ปฏิกิริยาของข้าวสายพันธุ์ลูกผสมกลับ BC4F3-4 (ราตูฮีเนติ/ขาวดอกมะลิ 105 X ชัยนาท 1) ต่อเพลี้ยกระโดดหลังขาวในภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทย

Main Article Content

สุพร กิมขาว
วีรเทพ พงษ์ประเสริฐ
ไสว บูรณพานิชพันธุ์
จิราพร กุลสาริน
เยาวลักษณ์ จันทร์บาง

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้คือ เพื่อประเมินปฏิกิริยาของข้าวสายพันธุ์ลูกผสมกลับระยะ BC4F3-4 (ราตูฮีเนติ/ขาวดอกมะลิ 105 x ชัยนาท 1) กับประชากรเพลี้ยกระโดดหลังขาว (Sogatella furcifera (Horvath)) (Hemiptera: Delphacidae) ในเขตพื้นที่นาภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทย โดยทำการเก็บรวบรวมประชากรเพลี้ยกระโดดหลังขาวในเขตพื้นที่นาภาคเหนือตอนล่าง จาก 12 พื้นที่ ครอบคลุม 5 จังหวัด คือ กำแพงเพชร นครสวรรค์ พิจิตร พิษณุโลก และ สุโขทัย ทำการทดสอบปฏิกิริยาของข้าวสายพันธุ์ลูกผสมกลับระยะ BC4F3-4 (ราตูฮีเนติ/ขาวดอกมะลิ 105 x ชัยนาท 1) จำนวน 77 สายพันธุ์ กับประชากรเพลี้ยกระโดดหลังขาวจากพื้นที่นาต่าง ๆ ข้างต้น ในสภาพโรงเรือนทดลองทำการปล่อยเพลี้ยกระโดดหลังขาววัยที่ 2 และ 3 จำนวน 8-10 ตัวต่อต้นเพื่อลงทำลายข้าวทดสอบในระยะกล้า และทำการประเมินผลความเสียหายที่ 14 วัน หลังปล่อยเพลี้ยกระโดดหลังขาว โดยใช้มาตรฐานระบบการประเมินความเสียหายสำหรับข้าวของสถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ (IRRI) และคัดเลือกข้าวสายพันธุ์ลูกผสมกลับระยะ BC4F3-4 ที่เหมาะสม พบว่า ข้าวสายพันธุ์ลูกผสมกลับระยะ BC4F3-4 ที่แสดงปฏิกิริยาต้านทานต่อเพลี้ยกระโดดหลังขาวในพื้นที่ จังหวัดกำแพงเพชร นครสวรรค์ พิจิตร และสุโขทัย มีจำนวน 8, 11, 1 และ 1 สายพันธุ์ ตามลำดับ ส่วนในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลกพบว่าทุกสายพันธุ์ไม่แสดงปฏิกิริยาต้านทานต่อการเข้าทำลายของเพลี้ยกระโดดหลังขาว สายพันธุ์ที่แสดงปฏิกิริยาต้านทานครอบคลุมประชากรเพลี้ยกระโดดหลังขาวจากแหล่งต่าง ๆ สูงสุดทั้ง 4 จังหวัด คือ R4-3-2-130-9-40, R4-13-1-144-27-84, R4-4-2-134-18-68 และ R4-13-1-144-27-79 นอกจากนี้พบข้าวลูกผสมกลับ BC4F3-4 จำนวน 4 สายพันธุ์ คือ R4-3-2-130-9-35, R4-3-2-130-9-39, R4-4-2-134-18-55 และ  R8-24-1-183-84-227 มีแนวโน้มต้านทานต่อเพลี้ยกระโดดหลังขาวได้ดี

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จิรพงศ์ ใจรินทร์ วราภรณ์ วงศ์บุญ กิจติพงษ์ เพ็งรัตน์, สงวน เทียงดีฤทธิ์ พิกุล ลีลากุด และกัลยา สานเสน. 2552. การพัฒนาสายพันธุ์ข้าวต้านทานต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลและมีคุณภาพเมล็ดเหมือนขาวดอกมะลิ 105 โดยใช้โมเลกุลเครื่องหมาย. ใน: เอกสารประกอบการประชุมข้าวและธัญพืชเมืองหนาว ประจำปี 2552. กรมการข้าว, กรุงเทพฯ. หน้า 187-207.

เจตน์ คชฤกษ์. 2553. การพัฒนาความต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในพันธุ์ข้าวชัยนาท 1 โดยใช้โมเลกุลเครื่องหมาย (MAS). วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก. 62 หน้า.

เจตน์ คชฤกษ์ วีรเทพ พงษ์ประเสริฐ สุรเดช พลวิสุทธิ์ และศิริพร กออินทร์ศักดิ์. 2552. การพัฒนาสายพันธุ์ข้าวปรับปรุงราตูฮีเนติ/ขาวดอกมะลิ 105 และพันธุ์ชัยนาท 1 รุ่น BC4F1 ที่มียีนต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลแบบ Bph3 โดยเทคนิคการคัดเลือกด้วยดีเอ็นเอเครื่องหมาย. วารสารเกษตร 25(2): 135-143.

พุฒิพงษ์ เพ็งฤกษ์ วีรเทพ พงษ์ประเสริฐ ไสว บูรณพานิชพันธุ์ จิราพร กุลสาริน เจตน์ คชฤกษ์, สุรเดช ปาละวิสุทธิ์ และภมร ปัตตาวะตัง. 2554. ความหลากหลายทางชีวชนิดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทย. วารสารเกษตร 27(1): 27-37.

สำนวน ฉิมพกา และวีรเทพ พงษ์ประเสริฐ. 2548. ปัจจัยที่มีผลต่อการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูข้าวของเกษตรกร อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร. วารสารเกษตรนเรศวร 8(1): 77-94.

สุวัฒน์ รวยอารีย์. 2544. เรียนรู้การจัดการศัตรูข้าวโดยวิธีผสมผสาน. ใน: เอกสารวิชาการ กองกีฏและสัตววิทยา กรมวิชาการเกษตร, กรุงเทพฯ. 262 หน้า.

Angeles, D. S., G. S. Khush and E. A. Heinrichs, 1986. Inheritance of resistance to planthoppers and leafhoppers in rice. pp. 537-549. In: IRRI. Rice Genetics. Los Baños, Philippines.

Chen, Y. H. 2009. Variation in planthopper-rice interactions: possible interactions among three species? pp. 315-326. In: K.L. Heong and B. Hardy (eds.). Planthoppers: new threats to the sustainability of intensive rice production systems in Asia, IRRI. Los Baños, Philippines.

Coyne, J. A. and H. A. Orr. 2004. Speciation. Sinauer Associates, Sunderland. 545 p.

IRRI. 1998. Standard Evaluation System for Rice. International Rice Research Institute, Los Baños, Philippines. 54 p.

Jena, K. K. and D. J. Mackill. 2008. Molecular markers and their use in marker-assisted selection in rice. Crop Sci. 48: 1266-1276.

Maynard Smith, J. and E. Szathmáry. 1997. The Major Transitions in Evolution. Oxford University Press, New York. 366 p.

Renganayaki, K., A.K. Fritz, S. Sadasivam, S. Pammi, S.E. Harrington, S.R. McCouch, S.M. Kumar and A.S. Reddy. 2002. Mapping and progress toward map-based cloning of brown planthopper biotype-4 resistance gene introgressed from Oryza officinalis into cultivated rice, O sativa. Crop Sci. 42: 2112-2117.

Tang, J. Y., J. A. Cheng and G. A. Norton. 1994. An expert system for forecasting the risk of white-backed planthopper attack in the first crop season in China. Crop Protect. 13: 463-473.

Yang, H., X. Ren, Q. Weng, L. Zhu and G. He. 2002. Molecular mapping and genetic analysis of a rice brown planthopper (Nilaparvata lugens Stål) resistance gene. Hereditas 136: 39-43.