การชักนำและเพิ่มปริมาณเอ็มบริโอโดยการเพาะเลี้ยงเซลล์แขวนลอยของปาล์มน้ำมันลูกผสมเทเนอราและการตรวจสอบความแปรปรวนโดยใช้เครื่องหมายอาร์เอพีดี

Main Article Content

ทรรศณีย์ นิยะกิจ
สมปอง เตชะโต

บทคัดย่อ

การขยายพันธุ์ปาล์มน้ำมันลูกผสมเทเนอราโดยการกระตุ้นให้เกิดเอ็มบริโอเจนิคแคลลัสบนอาหารแข็ง สูตร MS ที่เติมสารควบคุมการเจริญเติบโตที่แตกต่างกัน พบว่า dicamba เข้มข้น 0.3 มิลลิกรัมต่อลิตร ที่เติมกรดแอสคอร์บิกเข้มข้น 200 มิลลิกรัมต่อลิตร ในสภาพการให้แสง 14 ชั่วโมงต่อวัน ที่อุณหภูมิ 27 ±2 องศาเซลเซียส ส่งเสริมการชักนำแคลลัส 315 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักแคลลัสเริ่มต้น หลังจากการเพาะเลี้ยงเป็นเวลา 1 เดือน หลังจากนั้นย้ายแคลลัสดังกล่าวลงในอาหารเหลว 2 สูตร เป็นเวลา 1 เดือน พบว่าอาหารเหลวสูตร MS ที่เติม dicamba เข้มข้น 0.3 มิลลิกรัมต่อลิตร ส่งเสริมการชักนำembryogenic cell suspension โดยได้ปริมาตรตะกอนเซลล์ 2.41 มิลลิลิตร เมื่อย้าย embryogenic cell suspension เพาะเลี้ยงลงในอาหารเหลวสูตร MS ที่เติมน้ำตาลซอร์บิทอลเข้มข้น 36.434 กรัมต่อลิตร ส่งเสริมการพัฒนาโซมาติกเอ็มบริโอ 5.6 เอ็มบริโอต่อตะกอนเซลล์ 1 มิลลิลิตร เวลา 1 เดือน หลังจากนั้นนำไปตรวจสอบความแปรปรวนทางพันธุกรรม โดยใช้แคลลัส embryogenic cell suspension และ โซมาติกเอ็มบริโอ ด้วยเทคนิคอาร์เอพีดี พบว่า ไพรเมอร์ OPAB-01 , OPAB-09 , OPAB-14  และ OPT-06 ให้แถบดีเอ็นเอชัดเจน และสม่ำเสมอที่สุด โดยแถบดีเอ็นเอเป็นลักษณะ monomorphism ทั้งหมด ซึ่งไม่พบความแปรปรวนทางพันธุกรรมจากแคลลัสหรือโซมาติกเอ็มบริโอเหล่านี้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ธนวดี พรหมจันทร์. 2551. การชักนำโซมาติกเอ็มบริโอชุดที่สองและการวิเคราะห์ความแปรปรวนของต้นปาล์มน้ำมันที่พัฒนาโดยเครื่องหมายอาร์เอพีดี. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพืชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. สงขลา, 57 หน้า.
ธีระ เอกสมทราเมษฐ์ ชัยรัตน์ นิลนนท์ ธีระพงศ์ จันทรนิยม ประกิจ ทองคำ และ หะสัน กือมะ. 2543. เอกสารประกอบการฝึกอบรมการจัดการสวนปาล์มน้ำมัน โครงการจัดตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนาการผลิตปาล์มน้ำมัน. คณะทรัพยากร ธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา. 87 หน้า
เปรมปรี ณ สงขลา. 2549. ผู้ยิ่งใหญ่แห่งปาล์มน้ำมัน. วารสารเคหการเกษตร 30: 76-98.
พรชัย เหลืองอาภาพงศ์. 2549. คัมภีร์ปาล์มน้ำมันพืชเศรษฐกิจเพื่อบริโภคและอุปโภค. พิมพ์ครั้งที่ 1. สำนักพิมพ์มติชน, กรุงเทพฯ. 351 หน้า.
สกุลรัตน์ แสนปุตะวงษ์. 2553. การขยายพันธุ์ปาล์มน้ำมันลูกผสมเทเนอราจากการเพาะเลี้ยงคัพภะอ่อน และการตรวจสอบความแปรปรวนทางพันธุกรรม. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณทิต สาขาวิชาพืชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลา นครินทร์, สงขลา. 168 หน้า.
สายชล จันมาก. 2547. การศึกษาความแปรปรวนทางพันธุกรรมของแหล่งเชื้อพันธุ์ปาล์มน้ำมัน (Elaeis guineensis) โดยเทคนิคอาร์เอพีดี (Random Amplified Polymorphic DNA). วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพืชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา. 72 หน้า.
สุรกิตติ ศรีกุล. 2532. การปลูกปาล์มน้ำมัน. กรมวิชาการเกษตร. กรุงเทพฯ. หน้า 16-20.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2548. แผนยุทธศาสตร์ปาล์มน้ำมัน. การประชุมสัมมนาวิชาการปาล์มน้ำมัน: เส้นทางสู่ความสำเร็จของเกษตรกร ณ โรงแรมมารีไทม์ ปาร์ค แอนด์ สปารีสอร์ท ระหว่างวันที่ 8-9 กันยายน 2548, กระบี่. หน้า 1-7.
อาสลัน หิเล และ สมปอง เตชะโต. 2545. การปรับปรุงวิธีการพัฒนาเป็นพืชต้นใหม่ผ่านกระบวนการโซมาติกเอ็มบริโอของปาล์มน้ำมันที่ได้จากการเพาะเลี้ยงใบอ่อน. การประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาของประเทศไทย ครั้งที่ 3 วันที่ 18-19 กรกฎาคม 2545 ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี, นครราชสีมา. หน้า 31-32.
Biofuel. 2007. Journey to forever : how to make your own clean burning biofuel, biodiesel from cooking oil, fuel alcohol, renewable energy, glycine, soap making (Online). Available: http://journeytoforever.org/biofuel. html (June 12, 2007).
Corredoira, E., A. Ballester and A. M. Vieitez. 2003. Proliferation, maturation and germination of Castanea sativa Mill. somatic embryos originated from leaf explants. Annals of Botany 92: 129-136.
de Touchet, B., Y. Duval and C. Pannetier. 1991. Plant regeneration from embryogenic suspension culture of oil palm (Elaeis guineensis Jacq.). Plant Cell Reports 10: 529-532.
Hilae, A. and S. Te-chato. 2005. Effects of carbon sources and strength of MS medium on germination of somatic embryos of oil palm (Elaeis quineensis Jacq.). Songklanakarin Journal of Science and Technology 27: 629-635.
Kramut, P. and S. Te-chato. 2010. Effect of culture media, plant growth regulators and carbon sources on establishment of somatic embryo in suspension culture of oil palm. Journal of Agricultural Technology 6: 149-170.
Te-chato, S. 2000. Random amplified polymorphic DNA (RAPD) markers for genetic analysis in somaclones of mangosteen (Garcinia mangostana L.). Thai Journal Agricultural Science 33: 137-145.
Te-chato, S. and A. Hilae. 2007. High-frequency plant regeneration through secondary somatic embryogenesis in oil palm (Elaeis guineensis Jacq. var. tenera). Journal of Agricultural Technology 3: 345-357.
Thawaro, S. and S. Te-chato. 2008. RAPD (random amplified polymorphic DNA) marker as a tool for hybrid oil palm verification from half mature zygotic embryo culture. Journal of Agricultural Technology 4: 165-176.
Thiruvengadam, M., V. S. Mohamed, V. H. Yang and N. Jayabalan. 2006. Development of an embryogenic suspension culture of bitter melon (Momordica charantia L.). Scientia Horticulturae 109: 123-129.
Winter, P. and G. Kahl. 1995. Molecular marker technologies for plant improvement. World Journal of Microbiology and Biotechnology 11: 438-448.