การจัดการปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินต่อการเจริญเติบโต ผลผลิต และประสิทธิภาพการใช้ไนโตรเจนของข้าว ที่ปลูกในชุดดินสรรพยา

Main Article Content

อุไรวรรณ ไอยสุวรรณ์

บทคัดย่อ

ดำเนินการทดลองที่มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการจัดการปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินต่อการเจริญเติบโต การให้ผลผลิต และประสิทธิภาพการผลิตข้าวพันธุ์ปทุมธานี วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ภายในบล็อก (randomized complete block designs, RCBD) มี 6 ซ้ำ 5 กรรมวิธี ได้แก่ กรรมวิธีที่ 1 ไม่มีการใส่ปุ๋ยเคมี (control) กรรมวิธีที่ 2 ใส่ปุ๋ยตามวิธีการของเกษตรกร (farmer, F) กรรมวิธีที่ 3 ใส่ปุ๋ยเคมีที่สอดคล้องกับการจัดการปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน (site-specific fertilizer management, SSF) และ กรรมวิธีที่ 4 และ 5 การใส่ปุ๋ยเคมีเป็น 2 และ 3 เท่าของค่าการใช้ปุ๋ยเฉพาะพื้นที่ (2SSF และ 3SSF ตามลำดับ) ผลการทดลอง พบว่า จำนวนต้นต่อกอที่อายุ 30 วันและความสูงที่อายุ 50 วัน ของข้าวที่ได้รับปุ๋ยตามวิธีของเกษตรกรให้ค่าเฉลี่ยสูงที่สุด (P<0.05) สำหรับที่อายุ 50 วัน ต้นข้าวในกรรมวิธี 3SSF มีค่าเฉลี่ยจำนวนต้นต่อกอสูงที่สุดเป็น 14.25 ต้นต่อกอ ไม่แตกต่าง (P>0.05) กับกรรมวิธีที่ได้รับปุ๋ยตามวิธีของเกษตรกรซึ่งมีค่าเป็น 14.03 ต้นต่อกอ แต่ทั้งสองกรรมวิธีให้ค่าเฉลี่ยแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) กับกรรมวิธีควบคุม กรรมวิธีที่ได้รับปุ๋ยอัตรา SSF และ 2SSF ส่วนจำนวนเมล็ดต่อรวง และผลผลิตข้าว กรรมวิธีที่ได้รับปุ๋ยอัตรา F ให้ค่าเฉลี่ยสูงที่สุด เป็น 99.38 เมล็ดต่อรวง และ 1,195.25 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) กับกรรมวิธีควบคุม SSF, 2SSF และ 3SSF การใส่ปุ๋ยเคมีอัตรา SSF ให้ค่าประสิทธิภาพการผลิตข้าว และรายได้หลังหักค่าปุ๋ยสูงที่สุด ดังนั้น ในการปลูกข้าวปทุมธานีในชุดดินสรรพยาควรมีการตรวจวิเคราะห์ดินและใส่ปุ๋ยในอัตราตามค่าวิเคราะห์ดินซึ่งจะทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิ่งแก้ว คุณเขต สำราญ อินแถลง สมโรจน์ ประกอบบุญ นิตยา รื่นสุข อดุลย์ กฤษวะดี ประนอม มงคล-บรรจง วาสนา อินแถลง ชิษณุชา บุดดาบุญ อมรรัตน์ อินทร์มั่น เฉลิมชาติ ฤาไชยคาม สุรพล จัตุพร และ โอภาส วรวาท. 2552 การเพิ่มผลผลิตข้าวภาคกลางจากการจัดเขตศักยภาพของพื้นที่. ประชุมวิชาการข้าวและธัญพืชเมืองหนาว ประจำปี 2552 ณ โรงแรม ซีบรีท จอมเทียน พัทยา จ.ชลบุรี. หน้า 82-98.
กรมพัฒนาที่ดิน. 2548. ชุดดินสรรพยา. หน้า. 37 ใน: เอกสารวิชาการ ลักษณะและสมบัติของชุดดินในภาคกลางของประเทศไทย.
นิตยา รื่นสุข ประนอม มงคลบรรจง และ วาสนา อินแถลง. 2551. การจัดการเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการผลิตข้าวลูกผสมสายพันธุ์ PTT06001H. ประชุมวิชาการข้าวและธัญพืชเมืองหนาว ปี 2551 ณ โรงแรม ชลจันทร์ รีสอร์ท พัทยา จ.ชลบุรี. หน้า 74-90.
นันทนา ชื่นอิ่ม วิวัฒน์ อิงคะประดิษฐ์ สมชาย กรีฑา-ภิรมย์ และ นุษรา สินบัวทอง. 2553. การใช้ปุ๋ยเคมีในนาข้าวตามค่าการวิเคราะห์ดิน.การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 48, 3-5 กุมภาพันธ์ 2010, กรุงเทพมหานคร
ปรีชา พราหมณีย์ ประจักษ์ ประเสริฐศักดิ์ และ จักรินทร์ ศรัทธาพร. 2544. การทดสอบการใช้ปุ๋ยเคมีในอ้อยตามค่าวิเคราะห์ดิน. หน้า. 1-28 ใน: รายงานผลงานวิจัยประจำปี 2544. ศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรี สถาบันวิจัยพืชไร่ กรมวิชาการเกษตร.
ไพลิน รัตนจันทร์ อานัน ผลวัฒนะ ทัศนีย์ อัตตะนันท์ และ นิวัติ เจริญศิลป์. 2550. การจัดการธาตุอาหารเฉพาะพื้นที่เพื่อการผลิตข้าวในพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา. ประชุมวิชาการข้าวและธัญพืชเมืองหนาว ประจำปี 2550 วันที่ 19-20 กุมภาพันธ์ 2550. ปทุมธานี 314 หน้า.
ยงยุทธ โอสถสภา อรรถศิษฐ์ วงศ์มณีโรจน์ และ ชวลิต ฮงประยูร. 2551. ปุ๋ยเพื่อการเกษตรยั่งยืน. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ. หน้า 55-72.
สถาบันวิจัยข้าว. 2545. เทคโนโลยีการผลิตข้าวพันธุ์ดี. กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและ สหกรณ์, กรุงเทพฯ.
อรพิน เกิดชูชื่น และ ผ่องพรรณ พุทธาโร. 2545. อิทธิพลของปุ๋ยยูเรียและแอมโมเนียมซัลเฟตต่อ growth rate, leaf area index และ net assimilation rate ของข้าวเจ้าหอมพันธุ์ปทุมธานี 1. วารสารวิจัยและพัฒนา มจธ. 25: 233-243.
อรรณพ คณะเจริญพงษ์. 2541. ผลกระทบของปุ๋ยจากบ่อแก๊สชีวภาพ และอัตราเมล็ดพันธุ์ของข้าวหอมมะลิ 105 ในนาหว่านน้ำตม. วารสารเกษตร 14: 270-278.
อุไรวรรณ ไอยสุวรรณ์ จีระศักดิ์ ชอบแต่ง และ สมศักดิ์ เภาทอง. 2554. ผลผลิต องค์ประกอบทางเคมีและประสิทธิภาพการดูดใช้ธาตุไนโตรเจนของหญ้ารูซี่ที่ได้รับปุ๋ยไนโตรเจนในระดับต่าง ๆ. ประชุมวิชาการครั้งที่ 8 วันที่ 8-9 ธันวาคม 2554 ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน นครปฐม. หน้า 77-83.
Ladha, J. K., H. Pathak, T. Krupnik, J. Six, and C. van Kessel. 2005. Efficiency of fertilizer nitrogen in cereal production: retrospects and prospects. Advance Agronomy 87: 85-156.
Rao, E. V. S. P. and R. Prasad. 1980. Nitrogen leaching losses from conventional and new nitrogenous fertilizers in lowland rice culture. Plant and Soil 57: 383-392.