ความสามารถในการผสมข้ามชนิดและสกุลของกล้วยไม้ดินสกุลฮาเบนาเรียและสกุลเพคเทลิสบางชนิด

Main Article Content

ชิดชนก ก่อเจดีย์
วีณัน บัณฑิตย์
จามจุรี โสตถิกุล
ณัฐา โพธาภรณ์

บทคัดย่อ

ความสามารถในการผสมข้ามชนิดและสกุลของกล้วยไม้ดินสกุลฮาเบนาเรีย (Habenaria) และสกุลเพคเทลิส (Pecteilis) บางชนิดถูกประเมิน เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในด้านการคัดเลือกคู่ผสมของกล้วยไม้ดินกลุ่มนางอั้วสำหรับการไปพัฒนาพันธุ์ให้มีลักษณะที่ดี โดยนำกล้วยไม้ดินสกุลฮาเบนาเรียและสกุลเพคเทลิส 6 ชนิด มาควบคุมให้มีการผสมตัวเองทุกชนิด ผสมข้ามชนิด และผสมข้ามสกุล พบว่ากล้วยไม้ดินสกุลฮาเบนาเรียและสกุลเพคเทลิสที่นำมาผสมตัวเอง ผสมข้ามชนิด และผสมข้ามสกุล มีการติดฝัก 84.7  88.2 และ 77.5 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ เมื่อนำฝักที่ได้ไปเพาะในสภาพปลอดเชื้อ พบว่าฝักที่ได้จากการผสมตัวเองมีปริมาณการงอก 10-20 เปอร์เซ็นต์ ใช้ระยะเวลาในการงอก 113 วัน ส่วนฝักที่ได้จากการผสมข้ามชนิด มีปริมาณการงอก 20-30 เปอร์เซ็นต์ ใช้ระยะเวลาในการงอก 140 วัน ทั้งนี้ฝักที่ได้จากการผสมข้ามสกุลยังไม่งอกภายในเวลา 6 เดือน เมื่อนำเมล็ดที่ได้จากการผสมพันธุ์มาตรวจสอบ พบว่าเมล็ดที่ได้จากการผสมตัวเอง ผสมข้ามชนิด และผสมข้ามสกุล มีเมล็ดที่สมบูรณ์ 37.6  42.0 และ 12.6 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ครรชิต ธรรมศิริ. 2550. เทคโนโลยีการผลิตกล้วยไม้. สำนักพิมพ์อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิซซิ่ง, กรุงเทพฯ. 283 หน้า.
คณะกรรมการกล้วยไม้แห่งชาติ, 2554. “ยุทธศาสตร์การแข่งขันกล้วยไม้ไทยในตลาดโลก พ.ศ. 2554-2559.” (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://agrimanman.doae.go.th/home/agri1.3/strategics_2554/06_orchid2554-2559.pdf (12 มีนาคม 2555).
ณัฐา ควรประเสริฐ. 2548. เอกสารคำสอน วิชา 359405 กล้วยไม้วิทยา 1. ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 215 หน้า.
ณัฐา โพธาภรณ์ จามจุรี โสตถิกุล และนุชนาฏ จงเลขา. 2553. การปรับปรุงพันธุ์กล้วยไม้กลุ่มนางอั้ว. รายงานการวิจัย, การพัฒนากล้วยไม้กลุ่มนางอั้วเพื่อการส่งออก. คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 92 หน้า.
ทรงชัย แซ่ตั้ง. 2551. การศึกษาลักษณะและการเพิ่มโครโมโซมของเอื้องใบไผ่. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพืชสวน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 80 หน้า.
นิรนาม. 2553. “รายงาน การศึกษาการตลาดกล้วยไม้และผลิตภัณฑ์ในทวีปอเมริกาเหนือ (สหรัฐอเมริกา และแคนาดา) ภายใต้โครงการศึกษาตลาดกล้วยไม้และผลิตภัณฑ์ในทวีปอเมริกาเหนือ (สหรัฐอเมริกา และแคนาดา) ประจำปีงบประมาณ 2553 เมษายน 2553-มีนาคม 2554.” (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://moacdc.thaiembdc.org/pdfs/reports/report_north_american_orchid.pdf (12 มีนาคม 2555).
ปิยะนุช ปิยะตระกูล. 2547. ผลของอายุฝักต่อการงอกของเมล็ดกล้วยไม้ดินลิ้นมังกรในสภาพปลอดเชื้อ. วารสารเกษตร 20(1): 230-234.
มาลินี อินทร์วงศ์. 2553. ความสามารถในการผสมข้ามหมู่ของกล้วยไม้สกุลหวายของไทยและหวายพันธุ์การค้า. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพืชสวน มหาวิทยาลัย เชียงใหม่, เชียงใหม่. 87 หน้า.
ระพี สาคริก. 2516. การเพาะปลูกกล้วยไม้ในสภาพแวดล้อมของประเทศไทย. สำนักพิมพ์ชวนพิมพ์, กรุงเทพฯ. 840 หน้า.
เศรษฐพงศ์ เลขะวัฒนะ ทวีพงศ์ สุวรรณโร ไพสิฐ เกตุสถิต กนกวรรณ ถนอมจิตร พัชรียา บุญกอแก้ว และศุภฤกษ์ สุขสมาน. 2548. ศูนย์นำร่องวิจัยพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตและการจัดการผลผลิตกล้วยไม้กระถางเพื่อการส่งออก อ้างโดย ณัฐา โพธาภรณ์ จามจุรี โสตถิกุล และนุชนาฏ จงเลขา. การปรับปรุงพันธุ์กล้วยไม้กลุ่มนางอั้ว. รายงานการวิจัย, การพัฒนากล้วยไม้กลุ่มนางอั้วเพื่อการส่งออก. คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 92 หน้า.
เศรษฐมันตร์ กาญจนกุล. 2552. กล้วยไม้ไทย. สำนักพิมพ์เศรษฐศิลป์, กรุงเทพฯ. 208 หน้า.
สมบุญ เตชะภิญญาวัฒน์. 2548. พิมพ์ครั้งที่ 4. สรีรวิทยาพืช (Plant physiology). จามจุรีโปรดักท์, กรุงเทพฯ. 252 หน้า.
สุรัตน์ อัตตะ. คม ชัด ลึก. 2552. “เจาะแผนส่งออก “กล้วยไม้ไทย” วาดฝันปีครองแชมป์ตลาดโลก.” (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://news. enterfarm.com (14 เมษายน 2555).
หนังสือพิมพ์เดลินิวส์. 2554. “กรมส่งเสริมการเกษตร จัดระบบความรู้กล้วยไม้ไทย.” (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://naist.cpe.ku. ac.th/uknow/NEWS_Aug12,2010.html (1 มีนาคม 2555).
อดิศร กระแสชัย. 2547. บทที่ 8 การปรับปรุงพันธุ์พืช หน้า 112-127. ใน วีณัน บัณฑิตย์ (ผู้รวบรวม). เอกสารประกอบการสอนหลักการพืชสวน. คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.
อบฉันท์ ไทยทอง. 2549. กล้วยไม้เมืองไทย. สำนักพิมพ์บ้านและสวน, กรุงเทพฯ. 461 หน้า.
อรอนงค์ วงศ์น่าน. 2553. ความสามารถในการผสมข้ามหมู่ของกล้วยไม้สกุลซิมบิเดียมบางชนิด. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพืชสวน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 85 หน้า.
Agnew, J. D. 2006. Self-compatibility/incompatibility in someorchids of the subfamily Vandoideae. Plant Breeding 97: 183-186.
Chung, M. Y. and M. G. Chung. 2003. The breeding systems of Cremamastra appendiculata and Cymbidium goeringii: high levels of annual fruit failure in two self-compatible orchids. Ann. Bot. Fennici. 40: 81-85.
Kurzweil, H. 2009. The genus Habenaria (Orchidaceae) in Thailand. Thai For. Bull. (Bot). 37: 7-105.
Wilfret, G. J. and H. Kamemoto. 1969. Genome and karyotype relationships in the genus Dendrobium (Orchidaceae). I. crossability. Amer. J. Bot. 56: 521-526.