ผลของเอนไซม์ย่อยเยื่อใยโดยรวมจากวัสดุเพาะเห็ดนางรมต่อค่าการย่อยได้ในหลอดทดลองและการใช้ประโยชน์ได้ของโภชนะในอาหารไก่เนื้อ

Main Article Content

วรรณพร ทะพิงค์แก
สุรีรัตน์ ถือแก้ว
มงคล ยะไชย

บทคัดย่อ

เห็ดสกุลนางรมสามารถเจริญได้ดีบนวัสดุเศษเหลือทางการเกษตร ด้วยความสามารถในการผลิตเอนไซม์ย่อยเยื่อใยต่าง ๆ ได้แก่ เซลลูเลส เฮมิเซลลูเลส และเอนไซม์ย่อยลิกนิน งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการเสริมวัสดุเหลือใช้จากการเพาะเห็ดนางรมต่อค่าการย่อยได้ในหลอดทดลองและการใช้ประโยชน์ได้ของโภชนะในอาหารไก่เนื้อ อาหารทดลองแบ่งเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่ม 1 อาหารพื้นฐาน (CON) กลุ่ม 2-3 อาหารพื้นฐานเสริมเอนไซม์ย่อยเยื่อใยทางการค้าชนิดที่ 1 และ 2 ที่ระดับกิจกรรมของเอนไซม์เอนโดกลูคาเนสเท่ากับ 500 ยูนิตต่อกิโลกรัมอาหาร (CFE1 และ CFE2) กลุ่ม 4-6 อาหารพื้นฐานเสริมวัสดุเพาะเห็ดนางรมที่ระดับกิจกรรมของเอนไซม์เอนโดกลูคาเนส 250, 500, และ 1,000 ยูนิตเอนโดกลูคาเนสต่อกิโลกรัมอาหาร (SMS 0.5×, SMS 1×, และ SMS 2×) วัสดุเพาะเห็ดมีกิจกรรมเอนไซม์ย่อยเยื่อใยหลายชนิด ได้แก่ เซลลูเลส (549.6  และ 615.94 ยูนิตต่อกรัม สำหรับ pH 3.0 และ 6.8) ไซแลนเนส (90.75 และ 101.71 ยูนิตต่อกรัม สำหรับ pH 3.0 และ 6.8) และ เอนโดกลูแคแนส (496.42 และ 486.14 ยูนิตต่อกรัม สำหรับ pH 3.0 และ 6.8) อีกทั้งวัสดุเพาะเห็ดยังมีกิจกรรมของแลคเคสและโปรตีเอสมากกว่าเอนไซม์ย่อยเยื่อใยทางการค้าทั้ง 2 ชนิด (P < 0.05) การเสริมเอนไซม์ย่อยเยื่อใยปรับปรุงค่าการย่อยได้ในหลอดทดลองและการใช้ประโยชน์ได้ของโภชนะเมื่อเทียบกับอาหารสูตรพื้นฐาน (P < 0.05) อาหารสูตร SMS 1× และ SMS 2× มีค่าการย่อยได้ในหลอดทดลองและการใช้ประโยชน์ได้ของโภชนะสูงกว่าอาหารสูตร CFE1 และ CFE2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.05) สามารถสรุปได้ว่าวัสดุเหลือใช้จากการเพาะเห็ดนางรมมีศักยภาพสำหรับเป็นแหล่งของเอนไซม์ที่เสริมในอาหารสัตว์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ศุทธินี ดนตรี สัญญา ทุมตะขบ พิภพ ชำนิวิกัยพงศ์ และ ศุภลักษณ์ หน้อยสุยะ. 2554. การจัดลำดับความสำคัญของพื้นที่เผาจากข้อมูลเชิงพื้นที่หลายแหล่ง เพื่อการเฝ้าระวังและการป้องกันการเผาในที่โล่งในจังหวัดเชียงใหม่. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการวิจัยจากแผนงานสร้างเสริมนโยบายสาธารณะที่ดี สถาบันศึกษานโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สุรีรัตน์ ถือแก้ว วรรณพร ทะพิงค์แก และ มงคล ยะไชย. 2556. ประสิทธิภาพการผลิตและการเปลี่ยนแปลงเอนไซม์ย่อยเยื่อใยจากการเพาะเห็ดนางรมโดยใช้เศษเหลือจากข้าวโพด. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 4: 1(พิเศษ): 51-54.

AOAC. 1995. Official Methods of Analysis, 16th ed. Association of Official Analytical Chemists, Washington, DC.

Ardon, O., Z. Kerem and Y. Hadar. 1996. Enhancement of the laccase activity in liquid cultures of the ligninolytic fungus Pleurotus ostreatus by cotton stalk extract. Journal of Biotechnology 51: 201-207.

Beauchemin, K. A., D. Colombatto, D. P. Morgavi and W. Z. Yang. 2003. Use of exogenous fibrolytic enzymes to improve feed utilization by ruminants. Journal of Animal Science 81 (E. Suppl. 2): E37-E47.

Boisen, S. 1993. A model for feed evaluation based on In vitro digestible dry matter and protein. In: M. F. Fuller (ed.) In vitro Digestion of Pigs and Poultry. C.A.B. International, Wallingford Oxon, OX108DE, UK. pp. 135-145.

El-Tayeb, T. S., A. A. Abdelhafez, S. H. Ali and E. M. Ramadan. 2012. Effect of acid hydrolysis and fungal biotreatment on agro-industrial wastes for obtainment of free sugars for bioethanol production. Brazilian Journal of Microbiology 43: 1523-1535.

Ko, H. G., S. H. Park, S. H. Kim, P. H. Gu and W. M. Park. 2005. Detection and recovery of hydrolytic enzymes from spent compost of four mushroom species. Folia Microbiologica 50: 103-106.

Kurt, S. and S. Buyukalaca. 2010. Yield performances and changes in enzyme activities of Pleurotus spp. (P. ostreatus and P. sajor-caju) cultivated on different agricultural wastes. Bioresource Technology 101: 3164-3169.

Meng, X. and B. A. Slominski. 2005. The nutritive value of corn, soybean meal, canola meal or peas for broiler chickens as affected by a multi-carbohydrase preparation of cell wall degrading enzymes. Poultry Science 84: 1242-1251.

Partridage, G. G. 2000. The role and efficacy of carbohydrease enzyme in pig nutrition. In: Bedford, M. R. and G. G. Partridage, (eds.), Enzyme in Farm Animal Nutrition. CABI publishing. CABI International, Wallingford, UK.

Saleh, F., A. Ohtsuka and K. Hayashi. 2005. Effect of dietary enzymes on the ileal digestibility and abdominal fat content in broilers. Journal of Animal Science 76: 475-478.

Silvana, A., M. J. Pianzzola, M. Soubes and M. P. Cerdeiras. 2006. Biodegradation of agroindustrial wastes by Pleurotus spp. for its use as ruminant feed. Electronic Journal of Biotechnology 9: 215-220.

Tapingkae, W., M. Yachai, W. Visessanguan, P. Pongtanya and P. Pongpiachan. 2008. Influence of crude xylanase from Aspergillus niger FAS128 on the in vitro digestibility and production performance of piglets. Animal Feed Science and Technology 140: 125-138.

Téllez-Téllez, M., R. Díaz, C. Sánchez and G. Díaz-Godínez. 2013. Hydrolytic enzymes produced by Pleurotus species. African Journal of Microbiology Research 7: 276-281.

Zanella, I., N. K. Sakomura, H. G. Silversides and A. Fiqueirdo. 1999. Effect of enzyme supplementation of broiler diets based on corn and soybeans. Poultry Science 78: 561-568.