การประเมินพ่อและแม่พันธุ์เพื่อการผลิตลูกผสมชั่วที่ 1 ของผักกาดเขียวปลี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การประเมินผักกาดเขียวปลีลูกผสมชั่วที่ 1 จำนวน 7 พันธุ์ และเปรียบเทียบกับ พันธุ์พ่อแม่ พันธุ์การค้าวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ในบล็อก มี 3 ซ้ำ ทดสอบในฤดูหนาว ปี พ.ศ. 2554 ณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พบว่ามีผลผลิตเฉลี่ย 2,016 ถึง 4,435 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ พันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูงที่สุด คือ พันธุ์ 2M ส่วนพันธุ์ BC9(4-4 x 2M) ที่ใช้เป็นแม่พันธุ์ผสมกับพ่อพันธุ์ 4OR ให้ลูกผสมชั่วที่ 1 พันธุ์ BC9(4-4x2M) x 4OR ที่มีผลผลิตสูง 3,468 กิโลกรัมต่อไร่ และพันธุ์ BC9(4-3x19H) x 2M BC9(4-4x 4OR) x 19H9 BC9(4-4x 4OR)x2M และ BC11(4-4x4OR)x2M มีน้ำหนักปลีเฉลี่ย 350 ถึง 450 กรัมต่อหัว ซึ่งเป็นน้ำหนักหัวที่เป็นที่ต้องการของโรงงานแปรรูป ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่เปอร์เซ็นต์การตัดแต่งไม่มีความแตกต่างกันในทางสถิติและการศึกษาความดีเด่นของผักกาดเขียวปลีลูกผสมชั่วที่ 1 ลูกผสมชั่วที่ 1 ส่วนใหญ่มีความดีเด่นของลูกผสมระดับต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของพ่อ-แม่ ลูกผสมชั่วที่ 1 พันธุ์ BC9(4-4x4OR)x19H9 มีความดีเด่นของลูกผสม ในด้านของน้ำหนักผลผลิตต่อไร่ น้ำหนักปลีก่อนตัดแต่ง น้ำหนักปลีหลังตัดแต่ง เปอร์เซ็นต์การตัดแต่ง และอัตราส่วนของลำต้นในทางลบ เท่ากับร้อยละ 16.7, 33.5, 16.7, 17.8 และ 21.9 ตามลำดับ ความแน่นของปลีและอัตราส่วนของหัวแสดงออกในทางบวก ซึ่งมีค่าความดีเด่น 42.5 และ 1.6 ตามลาดับ และความดีเด่นของลูกผสมที่เหนือกว่าพ่อหรือแม่ที่ดีที่สุดในด้านผลผลิตต่อไร่ พบว่า พันธุ์ BC11(4-4x4OR)x2M BC9(4-4x4OR)x2M BC9(4-3x19H)x2M BC9(4-4x4OR)x19H9 BC9(4-4x2M)x19H9 BC9(4-4x2M)x4OR และ BC11(4-4x4OR)x19H16 แสดงความดีเด่นในทางลบ เท่ากับร้อยละ 50.6, 50.5, 41.3, 35.1, 27.2, 16.0 และ 13.9 ตามลำดับ ส่วนความดีเด่นเหนือกว่าพันธุ์มาตรฐานหรือพันธุ์ที่ปลูกเป็นการค้าในด้านผลผลิตต่อไร่ พบว่า ลูกผสมชั่วที่ 1 พันธุ์ BC11(4-4x4OR)x2M BC9(4-4x4OR)x2M BC9(4-4x4OR)x19H9 BC9(4-3x19H)x2M BC9(4-4x2M)x19H9 BC11(4-4x4OR)x19H16 และ BC9(4-4x2M)x4OR แสดงความดีเด่นในทางลบ เท่ากับร้อยละ 47.4, 47.3, 38.6, 37.5, 31.1, 23.8 และ 16.9 ตามลำดับ
Article Details
References
โชคชัย ไชยมงคล มณีฉัตร นิกรพันธุ์ และ ตระกูล ตันสุวรรณ. 2540. การเปรียบเทียบพันธุ์ผักกาดเขียวปลี. วารสารเกษตร 13(1) : 38-42.
นรินทร์ เสนาป่า โชคชัย ไชยมงคล ตระกูล ตันสุวรรณ และ มณีฉัตร นิกรพันธุ์. 2545. การปรับปรุงพันธุ์ผักกาดเขียวปลีลูกผสมโดยอาศัยยีนเพศผู้เป็นหมันในไซโตพลาสซึม. วารสารเทคโนโลยีสุรนารี 9: 283-288.
มณีฉัตร นิกรพันธุ์. 2545. กะหล่ำ. ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 208 หน้า.
วีรพันธ์ กันแก้ว. 2548. ความดีเด่นของลูกผสมและสมรรถนะในการผสมของถั่วอะซูกิ. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณทิต (เกษตรศาสตร์) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 98 หน้า.
ดำเนิน กาละดี. 2545. เทคโนโลยีการปรับปรุงพันธุ์พืช. โรงพิมพ์มิ่งเมือง, เชียงใหม่. 256 หน้า.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2553. ปริมาณและมูลค่าการนำเข้า-ส่งออกเมล็ดพันธุ์. (ระบบออนไลน์) แหล่งที่มา http://www.oae.go.th/ewtnews.php?nid= 145& ;filename=index (24 สิงหาคม 2554).
Banga, S.S. 1998. Heterosis: an introduction. In S. S. Banga, and S. K. Banga. Hybrid Cultivar Deverlopment. New Delhi, India. pp 1-6.
Dar, Z. A., A. Shafiq, M. Altaf, M. Gulzaffar, H. Khan, M. Habib, Z. Ahmed and A. Ishfaque. 2011. Heterosis and combining ability analysis for seed yield and its attributes in Brassica rapa ssp. brown sarson. Journal of Oilseed Brassica 2(1): 21-28.
Liu, Y. H., G. F. Zhou, Y. H. Fau, H. Q. Lin and C. L. Chen. 2002. The heterosis of F1 hybrid between CMS lines and male parent lines in tumorous stem mustard (var. tumida). Southwest China Journal of Agricultural Science 15(3): 33-38.
Priti, G., H. B. Chaudhery and S. K. Lal. 2010. Heterosis and combining ability analysis for yield and its components in Indian mustard (Brassica juncea L. Czern & Coss). Frontiers of Agriculture in China 2010, 4(3): 299-307.
Purseglove, J. W. 1968. Tropical Crops Dicotylendons 1. Longmans Green & Co. Ltd, London. 332 p.
Rao, G.U., V. Batra-Sarup, S. Prakash and K.R. Shivanna. 1994. Development of a new cytoplasmic male sterility system in Brassica juncea through wide hybridization. Plant Breeding 112(2): 171-174.
Sabaghnia, N., H. Dehghani, B. Alizaden and M. Mohghaddam. 2010. Heterosis and combining ability analysis for oil yield and its components in rapeseed. Australian Journal Crop Science 4(6): 390-397.
Szasz, A., M. Landgren, J. Fahleson and K. Glimelius. 1991. Characterization and transfer of the cytoplasmic male sterile Anand catoplasm from Brassica juncea to Brassica napus via protoplast fusion. Physiologia Plantarum 82(1): 29.
Yamagishi, H. and T. Terachi. 1993. Molecular and biological studies on male-sterile cytoplasm in the Cruciferae. The origin and distribution of Ogura male-sterile cytoplasm in Japanese wild radishes (Raphanus sativus L.) revealed by PCR-aided assay of their mitochondrial DNAS. Molecular and Cellular Biology 8(4): 1474-1480.