การตรวจสอบความต้านทานโรคราแป้งในถั่วลันเตาโดยเครื่องหมายโมเลกุล

Main Article Content

กมล ทิพโชติ
วีณัน บัณฑิตย์
ณัฐา โพธาภรณ์

บทคัดย่อ

โรคราแป้งเป็นโรคสำคัญที่สร้างความเสียหายต่อคุณภาพและผลผลิตของถั่วลันเตา การพัฒนาพันธุ์ต้านทานโรคเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหา เครื่องหมายโมเลกุลชนิด SCAR เป็นเทคนิคที่ช่วยในการคัดเลือก ถั่วลันเตาต้านทานโรคราแป้ง ถั่วลันเตารุ่นพ่อแม่พันธุ์ฝาง 7 รุ่น BC1F5 และพันธุ์หนองอุก ถูกทดสอบโดยใช้ไพรเมอร์ ScOPD10 พบว่าพันธุ์ฝาง 7 รุ่น BC1F5 ปรากฏเครื่องหมายต้านทานโรคราแป้ง แต่ไม่พบในพันธุ์หนองอุกซึ่งถูกประเมินว่าสามารถต้านทานโรคราแป้งจากลักษณะปรากฏ ทำการผสมพันธุ์ระหว่างทั้งสองพันธุ์และปล่อยให้เกิดการผสมตัวเอง ปลูกลูกผสมรุ่นที่ 2 เพื่อประเมินการเกิดโรคจากลักษณะปรากฏและเครื่องหมายโมเลกุล พบว่าการประเมินจากลักษณะปรากฏไม่สามารถแยกระหว่างต้นที่ต้านทานและอ่อนแอต่อโรคได้ ในขณะที่เครื่องหมายโมเลกุลสามารถตรวจสอบต้นที่ต้านทานโรคได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ดำเนิน กาละดี. 2545. เทคโนโลยีการปรับปรุงพันธุ์. พิมพ์ครั้งที่ 2. โรงพิมพ์มิ่งเมือง, เชียงใหม่. 256 หน้า.
นุชจารี วนาศิริ. 2550. การจัดจำแนกเชื้อราแป้งบางชนิดโดยอาศัยลักษณะการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศภายใต้กล้องจุลทรรศน์และกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาโรคพืช มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 130 หน้า.
อัญชัญ ชมภูพวง. 2550. ปรับปรุงพันธุ์ถั่วลันเตาและถั่วหวานเพื่อให้ผลผลิตสูงและต้านทานโรคราแป้ง. รายงานวิจัย-ประจำปี/ฉบับสมบูรณ์ ประจำปี 2550, โครงการวิจัยที่ 3011-3618. มูลนิธิโครงการหลวง, เชียงใหม่. 32 หน้า.
อัญชัญ ชมภูพวง. 2555. การตรวจสอบลูกผสมถั่วลันเตาที่ต้านทานโรคราแป้งโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอ. วารสารเกษตร 28 (2):155-163.
Cousin, R. 1997. Pea (Pisum sativum L.). Field Crops Research 53: 111-130.
Fondevilla, S., A. M. Torres, M. T. Moreno and D. Rubiales. 2007. Identification of a new gene for resistance to powdery mildew in Pisum fulvum, a wild relative of pea. Breeding Science 57: 181–184.
Fondevilla, S., D. Rubiales, M. T. Moreno and A. M. Torres. 2008. Identification and validation of RAPD and SCAR markers linked to the gene Er3 conferring resistance to Erysiphe pisi DC in pea. Molecular Breeding 22: 193–200.
Fondevilla, S., T. L. W. Carver, M. T. Moreno and D. Rubiales. 2006. Macroscopic and histological characterisation of genes er1 and er2 for powdery mildew resistance in pea. European Journal of Plant Pathology 115: 309–321.
Heringa, R. J., A. Norel and M. F. Tazelaar. 1969. Resistance to powdery mildew (Erisyphe- polygoni D.C .) in peas (Pisum sativum L .). Euphytica 18: 163-169.
Janila, P. and B. Sharma. 2004. RAPD and SCAR markers for powdery mildew resistance gene er in pea. Plant Breeding 123: 271-274.
Katoch, V., S. Sharma, S. Pathania, D. K. Banayal, S. K. Sharma and R. Rathour. 2010. Molecular mapping of pea powdery mildew resistance gene er2 to pea linkage group III. Molecular Breeding 25: 229–237.
Mc Phee, K., 2004. Garden pea. pp. 277-288. In: P.K. Singh, S.K. Dsdgupta and S.K. Tripathi (eds.). Hybrid Vegetable Development. Food Products Press, New York.
Tiwari, K. R., G. A. Penner and T. D. Warkentin. 1997. Inheritance of powdery mildew resistance in pea. Canadian Journal of Plant Science 77: 307–310.
Vaid, A. and P. D. Tyagi. 1997. Genetics of powdery mildew resistance in pea. Euphytica 96: 203-206.