สมบัติของดินกับการสะสมคาร์บอนและธาตุอาหารในป่าสนธรรมชาติ อำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเกี่ยวกับลักษณะดิน ปริมาณคาร์บอนและธาตุอาหารสะสมในดินป่าสนธรรมชาติ 4 ชนิดย่อยได้ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลบ้านจันทร์ อำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่ สามชนิดแรกเป็นป่าสนผสมเต็งรังคือ ป่าสนผสมเหียง พลวงและเต็ง ชนิดที่สี่คือ ป่าสนผสมป่าดิบเขา (ไม้ก่อ) เก็บตัวอย่างดินตามความลึกในป่าแต่ละชนิดเพื่อวิเคราะห์สมบัติทางกายภาพและเคมี พบว่า ดินในป่าเหล่านี้จัดอยู่ในอันดับ Ultisols มีดินลึกมากกว่าหนึ่งเมตร พัฒนาการของชั้นดินสูงและสะสมดินเหนียวในดินชั้นล่างมาก มีความแตกต่างของสมบัติทางกายภาพน้อย ดินมีความหนาแน่นค่อนข้างต่ำถึงปานกลาง ดินบนเป็นดินเหนียวปนทรายถึงร่วนเหนียว ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงกรดเล็กน้อย (pH, 5.4-6.5) ดินล่างเป็นดินเหนียวและมีปฏิกิริยาเป็นกรดปานกลางถึงกรดเล็กน้อย (pH, 5.6-6.1) ปริมาณอินทรียวัตถุ คาร์บอนและไนโตรเจนสะสมในดินลึก 100 เซนติเมตร มีมากที่สุดในป่าสนผสมก่อ มีค่า 146.5, 85.0 และ 5.11 Mg.ha-1 ตามลำดับ รองลงไปคือ ดินป่าสนผสมเต็ง พลวงและน้อยที่สุดในป่าสนผสมเหียง ปริมาณฟอสฟอรัส แคลเซียมและแมกนีเซียมที่สกัดได้มีมากที่สุดในดินป่าสนผสมเหียง (29.1, 1,210.1 และ 1,287.5 kg.ha-1) ส่วนโพแทสเซียมมีมากที่สุดในป่าสนผสมเต็ง (1,328.9 kg.ha-1)
Article Details
References
สุนทร คำยองและดุสิต เสรเมธากุล. 2549. การจัดระดับผลกระทบของพรรณไม้ที่มีต่อดินและสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการย่อยสลายของซากใบไม้ที่มีต่อระดับความเป็นกรด-ด่างและสภาวะธาตุอาหารในดิน. รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์. คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัย เชียงใหม่. 245 หน้า.
สมชาย นองเนือง สุนทร คำยอง นิวัติ อนงรักษ์ และเกรียงศักดิ์ ศรีเงินยวง. 2555. การสะสมคาร์บอนและธาตุอาหารในดินสวนป่าสนสามใบหน่วยจัดการต้นน้ำบ่อแก้ว จังหวัดเชียงใหม่. วารสารเกษตรศาสตร์ 28(1): 31-40
Bremner, J. M. and C.S. Mulvaney.1982. “31: Nitrogen-total”. pp. 595-624. In: Methods of Soil Analysis Part 2. Chemical and Microbio-logical Properties, A.L.Page (ed.)(2nd edition), Amer. Soc. Agron., Inc. Publisher, Medison, Wisconsin, USA.
Knudsen, D., G. A. Peterson and P.F. Pratt. 1982. “13: Lithium, Sodium and Potassium. pp. 225-246. In: Methods of Soil Analysis Part 2. Chemical and Microbiological Properties, A.L.Page (ed.) (2ndedition), Amer. Soc. Agron., Inc. Publisher, Medison, Wisconsin, USA.
Krebs, C. J. 1985. “Chapter 23. Species diversity I: Theory”. pp. 513-542. In: Ecology: The experimental analysis of distribution and abundance. Third edition, Harper & Row Publishers, New York.
Lanyon, L. E. and W. R. Heald. 1982. “14: Magnesium, calcium, strontium and barium”, pp. 247-262. In: Methods of Soil Analysis Part 2. Chemical and Micro-biological Properties. A.L. Page (ed.) (2nd edition), Amer. Soc. Agron., Inc. Publisher, Medison, Wisconsin, USA, p: 247-262.
Mclean, E. O. 1982. “12: Soil pH and lime requirement”, pp. 199-224. In: Methods of Soil Analysis Part 2. Chemical and Micro-biological Properties, A.L. Page (ed.) (2nd edition), Amer. Soc. Agron., Inc. Publisher, Medison, Wisconsin, USA.
Nelson, D. W. and L. E. Sommers. 1982. “31: Total carbon, organic carbon and organic matter”. pp: 539-580. In: Methods of Soil Analysis Part 2: Chemical and micro- biological properties. A.L. Page (ed.), 2nd edition, Amer. Soc. Agron., Inc. Publisher, Medison, Wisconsin, USA.
Olsen, S. R. and L. E. Sommers. 1982. “24: Phosphorus”. pp. 403-430 In: Methods of Soil Analysis Part 2. Chemical and Microbiological Properties, A.L. Page (ed.) (2nd edition), Amer. Soc. Agron., Inc. Publisher, Medison, Wisconsin, USA.
Pritchett, W. L. and R. F. Fisher. 1987. Properties and Management of forest soils. 2nd edition. John Wiley & Sons, New York, 494 pp.
Rhoades, J. D. 1982. “8: Cation Exchange Capacity”. pp. 149-158. In: Methods of Soil Analysis Part 2. Chemical and Micro-biological Properties, A.L.Page(ed.) (2nd edition), Amer. Soc. Agron., Inc. Publisher, Medison, Wisconsin, USA. .
Santisuk, T. 1988. An account of the vegetation of northern Thailand. Franz Steiner Verlag Wiebaden Gmbh, Stuttgart, Germany, 101pp.