การเก็บรักษาผลส้มสายน้ำผึ้งที่อุณหภูมิต่าง ๆ

Main Article Content

วิลาวัลย์ คำปวน

บทคัดย่อ

การเก็บรักษาผลส้มที่เคลือบผิวด้วยเคลือบผิว 2 ชนิด (A หรือ B) หรือบรรจุในถุงพลาสติก 2 ชนิด (ชนิดขุ่น PE และชนิดใส PP) แล้วนำไปเก็บไว้ที่อุณหภูมิ 15, 25, 30 และ 35 องศาเซลเซียส พบว่า ผลส้ชุดควบคุมที่เก็บรักษาไว้ที่อุณหภูมิ 35 องศาเซลเซียส แสดงอาการเหี่ยวเมือ่เก็บรักษานาน 4 วัน สำหรับผลที่เคลือบด้วยสารเคลือบผิวชนิด A และ B ไม่แสดงอาการเหี่ยว แต่เริ่มพบกลิ่นผิดปกติเมื่อเก็บรักษาไว้นาน 2 และ 4 วัน ตามลำดับ ส่วนผลที่บรรจุพลาสติกทั้งสองชนิดยังคงสภาพภายนอกสดเมื่อเก็บรักษานาน 10 วัน โดยที่รสกลิ่นยังไม่เปลี่ยนแปลง แต่พบการเข้าทำลายของเชื้อจุลินทรีย์มากกว่าผลส้มที่ผ่านการเคลือบผิว การเก็บรักษาผลส้มทุก ๆ วิธีการทดลองไว้ที่อุณหภูมิต่ำลงจะช่วยยืดอายุการเก็บรักษาของผลส้มให้นานขึ้นตามลำดับ ในสภาพอุรหภูมิต่ำจะมีผลต่อการลดการสูญเสียน้ำในชุดควบคุม ยืดระยะเวลาในการเกิดกลิ่นผิดปกติในผลที่เคลือบผิวกเวยสารเคลือบผิว และลดการเกิดโรคในผลส้มที่บรรจุในถุงพลาสติกทั้งสองชนิด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

วิลาวัลย์ คำปวน กันยา แอ่นกาศ และ จำนงค์ อุทัยบุตร. 2548. การเปลี่ยนแปลงคุณภาพระหว่างการเก็บรักษาของผลส้มสายน้ำผึ้งที่ผ่านการเคลือบผิว. ว. วิทย. กษ. 36(5-6) (พิเศษ): 72-75.
สายชล เกตุษา. 2528. สรีรวิทยาและเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวของผักและผลไม้. โรงพิมพ์ศูนย์ส่งเสริมและฝึกอบรมการเกษตรแห่งชาติ, นครปฐม. 364 หน้า.
Hagenmaier, R.D. 2000. Evaluation of a polyethylene-candelilla coating for 'Valencia' oranges. Postharvest Biol. Technol. 19: 147–154.
Hagenmaier, R.D. and R.A. Baker. 1994. Internal gases, ethanol content and gloss of citrus fruit coated with polyethylene wax, carnauba wax, shellac or resin at different application levels. Proc. Fla. State Hort. Soc. 107: 261-265.
Kader, A.A. 2002. Postharvest biology and technology: An overview. pp. 39-47. In: A.A. Keder (ed.). Postharvest Technology of Horticultural Crops. 3rd ed. Agriculture and Natural Resources, University of California, California.
Zagort, D. and A.A. Kader. 1988. Modified atmosphere packaging of fresh produce. Food Technologr 42(9): 70-77.