ผลของไมคอร์ไรซาต่อการเติบโตของกล้วยไม้ดินลิ้นมังกรสีชมพู
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาผลของเชื้อราไมคอร์ไรซาต่อการเติบโตของกล้วยไม้ดินลิ้นมังกรสีชมพู วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ จำนวน 6 กรรมวิธี กรรมวิธีละ 5 ซ้ำ คัดเลือกต้นกล้วยไม้ดินลิ้นมังกรสีชมพู ที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อในสภาพปลอดเชื้อ โดยคัดเลือกต้นที่มีความยาวประมาณ 3 เซนติเมตร นำมาปลูกในวัสดุปลูกที่ประกอบด้วย ทรายกับใบก้ามปูที่บดละเอียดในอัตราส่วน 1:1 แล้วปลูกเชื้อราไมคอร์ไรซาที่ต่างกัน คือ Humicola sp., Fusarium sp., Nodulisporium sp., Oidiodendron sp. และ Trichoderma sp. จำนวน 105 เซลล์ต่อกรัมของวัสดุปลูก ผลการทดลองพบว่ากรรมวิธีที่ปลูกเชื้อ Humicola sp. และ Oidiodendron sp.ให้ความยาวต้นเฉลี่ยในสัปดาห์ที่ 12 หลังจากการปลูกมากที่สุด ในขณะที่จำนวนใบเฉลี่ยต่อต้นไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่การใช้เชื้อราไมคอร์ไรซาเพิ่มจำนวนใบเฉลี่ยต่อต้น ตั้งแต่สัปดาห์ที่ 16 ถึง 28 โดยคิดเป็นเปอร์เซ็นต์เพิ่มตั้งแต่ 167 ถึง 706 เปอร์เซ็นต์ เมื่อใช้กล้องจุลทรรศน์แบบเลนส์ประกอบ (compound microscope) และใช้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบชนิดส่องกราด (scanning electron microscope: SEM) พบว่ามีการเจริญเติบโตของเส้นใยเชื้อราไมคอร์ไรซาในเซลล์รากของทุกกรรมวิธีที่มีการปลูกเชื้อ ในขณะที่ไม่พบเส้นใยของเชื้อราไมคอร์ไรซาในกรรมวิธีควบคุม
Article Details
References
นิพาพรรณ อุ่นต๊ะ. 2554. การทดสอบการละลายฟอสเฟตของเชื้อราไมคอร์ไรซาจากรากกล้วยไม้ดินสกุลว่านจูงนาง. ปัญหาพิเศษปริญญาตรี ภาควิชาพืชศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 23 หน้า.
ยุพา จอมแก้ว. 2552. การจำแนกลักษณะทางฟีโนไทป์และจีโนไทป์ของเชื้อแอคติโนมัยซีทเอนโดรไฟท์ที่แยกได้จากส้มและศักยภาพในการส่งเสริมการเจริญเติบโตของส้ม. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 101 หน้า.
สุกัญญา แสงทอง. 2545. ผลของเชื้อราเอนโดไมคอร์ไรซาต่อการเจริญของเอื้องแซะและลูกผสม. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 158 หน้า.
สมจิตร อยู่เป็นสุข. 2549. ไมคอร์ไรซา. ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 103 หน้า.
อามีนา เส็นเอ. 2554. ความสามารถในการผลิต Indole-3-Acetic Acid (IAA) และเอนไซม์เซลลูเลส ของเชื้อราไมคอร์ไรซาจากรากกล้วยไม้สกุลว่านจูงนาง. ปัญหาพิเศษปริญญาตรี ภาควิชาพืชศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ คณะเกษตร ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 43 หน้า.
อบฉันท์ ไทยทอง. 2544. กล้วยไม้เมืองไทย พิมพ์ครั้งที่ 2. สำนักพิมพ์บ้านและสวน, กรุงเทพฯ. 461 หน้า.
อบฉันท์ ไทยทอง. 2549. กล้วยไม้เมืองไทย พิมพ์ครั้งที่ 11. สำนักพิมพ์บ้านและสวน, กรุงเทพฯ. 461 หน้า.
Anderson A. B. 1991. Symbiotic and asymbiotic germination and growth of Spiranthes magicamporum (Orchidaceae). p. 183-186. Cited by H. N. Rasmussen. Terrestrail Orchid from seed to Mycotrophic plant. Cambridge University Press, New York. 444 pp.
Batty, A. L., K. W. Dixon, M. C. Brundrett and K. Sivasithamparam. 2002. Orchid conservation and macorrhizal associations. pp. 195-226. In: K. Sivasithamparam, K.W. Dixon and R.L. Barrett (eds.). Microorganisms in Plant Conservation and Biodiversity. Kluwer Academic Pubishers, Australia.
Hacskaylo E. 1971. Mycorrhizae. U.S. Government Printing Office, Washington. 255 pp.
Hadley, G. 1982. Orchid mycorrhiza, pp. 84-118. In: J. Arditti (ed.). Orchid Biology-reviews and Perspectives II. Comstock: Cornell University Press, New York.
Masuhara, G. and K. Katsuya. 2003. Effects of mycorrhizal fungi on seed germination and early growth of three Japanese terrestrial orchids. Institute of Agriculture and Forestry, University of Tsukuba, Japan 37: 331-337.
Vaddhanaphuti, N. 1997. Wild Orchids of Thailand. Silkworn Books, Chiang Mai. 158 pp.
Williamson, B. and G. Hadley. 1970. Penetration and infection of orchid protocorm by Thanaphorus cucumeris and other Rhizoctonia isolates. Phytopath. 60: 1092-1096.