การใช้เอทิฟอนและโมโนโพแทสเซียมฟอสเฟตร่วมกับโพแทสเซียมคลอเรต เพื่อกระตุ้นการออกดอกนอกฤดูของลำไยพันธุ์ดอในฤดูฝน

Main Article Content

วิชชุดา ตองอ่อน
นุดี เจริญกิจ
พิทยา สรวมศิริ

บทคัดย่อ

การใช้เอทิฟอนและโมโนโพแทสเซียมฟอสเฟตร่วมกับโพแทสเซียมคลอเรตเพื่อการออกดอกนอกฤดูของลำไยพันธุ์ดอในช่วงฤดูฝน ระหว่างวันที่ 12 พฤษภาคม 2553 ถึง 15 ธันวาคม 2553 วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (CRD) จำนวน 4  กรรมวิธี กรรมวิธีละ 5 ซ้ำ ดังนี้ 1) กรรมวิธีควบคุม (ไม่ราดโพแทสเซียมคลอเรต และไม่พ่นปุ๋ยทางใบ) 2) กรรมวิธีราดโพแทสเซียมคลอเรตทางดินอัตรา 15 กรัมต่อตารางเมตร 3) กรรมวิธีพ่นทางใบด้วยโมโนโพแทสเซียมฟอสเฟต (0-52-34) ความเข้มข้น 1 เปอร์เซ็นต์ ผสมกับเอทิฟอน ความเข้มข้น 400 มิลลิกรัมต่อลิตร และ 4) กรรมวิธีราดโพแทสเซียมคลอเรตทางดิน อัตรา 15 กรัมต่อตารางเมตรร่วมกับพ่นทางใบด้วยโมโนโพแทสเซียมฟอสเฟตเข้มข้น 1 เปอร์เซ็นต์ ผสมกับเอทิฟอน ความเข้มข้น 400 มิลลิกรัมต่อลิตร พบว่ากรรมวิธีที่ 4 สามารถกระตุ้นให้ออกดอกในฤดูฝนได้เร็วกว่ากรรมวิธีที่ 2 ถึง 7 วัน และมีปริมาณการออกดอก (ร้อยละ 86) เป็นช่อดอกล้วนทั้งหมด ประกอบด้วยดอกสมบูรณ์เพศ (ร้อยละ 15) และมีการติดผล (ร้อยละ 92) ดีที่สุดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  ในขณะที่กรรมวิธีที่ 2 มีปริมาณการออกดอกร้อยละ 66 เป็นช่อดอกร้อยละ 46 และมีการติดผลร้อยละ 52 ส่วนกรรมวิธีควบคุม และกรรมวิธีที่ 3 ไม่พบการออกดอก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชิติ ศรีตนทิพย์ สันติ ช่างเจรจา ยุทธนา เขาสุเมรุ อภินันท์ เมฆบังวัน และ สัญชัย พันธโชติ. 2550. การผลิตลำไยนอกฤดู. ศิลปะการพิมพ์, ลำปาง. 25 หน้า.

นุดี เจริญกิจ และ พิทยา สรวมศิริ. 2554. ผลของการควั่นกิ่ง โมโนโพแทสเซียมฟอสเฟต และเอทิฟอน ต่อการออกดอกนอกฤดูของลิ้นจี่พันธุ์ฮงฮวยบนที่สูง. วารสารเกษตร 27(1): 19–25.

พิทยา สรวมศิริ พาวิน มะโนชัย ดรุณี นาพรหม จิรวรรณ กิจชัยเจริญ และ กนกวรรณ ศรีงาม. 2550. การปรับปรุงคุณภาพผลในการผลิตไม้ผลเขตร้อนและเขตกึ่งร้อน กรณีศึกษาการผลิตลำไย ลิ้นจี่ และมะม่วงนอกฤดูกาล. รายงานฉบับสมบูรณ์. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ, เชียงใหม่. 202 หน้า.

พิทยา สรวมศิริ พาวิน มะโนชัย ดรุณี นาพรหม และ อมรณัช ฉัตรตระกูล. 2546. การแก้ปัญหาการให้ผลปีเว้นปี และการปรับปรุงเทคนิคการผลิตผลไม้นอกฤดูกาล ในกรณีศึกษาลิ้นจี่ ลำไย และมะม่วง. รายงานฉบับสมบูรณ์. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ, เชียงใหม่. 234 หน้า.

พิทยา สรวมศิริ. 2538. การบังคับยอดอ่อนมะม่วงให้ออกดอก:ผลของโมโนโพแตสเซียมฟอสเฟต. วารสารเกษตร 11(3): 286-292.

ยงยุทธ โอสถสภา. 2543. ธาตุอาหารพืช. พิมพ์ครั้งที่ 1. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 424 หน้า.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2553. การผลิตลำไย. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.oae. go.th/ewt_news.php?nid=7769 (4 ธันวาคม 2553).

Boontum, S., P. Manochai, N. Chongtawaun and S. Ussahatanonta. 2001. The effect of light intensity and watering rate on flowering and physiological changes of longan cv. E-Daw treated with KClO3. The 3 rd Maejo University Academic Seminar, ChiangMai, Thailand. p. 90.

Chen, W. S. and M. L. Ku. 1988. Ethephon and kinetin reduce shoot length and increase flower bud formation in Lychee. Hort Sci 23(6): 1078.

Manochai, P., P. Sruamsiri, W. Wiriya-alongkorn, D. Naphrom, M. HeGele and F. Bangerth. 2005. Year around off season flower induction in longan (Dimocarpus longan Lour.) trees by KClO3 application: potentials and problems: A review. Scientia Horticulturae 104: 379-390.

Manochai, P., T. Jaroenkit, S. Utsahatanonta, S. Ongprasert and B. Kativat. 2010. Seasonal effect of potassium chlorate on flowering and yield of longan (Dimocarpus longan Lour.). Acta Horticulture 863: 363-366.

Menzel, C. M. and G. K. Waite. 2005. Litchi and Longan: Botany, Production and Uses. CAB International, Wallingford, UK. pp. 87-113.