การใช้ประโยชน์ที่ดินระบบวนเกษตรเพื่อการอนุรักษ์พื้นที่ ต้นน้ำกรณีศึกษา: ตำบลปากทรง อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร

Main Article Content

สราลี ธรรมปริยัติ
กิติชัย รัตนะ
วิชา นิยม

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพเศรษฐกิจสังคม การใช้ประโยชน์จากทรัพยากร ของชุมชน รูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดินระบบวนเกษตรของชุมชน และปัจจัยที่มีผลต่อการใช้ประโยชน์ที่ดินระบบวนเกษตรเพื่อการอนุรักษ์พื้นที่ต้นน้ำลำธาร กรณีศึกษาตำบลปากทรง อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ หัวหน้าครัวเรือนหรือตัวแทนที่อาศัยอยู่ในตำบลปากทรง อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร จำนวน 323 ครัวเรือน โดยใช้แบบสอบถามเก็บรวมรวบข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย การทดสอบสมมติฐานโดยการวิเคราะห์ หาความสัมพันธ์ โดยใช้ค่าสถิติไคสแควร์ โดยกำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ที่ระดับ 0.05


ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุอยู่ในช่วง 25-59 ปี ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ ในภาคเกษตร คิดเป็นร้อยละ 98.8 ขนาดการถือครองที่ดินมากว่า 20 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 52.9 และระยะเวลาการถือครองที่ดิน ส่วนใหญ่ 21-30 ปี คิดเป็นร้อยละ 35.9 การใช้ประโยชน์ที่ดินรูปแบบวนเกษตรส่วนใหญ่ทำวนเกษตรแบบสวนผสมคิดเป็น ร้อยละ 88.9 กลุ่มตัวอย่างมีระดับความรู้ความเข้าใจระบบวนเกษตรในพื้นที่ต้นน้ำลำธาร โดยรวมอยู่ในระดับสูง คิดเป็น ร้อยละ 66.3 สำหรับระดับความรู้ความเข้าใจการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยรวมอยู่ในระดับสูง คิดเป็นร้อยละ 85.4 ผลการศึกษาความสัมพันธ์ของตัวแปร โดยใช้สถิติไคสแควร์ ที่ระดับความเชื่อมั่น 0.05 พบว่า แหล่งข้อมูลข่าวสาร รายได้สุทธิของครัวเรือน ระดับการศึกษา และอาชีพมีความสัมพันธ์ต่อการใช้ประโยชน์ที่ดินระบบวนเกษตรเพื่อการอนุรักษ์พื้นที่ต้นน้ำลำธาร

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

พรชัย ปรีชาปัญญา. 2525. ระบบวนเกษตรที่เหมาะสมในการรักษาแหล่งต้นน้ำลำธารในภาคเหนือ นิพนธ์ ตั้งธรรม. ระบบวนเกษตรในประเทศไทย: ทฤษฎีและแนวทางปฏิบัติ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 127 หน้า.

เพ็ญแข แสงแก้ว. 2540. การวิจัยทางสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. ภาควิชาคณิตศาสตร์และสถิติ. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ. 252 หน้า.

ศิริชัย พงษ์วิชัย. 2546. การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยคอมพิวเตอร์. พิมพ์ครั้งที่ 12. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ. 475 หน้า.

Jose, S. 2009. Agroforestry for ecosystem service and environmental benefit: an overview. Agroforest Syst 76: 1-10.