ผลของระดับการใช้กากมันสำปะหลังแห้งจาก การผลิตเอทานอลในสูตรอาหารต่อกระบวนการหมักย่อยในกระเพาะหมักและการย่อยได้ในโคพื้นเมืองเจาะกระเพาะ

Main Article Content

ณรกมล เลาห์รอดพันธ์
โชค มิเกล็ด
ณัฐพล จงกสิกิจ
จิรวัฒน์ พัสระ
เสาวลักษณ์ แย้มหมื่นอาจ
วิสูตร ศิริณุพงษานันท์
อำพล วริทธิธรรม

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปริมาณโภชนะที่ย่อยได้ และกระบวนการหมักย่อยในกระเพาะหมักของโคพื้นเมืองเจาะกระเพาะที่ได้รับกากมันสำปะหลังแห้งจากการผลิตเอทานอลในสูตรอาหาร โดยศึกษาในโคพื้นเมือง ที่เจาะกระเพาะรูเมนสอดท่อ rumen fistula จำนวน 4 ตัว วางแผนการทดลองแบบ Crossover Designs แบ่งการทดลองออกเป็น 4 กลุ่มคือ กลุ่มควบคุม (DCP 0) และกลุ่มที่ได้รับกากมันสำปะหลังแห้งจากการผลิตเอทานอลทดแทนแหล่งอาหารพลังงานที่ระดับ 15, 30 และ 45 เปอร์เซ็นต์ในสูตรอาหาร (DCP 15, 30 และ 45) ผลจากการทดลองพบว่าค่าสัมประสิทธิ์การย่อยได้ของวัตถุแห้ง โปรตีน เยื่อใยที่ละลายได้ในสารซักล้างที่เป็นกลาง เยื่อใยที่ละลายได้ในกรด และคาร์โบไฮเดรตที่ย่อยได้ง่าย รวมทั้งค่าความเป็นกรด-ด่างไม่แตกต่างกัน (P > 0.05) แต่ค่าสัมประสิทธิ์การย่อยได้ของไขมันรวมของกลุ่ม DCP 0 สูงกว่ากลุ่ม DCP 30 (P < 0.05) ปริมาณแอมโมเนียไนโตรเจนทุกกลุ่มเป็นไปในทิศทางเดียวกันคือเพิ่มขึ้นหลังจากการให้อาหาร 1 ชั่วโมง และลดลงในชั่วโมงที่ 2 3 และ 4  แต่ไม่แตกต่างกัน (P > 0.05) การสลายตัวของวัตถุแห้งในชั่วโมงที่ 24 และ 48 เป็นไปในทิศทางเดียวกันคือกลุ่ม DCP 0 และกลุ่ม DCP 15 สูงกว่ากลุ่ม DCP 45 (P < 0.05) ส่วนอัตราการสลายตัวของวัตถุแห้ง (c) และประสิทธิภาพการสลายตัวที่อัตรา 0.05 ส่วนต่อชั่วโมง (ED0.05) ลดลงตามระดับของกากมันสำปะหลังแห้งในสูตรอาหาร ปริมาณแก๊สที่เกิดขึ้นในชั่วโมงที่ 16 และ 24 ของกลุ่ม DCP 0 สูงกว่ากลุ่ม DCP 45 (P < 0.05) พลังงานรวมย่อยได้ (TDN) และพลังงานใช้ประโยชน์ได้ (ME) ของกลุ่ม DCP 15 สูงกว่าระดับอื่น ๆ การใช้กากมันสำปะหลังแห้งที่ระดับ 15 เปอร์เซ็นต์ในสูตรอาหารเป็นระดับที่เหมาะสมใช้โดยไม่ส่งผลเสียต่อระบบการย่อยของโคพื้นเมือง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน. 2553. (ระบบออนไลน์). แหล่งที่มาhttp://www.dede.go.th/dede/ index.php?id=518 (4 กุมภาพันธ์ 2553).

จิรวัฒน์ พัสระ. 2545. การใช้ประโยชน์จากกากข้าวมอลต์แห้งเป็นอาหารโคนม. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสัตวศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 115 หน้า.

คณะทำงานจัดทำมาตรฐานอาหารสัตว์เคี้ยวเอื้องของประเทศไทย. 2551. ความต้องการโภชนะของโคเนื้อในประเทศไทย. กองอาหารสัตว์ กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา. 193 หน้า.

นฤมล สุมาลี. 2541. การหาค่าย่อยได้ของอินทรียวัตถุ และค่าพลังงานการใช้ประโยชน์ได้ในอาหารโคนมโดยการใช้เทคนิคการวัดแก๊สแบบโฮเฮนไฮม์. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เกษตรศาสตร์) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย เชียงใหม่, เชียงใหม่. 162 หน้า.

บุญล้อม ชีวะอิสระกุล. 2540. โภชนศาสตร์สัตว์เล่ม 1. ภาควิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 162 หน้า.

ปราโมทย์ แพงคำ สาทิสรัตน์ พรหมพันธ์ สหัส นุชนารถ และวิโรจ สันตะละ. 2543. ผลของระดับกากเบียร์แห้งในอาหารต่อผลผลิตและองค์ประกอบน้ำนมในโคนมพันธุ์โฮลสไตน์ฟรีเชียน. วารสารเกษตร. 16(1): 83-91.

ทัศนีย์ อภิชาติสรางกูร และเทอดชัย เวียรศิลป์. 2530. การผ่าตัดใส่ท่อ Rumen Fistula ในโคนม โดยวิธีผ่าตัดครั้งเดียว (One-stage Operation). เวชสารสัตวแพทย์ 17(4): 349-355.

สุกัญญา เกินกลาง. 2546. การใช้เปลือกเมล็ดถั่วเหลืองเป็นอาหารโคนม.วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสัตวศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 127 หน้า.

อำพล วริทธิธรรม. 2546. การใช้กากเมล็ดฝ้ายเป็นอาหารโค. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสัตวศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย เชียงใหม่, เชียงใหม่. 115 หน้า.

เอกสิทธิ์ สมคุณา. 2541. การใช้เทคนิคถุงไนล่อนเพื่อการประเมินค่าการสลายตัวของอาหารหยาบและอาหารข้นในกระเพาะหมักของโคนม. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 112 หน้า.

AOAC. 2000. Official Methods of Analysis (17th Ed.) Association of Official Analytical Chemists, Gaithersberg, Md. 2,200 p.

Kellner, O., K. Drepper und K. Rohr. 1984. Grundzüge der Futtüterungslehre. Verlag Paul Parrey, Hamburg. 143 p.

Kuehl. R. O. 1994. Statistical Principles of Research Design and Analysis. Wadsworth Publishing Company Belmont, California. 686 p.

Menke, K. H., and H. Steingass. 1988. Estimation of the energetic feed value obtained from chemical analysis and in vitro gas production using rumen fluid. Anim. Res. Dev. 28: 7–55.

Ørskov E. R. and McDonald, I. 1979. The estimation of protein degradability in rumen from incubation measurement weighted according to rate of passage. J. Agric. Sci. (Camb) 92: 499-503.

Satter, L. D. and R. E. Roffler. 1981. Influence of nitrogen and carbohydrate inputs on rumen fermentation. pp. 115-139. In: W. Haresign and D.J.A. Cola (Eds), Recent Developments in Ruminant Nutrition. Butterworths, London.

Steel R. G. D. and J. H. Torrie. 1980. Principles and Procedures of Statistics. McGraw-Hill Book Company. Inc. New York. 481 p.

Van Soest, p. J. 1982. Nutrition ecology of the ruminant. O&B Book, Inc., Corvallis, Oregon, USA. 337 p.

Voigt J. und H. Steger. 1967. Zur quantitativen bestimmung von ammoniak, harnstoff und ketokorpern in biologischem material mit hilfe eines modifizierten mikrodiffusionsgefasses. Archiv fuer Tierernaehrung. 17: 285-293.

Younker, R. S., S. D. Winlamd, J. L. Firkins and B. L. Hull. 1998. Effects of replacing forage fiber or non fiber carbohydrates with dried brewer’s grains. J. Dairy Sci., 81: 26-45.