุณภาพของหญ้าอุบลพาสพาลัม (Paspalum atratum cv. Ubon). วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
ไพบูลย์ วิวัฒน์วงศ์วนา. 2546. เคมีดิน. สำนักพิมพ์เชียงใหม่พิมพ์สวย, เชียงใหม่. 273 หน้า.
ศรีสม สุวรรณวงค์. 2544. การวิเคราะห์ธาตุอาหารพืช. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 141 หน้า.
สายัณห์ ทักศรี. 2547. พืชอาหารสัตว์เขตร้อน. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 543 หน้า.
สายัณห์ ทัดศรี นิรันดร์ บำรุง และ หยาง เจิ้งไน่. 2542ก. ผลผลิตและคุณภาพของหญ้าซีพีแพนโกล่าภายใต้สภาพการจัดการแตกต่างกัน. lll. ผลกระทบของการแบ่งใส่ปุ๋ยไนโตรเจน. วารสารเกษตรศาสตร์ (วิทย.) 33: 303-309.
สายัณห์ ทัดศรี นิพนธ์ ภาชนะวรรณ์ นิรันดร์ บำรุง และ หยาง เจิ้งไน่. 2542ข. ผลผลิตและคุณภาพของหญ้าซีพีแพนโกล่าภายใต้สภาพการจัดการแตกต่างกัน. lV. ชนิดและวิธีการใส่ปุ๋ยไนโตรเจน. วารสารเกษตรศาสตร์ (วิทย.) 33: 515-521.
Houba, V.J.G., J.J. van der Lee, I. Novozamsky and I. Wallinga. 1988. Determination of pH and correction of soil pH (lime or acid requirement) pp. 7.1-7.4. In: Soil Analysis Procedures. Department of Soil Science and Plant Nutrition. Wageningen Agricultural University Wageningen, Netherlands.
Vicente-Chandler, J., R.W. Pearson, F. Abruna and S. Silva. 1962. Potassium fertilization of intensively managed grasses under humid tropical conditions. Agron. J. 54: 540-543.