การเจริญเติบโตและผลของวัสดุปลูกต่อการผลิตแซนเดอร์โซเนียในประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาการเจริญเติบโตของแซนเดอร์โซเนียที่ปลูกโดยใช้หัวพันธุ์ที่มีน้ำหนัก 3-5 กรัม ในแปลงขนาด 70×300 เซนติเมตร ใช้วัสดุปลูกที่เป็นส่วนผสมของ ดินร่วน:ทราย:ถ่านแกลบ อัตราส่วน 1:1:1 โดยปริมาตร ในโรงเรือนพลาสติก ณ สถานีเกษตรหลวงอินทนนท์ พบว่าความสูงของต้นและจำนวนใบเพิ่มขึ้นจนกระทั่งสูงสุดมีค่าเฉลี่ย 51.4 เซนติเมตรและ 24 ใบในสัปดาห์ที่ 12 การออกดอกเกิดขึ้นหลังจากมีการเจริญเติบโตทางด้านลำต้นประมาณ 45 วันหลังปลูก โดยมีจำนวนดอกต่อช่อเฉลี่ยเพียง 3.6 ดอกซึ่งต่ำกว่ามาตรฐานทางการค้า การสร้างหัวเกิดขึ้นในสัปดาห์ที่ 10 หลังปลูกและมีขนาดเพิ่มขึ้นจนกระทั่งถึงพืชพักตัวในสัปดาห์ที่ 18 การวิเคราะห์ปริมาณธาตุไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมเพิ่มขึ้นทั้งในอวัยวะส่วนเหนือดินและส่วนใต้ดินเมื่อมีการเจริญเติบโตเพิ่มขึ้น การศึกษาผลของวัสดุปลูกต่อการเจริญเติบโตของแซนเดอร์โซเนีย โดยใช้หัวพันธุ์ที่มีน้ำหนัก 3-5 กรัม ปลูกในถุงดำซึ่งมีวัสดุปลูกแตกต่างกัน 4 สูตร คือ 1) ดินร่วน:ทราย อัตราส่วน 1:1, 2) ดินร่วน:ทราย:ถ่านแกลบ อัตราส่วน 1:1:1, 3) ดินร่วน:ทราย:ขุยมะพร้าว อัตราส่วน 1:1:1 และ 4) ดินร่วน:ทราย:ถ่านแกลบ:ขุยมะพร้าว อัตราส่วน 1:1:1:1 โดยปริมาตร พบว่า แซนเดอร์โซเนียที่ปลูกในส่วนผสมของ ดินร่วน:ทราย:ขุยมะพร้าว อัตราส่วน 1:1:1 และดินร่วน:ทราย:ถ่านแกลบ:ขุยมะพร้าว อัตราส่วน 1:1:1:1 มีการเจริญเติบโตทางลำต้น คุณภาพดอกและคุณภาพหัวพันธุ์ดีที่สุด
Article Details
References
มุกดา สุขสวัสดิ์. 2547. วัสดุปลูกไม้ดอกไม้ประดับ. สำนักพิมพ์บ้านและสวน, กรุงเทพฯ. 264 หน้า.
ยงยุทธ โอสถสภา. 2543. ธาตุอาหารพืช. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 424 หน้า.
ลัคเบญจา จิรวุฒิวงศ์ชัย. 2549. การเจริญเติบโตของปทุมมาในวัสดุปลูกชนิดต่าง ๆ. ปัญหาพิเศษปริญญาตรีสาขาวิชาพืชสวน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 32 หน้า.
โสระยา ร่วมรังษี. 2547. สรีรวิทยาไม้ดอกไม้ประดับ. ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 127 หน้า.
โสระยา ร่วมรังษี. 2551. ปัจจัยที่มีผลต่อการผลิตหัวและดอกของแคลล่าลิลลี่. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์มูลนิธิโครงการหลวง, เชียงใหม่. 102 หน้า.
อิทธิพล สดสะอาด. 2549. ผลของสารละลายธาตุอาหารและวัสดุปลูกต่อการเจริญเติบโตของดองดึง. ปัญหาพิเศษปริญญาตรี สาขาวิชาพืชสวน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 38 หน้า.
Awang, Y. and M. Ismail. 1996. The growth and flowering of some annual ornamentals on coconut dust. (Online). Available: http:// www.actahort.org/ members/showpdf? booknrarnr=450_2 (28 October 2011).
Brundell, D. J. and J. L. Reyngoud. 1986. Observations on the development and culture of sandersonia. Acta Hort. 177: 439-447.
Burge, G. K., E. R. Morgan, J. R. Eason, G. E. Clark, J. L. Catley and J. F. Seelye. 2008. Sandersonia aurantiaca: Domestication of new ornamental crop. Sci. Hort. 118: 87-99.
Davies, L. J., I. R. Brooking, J. L. Catley and E. A. Halligan. 2002. Effects of day/night temperature differential and irradiance on the flower stem quality of Sandersonia aurantiaca. Sci. Hort. 95: 85-98.
Matakohe gardens. 2012. Sandersonia flowers. (Online). Available: http://matakohegardens. homestead.com/SandersoniaFlowers.html (24 February 2012).
Mizukoshi, K., T. Nishiwaki, N. Ohtake, R. Minagawa, K. Kobayashi, T. Ikarashi and T. Ohyama. 1994. Determination of tungstate concentration in plant materials by HNO3-HClO4 digestion and colorimetric method using thiocyanate. Bull. Fac. Agric., Niigata Univ. 46: 51-56.
Ohyama, T., M. Ito, K. Kobayashi, S. Araki, S. Yasuyoshi, O. Sasaki, T. Yamazaki, K. Soyama, R. Tanemura, Y. Mizuno and T. Ikarashi. 1991. Analytical procedures of N, P, K content in plant and manure materials using H2SO4-H2O2 Kjeldahl digestion method. Bull. Fac. Agric., Niigata Univ. 43: 111-120.
Ohyama, T., T. Ikarashi and A. Baba. 1985. Nitrogen accumulation in the roots of tulip plants (Tulipa gesneriana). Soil Sci. Plant Nutr. 31: 581-588.
Ohyama, T., T. Ikarashi and A. Baba. 1986. Analysis of the reserve carbohydrate in bulb scales of autumn planting bulb plant. Jpn. J. Soil Sci. Plant Nutr. 57: 119-125.
Warren, S. 1988. Sandersonia a rising star. New Zealand Growing Today, April-May: 8-9.