การเพิ่มผลผลิตมะลิลาในฤดูหนาวด้วยการพ่นสารเคมี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาอิทธิพลของสารเคมีต่อผลผลิตและขนาดของดอกมะลิลา ดำเนินการระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2546 ถึงมีนาคม พ.ศ. 2547 โดยวางแผนการทดลองแบบ RCB 4 ซ้ำ 5 กรรมวิธี ได้แก่ กรรมวิธีที่ 1 พ่นสารโพแทสเซียมไนเตรท (KNO3) ความเข้มข้น 25,000 มก./ล. ในวันตัดแต่งกิ่งครั้งที่ 2 พ่นสารคลอร์มีควอทคลอไรด์ (CCC) ความเข้มข้น 500 มก./ล. หลังตัดแต่งกิ่งได้ 10 วัน และพ่นปุ๋ยทางใบ สูตร 15-30-15 ความเข้มข้น 2,000 มก./ล. ทุก 15 วันหลังตัดแต่งกิ่งกรรมวิธีที่ 2 ปฏิบัติคล้ายกรรมวิธีที่ 1 แต่พ่นสารพาโคลบิวทราโซล ความเข้มข้น 100 มก./ล. แทนสาร CCC กรรมวิธีที่ 4 ปฏิบัติคล้ายกรรมวิธีที่ 1 แต่ไม่พ่นสาร KNO3 กรรมวิธีที่ 5 ไม่พ่นสารเคมีใด ๆ (กรรมวิธีควบคุมพบว่า สารเคมีที่ใช้ทำให้มะลิลาในกรรมวิธีที่ 1 และ 3 มีน้ำหนักดอก/ต้นสูงที่สุดเท่ากับ 30.6 และ 31.2 กรัม/ต้นแตกต่างกับกรรมวิธีที่ 2, 4 และ 5 ที่ให้น้ำหนักดอก 16.1, 14.9 และ 12.2 กรัม/ต้น ตามลำดับ การทดสอบทุกกรรวิธีไม่มีผลต่อขนาดดอก
Article Details
References
ธวัชชัย นิ่มกิ่งรัตน์. 2542. อิทธิพลของสารเคมีต่อการออกดอกของมะลิลาในฤดูหนาว. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 105 หน้า.
ธวัชชัย นิ่มกิ่งรัตน์. 2548. ชุดเทคโนโลยีการผลิตมะลิลา (Jasminum sambac Ait.) วารสารวิชาการเกษตร 23(3): 263-270.