การใช้เชื้อแอกติโนไมซีสเอนโดไฟต์ชักนำให้เกิดความต้านทานโรคทางใบของสตรอว์เบอร์รีด้วยเทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

Main Article Content

ศิริมาศ ชัยชม
เกวลิน คุณาศักดากุล

บทคัดย่อ

จากการวินิจฉัยโรคทางใบของสตรอว์เบอร์รี พบอาการใบจุดและอาการใบไหม้ มีเชื้อ Colletotrichum sp. และ เชื้อ Pestalotia sp. เป็นสาเหตุตามลำดับ และจากศึกษาเชื้อปฏิปักษ์ในกลุ่มแอคติโนไมซีสเอนโดไฟต์เพื่อควบคุมเชื้อราสาเหตุทั้ง 2 ชนิด โดยการแยกเชื้อจากพืชสมุนไพรและพืชวงศ์กุหลาบ (Rosaceae) บนอาหาร IMA-2 พบว่าสามารถแยกเชื้อได้จำนวน 102 ไอโซเลต เมื่อนำมาคัดเลือกเชื้อที่มีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราสาเหตุโรคทางใบ ด้วยวิธี Dual Culture บนอาหาร IMA-2 พบ เชื้อจำนวน 6 ไอโซเลต คือ ERY2, MET4, POL4, DUC2, PRU2 และ ROS7 มีประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อราสาเหตุโรคดังกล่าวได้ในระดับสูง โดยมีการยับยั้งมากกว่า 70เปอร์เซ็นต์ ไอโซเลต MET4 มีเปอร์เซ็นต์ยับยั้งเชื้อ Colletotrichum sp. มากที่สุดเท่ากับ 92.50 เปอร์เซ็นต์ และไอโซเลต PRU2 มีเปอร์เซ็นต์ยับยั้งเชื้อ Pestalotia sp. มากที่สุดเท่ากับ 87.50 เปอร์เซ็นต์ เมื่อนำเชื้อแอกติโนไมซีสเอนโดไฟต์ทั้ง 6 ไอโซเลต ที่คัดเลือกได้ไปทดสอบการเข้าอยู่อาศัยในเนื้อเยื่อของต้นกล้าสตรอว์เบอร์รีที่เพาะเลี้ยงในสภาพปลอดเชื้อ เพื่อชักนำให้เกิดการต้านทานต่อการเกิดโรคทางใบ โดยหยดเซลล์แขวนลอยของเชื้อแต่ละไอโซเลต ลงบริเวณโคนต้นกล้าสตรอว์เบอร์รีที่เพาะเลี้ยงในสภาพปลอดเชื้อ และบ่มเชื้อไว้เป็นเวลา 14 วัน เมื่อนำชิ้นพืชมาทดสอบการเข้าอยู่อาศัยของเชื้อแต่ละไอโซเลตโดยวิธีแยกเชื้อกลับ พบว่า เชื้อ 6 ไอโซเลตดังกล่าวข้างต้น มีเปอร์เซ็นต์การแยกเชื้อกลับได้ เท่ากับ 96, 56, 70, 100, 100 และ 93 ตามลำดับ โดยส่วนใหญ่สามารถแยกเชื้อกลับได้จากส่วนใบของต้นกล้าสตรอว์เบอร์รีในทุกไอโซเลต และจากการทดสอบการชักนำให้เกิดความต้านทานโรคทางใบในสภาพปลอดเชื้อของต้นกล้าสตรอว์เบอร์รีที่ได้รับการปลูกเชื้อแอกติโนไมซีสเอนโดไฟต์แต่ละไอโซเลต เป็นเวลา 21 วัน พบว่า ต้นกล้าที่ได้รับการปลูกเชื้อแอกติโนไมซีสเอนโดไฟต์แต่ละไอโซเลตมีระดับความรุนแรงของโรค ระหว่าง 0.44-1.88 ซึ่งน้อยกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับชุดควบคุมที่มีค่าระหว่าง 3.78-4.00 โดยไอโซเลต MET4 สามารถชักนำให้เกิดความต้านทานต่อการเข้าทำลายของเชื้อสาเหตุโรคทางใบทั้ง 2 ชนิดได้ดีที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมการเกษตร. 2541. สตรอเบอร์รี่. เอกสารแนะนำที่ 106 ฝ่ายเอกสารแนะนำ กองเกษตรสัมพันธ์

กรมส่งเสริมการเกษตร. กรุงเทพฯ. 36 หน้า.

ณรงค์ชัย พิพัฒน์ธนวงค์. 2553. สตรอเบอร์รี่ พันธุ์พระราชทาน 80 ความหวานที่ไม่ซ่อนเปรี้ยว. (ระบบออนไลน์) แหล่งข้อมูล: http://www.kehakaset.com (5 มกราคม 2555).

ณรงค์ชัย พิพัฒน์ธนวงศ์ เวช เต๋จ๊ะ และ สมศักดิ์ รุ่งอรุณ. 2556. การผลิตต้นไหลสตรอเบอร์รีโดยการใช้วิธีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ Strawberry Runner Plant Production by Using Tissue Culture Technique. สถาบันค้นคว้าและพัฒนาระบบนิเวศเกษตร, สถานีวิจัยดอยปุยสถาบันค้นคว้าและพัฒนาระบบนิเวศเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ปริฉัตร พละพึง. 2546. การปรับปรุงพันธุ์สตรอเบอร์รีต้านทานโรคแอนแทรกโนส. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาโรคพืช บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 105 หน้า.

ปริญญา จันทรศรี. 2546. โรคแอนแทรคโนสของสรตอเบอร์รี. หน่วยวิจัยการควบคุมโรคพืช. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.ist.cmu.ac.th/riseat/.php. (6 มกราคม 2555).

ยอดชาย นิ่มรักษา. 2544. การควบคุมโรคใบจุดและโรคใบไหม้ชองสตรอเบอรี่โดยใช้เชื้อจุลินทรีย์ปฏิปักษ์. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาโรคพืช คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.63 หน้า.

ศรัญญา ลิ้มไขแสง. 2544. ความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของเชื้อรา Colletotrichum จากการวิเคราะห์ลำดับเบสในตำแหน่งอินเทอร์นัลทรานสไครพ์ สเพเซอร์. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาโรคพืช บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Barnett, H. L. and B. B. Hunter.1987. Illutrated Genera of Imperfect Fungi. Macmillan Publishing Company, New York. pp. 192-193.

Meguro, A., S. Hasegawa, M. Shimizu, T. Nishimura and H. Kunoh. 2004. Induction of disease resistance in tissue-cultured seedlings of Mountain Laurel after treatment with Streptomyces padanus AOK-30. Actinomycetologica 18: 48-53.

Sardi, P., M. Saraneehi, S. Quaroni, B. Peterolini, G. E. Borgonovi and S. Merli. 1992. Isolation of endophytic Streptomyces strains from surface-steriled roots. Applied and Environmental Microbiology 58(8): 2691-2693.

Shimizu, M., Y. Nakagawa, Y. Sato, T. Furumai, Y. Igarashi, H. Onaka, R. Yoshida and H. Kunoh. 2000. Studies on endophytic actinomycetes (I) Streptomyces sp. isolated from Rhododendron and its antifungal activity Journal of General Plant Pathology 66: 360-366.

himizu, M., N. Fujita, Y. Nakagawa, T. Nishimura, T. Furumai, Y. Igarashi, H. Onaka, R. Yoshida and H. Kunoh. 2001. Disease resistance of tissue-cultured seedlings of Rhododendron after treatment with Streptomyces sp. R-5. Journal of General Plant Pathology 67: 325-332.

Shimizu, M., S. Yazawa and Y. Ushijima. 2009. A promising strain of endophytic Streptomyces sp. for biological control of cucumber anthracnose. Journal of General Plant Pathology 75: 27-36.

Verma, L.R. and R.C. Shrama. 1999. Diseases of Horticultural Crops-Fruits. pp. 328. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.google.co.th/books =diseases+of+horticultural+crops-fruits.