ปฏิกิริยาของข้าวสายพันธุ์ลูกผสมกลับ BC4F3-4 ((อาบาญ่า/ขาวดอกมะลิ 105) x ชัยนาท 1) กับแมลงบั่ว ในภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทย

Main Article Content

วีรเทพ พงษ์ประเสริฐ
สมชาย ธนสินชยกุล
สุรเดช ปาละวิสุทธิ์
เจตน์ คชฤกษ์
คณิตา เกิดสุข

บทคัดย่อ

พืชต้านทานเป็นวิธีทางที่มีความเหมาะสมสำหรับใช้เป็นกลยุทธในการควบคุมแมลงบั่ว (Orseolia oryzae) จึงได้ทำการ ศึกษาถึง ปฏิกิริยาของข้าวสายพันธุ์ลูกผสมกลับระยะ BC4F3-4 (อาบาญ่า/ขาวดอกมะลิ 105 x ชัยนาท 1) ที่มีแนวโน้มต้านทานต่อแมลงบั่ว จำนวน 7 สายพันธุ์ ร่วมกับพันธุ์ข้าวมาตรฐานทดลอง 4 สายพันธุ์ โดยทดสอบกับประชากรแมลงบั่ว กับประชากรแมลงบั่วเก็บรวบรวมจากพื้นที่นาใน 5 จังหวัด ในภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทย คือ พิษณุโลก พิจิตร กำแพงเพชร ตาก และแพร่ ในสภาพโรงเรือนทดลอง ทำการปลูกข้าวสายพันธุ์ลูกผสมกลับ ทั้ง 7 สายพันธุ์ กับพันธุ์มาตรฐานทดสอบ 4 สายพันธุ์ คือ ข้าวเหมยนอง 62 เอ็ม, กข1, อาบาญ่า และ ไทชุง เนทีฟ 1 ในกระบะเพาะ ภายใต้กรงเลี้ยง และปล่อยแมลงบั่วเพศเมียที่ผสมพันธุ์แล้ว ในระยะต้นกล้า ทำการตรวจนับจำนวนหลอดบั่วที่เกิดขึ้นในพันธุ์ข้าวทดสอบแต่ละพันธุ์ เมื่อข้าวอายุ 30 วัน โดยใช้มาตรฐานตาม Standard Evaluation System for Rice ของ IRRI และคัดเลือกข้าวสายพันธุ์ลูกผสมกลับ BC4F3-4  ที่เหมาะสม พบว่า ข้าวสายพันธุ์ลูกผสมกลับ BC4F3-4 ที่แสดงปฏิกิริยาต้านทานครอบคลุมแหล่งของประชากรแมลงบั่วในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก ตาก และแพร่มากที่สุด คือ A12-26-201-436 ในขณะที่ทุกสายพันธุ์ไม่ต้านทานต่อการเข้าทำลายของแมลงบั่วจากพื้นที่จังหวัดพิจิตร และกำแพงเพชร

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กุลชนา เกศสุวรรณ์ ปรีดา เสียงใหญ่ พจน์ วัจนะภูมิ พันนิภา ยาใจ สุเทพ วังใน กาญจนา พิบูลย์ บุญรัตน์ จงดี และจินตนา ทยาธรรม. 2550. การพัฒนาสายพันธุ์ข้าวต้านทานแมลงบั่ว. หน้า 134-143. ใน: เอกสารประกอบการประชุมวิชาการข้าวและธัญพืชเมืองหนาว ประจำปี 2550. สถาบันวิจัยข้าว กรมวิชาการเกษตร. วันที่ 19-20 กุมภาพันธ์ 2550. ณ ห้องประชุม พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี.

จินตนา ทยาธรรม เรวัต ภัทรสุทธิ วันทนา ศรีรัตนศักดิ์ และสมใจ สาลีโท. 2548. อิทธิพลของระยะเวลาปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105 ที่ระยะปักดำต่างกันต่อการทำลายของแมลงบั่ว. หน้า 87-91. ใน: เอกสารประกอบการประชุมวิชาการ ข้าวและธัญพืชเมืองหนาว ประจำปี 2548. สถาบันวิจัยข้าว กรมวิชาการเกษตร. วันที่ 7-8 มีนาคม 2548 ณ โรงแรม รอแยลฮิลส์ รีสอร์ท จ.นครนายก.

เจตน์ คชฤกษ์ วีรเทพ พงษ์ประเสริฐ สุรเดช ปาละวิสุทธ์ และศิริพร กออินทร์ศักดิ์. 2552. การพัฒนาสายพันธุ์ข้าวปรับปรุง BC4F1 ด้วยยีนต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล (Qbph6 และ Qbph 12) โดยเทคนิคโมเลกุลเครื่องหมาย. วารสารสิ่งแวดล้อมนเรศวร 2(1): 37-51.

ทัศนีย์ สงวนสัจ. 2540. บทบาทของพันธุกรรมต้านทานโรคและแมลงกับการปรับปรุงพันธุ์ข้าวไทย. เอกสารวิชาการศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก. สถาบันวิจัยข้าว กรมวิชาการเกษตร, กรุงเทพฯ. 173 หน้า.

บุญรัตน์ จงดี จินตนา ทยาธรรม วันทนา ศรีรัตนศักดิ์ ปรีดา เสียงใหญ่ กาญจนา พิบูลย์ กุลชนา เกศสุวรรณ์ และพันนิภา ยาใจ. 2550. การมีส่วนร่วมของเกษตรกรในการป้องกันกำจัดแมลงบั่ว: กรณีศึกษาที่จังหวัดน่าน. หน้า 231-236. ใน: เอกสารประกอบการประชุมวิชาการข้าวและธัญพืชเมืองหนาว ประจำปี 2550. สถาบันวิจัยข้าว กรมวิชาการเกษตร. วันที่ 19-20 กุมภาพันธ์ 2550. ณ ห้องประชุม พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี.

ปรีดา เสียงใหญ่ และพันนิภา ยาใจ. 2552. การวิจัยและพัฒนาการจัดการแมลงบั่ว. หน้า 255-266. ใน เอกสารประกอบการประชุมข้าวและธัญพืชเมืองหนาว ประจำปี 2552. สถาบันวิจัยข้าว กรมวิชาการเกษตร. วันที่ 9-11 มิถุนายน 2552 ณ. โรงแรมซีบรีซ จอมเทียน พัทยา จ.ชลบุรี.

พันนิภา ยาใจ จินตนา ทยาธรรม ปรีดา เสียงใหญ่ และสุเทพ วังใน. 2548. ปฏิกิริยาของพันธุ์ข้าวต่อการทำลายของแมลงบั่วภาคเหนือตอนบนในสภาพโรงเรือนปฏิบัติการ. หน้า 84-86. ใน: เอกสารประกอบการประชุมวิชาการ ข้าวและธัญพืชเมืองหนาว ประจำปี 2548. สถาบันวิจัยข้าว กรมวิชาการเกษตร. วันที่ 7-8 มีนาคม 2548 ณ โรงแรม รอแยลฮิลส์ รีสอร์ท จ.นครนายก.

รัตติยา ชราพก. 2549. ความหลากหลายทางสายพันธุ์ของประชากรแมลงบั่วในภาคเหนือของประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

วีรเทพ พงษ์ประเสริฐ สุรเดช ปาละวิสุทธ์ ศิริพร กออินทร์ศักดิ์ และธานี ศรีวงศ์ชัย. 2550. การคัดเลือกดีเอ็นเอเครื่องหมายแบบ SSR ของยีนต้านทานต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล (Nilaparvata lugens (Stål); Delphacidae, Homoptera) ชนิด Qbph6 และ Qbph12 จากข้าวสายพันธุ์ปรับปรุง Abhaya และพันธุ์ชัยนาท 1. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า 25(1): 47-55.

วีรวุฒิ กตัญญกุล. 2526. การบริหารแมลงศัตรูข้าว. กองกีฏและสัตววิทยา. กรมวิชาการเกษตร., กรุงเทพฯ. 119 หน้า.

สำนวน ฉิมพกา และวีรเทพ พงษ์ประเสริฐ. 2548. ปัจจัยที่มีผลต่อการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูข้าวของเกษตรกร อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร. วารสารเกษตรนเรศวร 8(1): 77-94.

Behura, S. K., S. C. Sahu, S. Rajamani, A. Devi, R. Mago, S. Nair and M. Mohan. 1999. Differentiation of Asian rice gall midge, Orseolia oryzae (Wood-Mason), biotypes by sequence characterized amplified regions (SCARs). Insect Molecular Biology 8: 391-397.

Bentur, J. S., D. K. Sinha, C. H. Padmavathy, C. Revathy, M. Muthulakshmi and J. Nagaraju. 2011. Isolation and characterization of microsatellite loci in the Asian rice gall midge (Orseolia oryzae) (Diptera: Cecidomyiidae). International Journal of Molecular Sciences 12: 755-772.

IRRI. 1988. Standard Evaluation System for Rice. International Rice Research Institute, Los Banos, Philippines. 54 pp.

Jairin, J., K. Phengrat, S. teangdeerith, A. Vanavichit and T. Toojinda. 2007. Mapping of a broad-spectrum brown planthopper resistance gene, Bph3, on rice chromosome 6. Molecular Breeding 19: 35-44.

Katiyar, S. K., Y. Tan, B. Huang, G. Chandel, Y. Xu, Y. Zhang, Z. Xie and J. Bennett. 2001. Molecular mapping of gene Gm-6(t) which confers resistance against four biotypes of Asian rice gall midge in China. Theoretical and Applied Genetics 103: 953-61.

Nanda, A., S. K. Mohanty, R. S. Panda, L. Behera, A. Prakash and S. C. Sahu. 2010. Flanking microsatellite markers for breeding varieties against Asian rice gall midge. Tropical Plant Biology 3: 219-226.

Sama, V. S. A. K., K. Himabindu, S. Bhaskar Naik, R. M. Sundaram, B. C. Viraktamath and J. S. Bentur. 2012. Mapping and marker-assisted breeding of a gene allelic to the major Asian rice gall midge resistance gene Gm8. Euphytica 187: 393-400.

Sardesai, N., K. R. Rajyashri, S. K. Behura, S. Nair and M. Mohan. 2001. Genetic, physiological and molecular interactions of rice and its major dipteran pest, gall midge. Plant Cell Tissue and Organ Culture 64: 115-131.

Shrivastava, M. N., A. Kumar, S. K. Shrivastava and R. K. Sahu. 1994. A new gene for resistance to gall midge in rice variety Abhaya. Rice Genetics Newsletter 10: 79-80.

Vijayalakshmi, P., S. Amudhan, K. Himabindu, C. Cheralu and J. S. Bentur. 2006. A new biotype of the Asian rice gall midge Orseolia oryzae (Diptera: Cecidomyiidae) characterized from the Warangal population in Andhra Pradesh, India. International Journal of Tropical Insect Science 26: 207-211.