ผลของการให้ความร้อนด้วยรังสีอินฟราเรดร่วมกับตะแกรงสั่นต่อการกำจัดด้วงงวงข้าวในการเก็บรักษาข้าวเปลือก

Main Article Content

ประดิฐ รามัชฌิมา
ธวัชชัย ทิวาวรรณวงศ์
สมโภชน์ สุดาจันทร์
ชัยยันต์ จันทร์ศิริ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการให้ความร้อนด้วยรังสีอินฟราเรดร่วมกับตะแกรงสั่นที่มีต่อการกำจัดด้วงงวงข้าวในการเก็บรักษาข้าวเปลือก ชุดทดสอบเป็นแบบให้ข้าวเคลื่อนที่ผ่านความร้อนในแนวระนาบราบโดยใช้กลไกของลูกเบี้ยวหมุนขึ้นลงทำให้ข้าวเคลื่อนที่มีความหนาบนตะแกรงด้วยการสั่นหรือเขย่า ส่วนระบบการให้ความร้อนใช้แบบไฟฟ้าขนาด 3,600 วัตต์ เพื่อกำเนิดรังสีอินฟราเรดที่ให้อุณหภูมิเริ่มต้นบนระนาบตะแกรง 5 ระดับคือ 120, 140, 160, 180 และ 200 องศาเซลเซียส ผลการศึกษาอุณหภูมิจากรังสีอินฟราเรดกำจัดแมลงโดยการใช้ข้าว 1 กิโลกรัม พบว่า ที่ความหนาข้าว 3.1 มิลลิเมตร อุณหภูมิตั้งแต่ 120 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 4-5 วินาที ให้อัตราการตายของแมลงทันที 100 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่ความหนาข้าว 4.5 มิลลิเมตร ต้องใช้อุณหภูมิตั้งแต่ 160 องศาเซลเซียส ในเวลา 4-5 วินาทีจึงให้อัตราการตายเกือบสมบูรณ์ 100 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้นเพื่อให้สอดคล้องกับการปฏิบัติจึงปล่อยข้าวแบบต่อเนื่องจำนวน 10 กิโลกรัม โดยใช้ความหนาข้าว 3.1 มิลลิเมตร อุณหภูมิ 160- 200 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 4-5 วินาทีเช่นกันเพื่อศึกษาผลของอุณหภูมิที่มีต่อการกำจัดแมลงเพื่อการเก็บรักษา และผลการศึกษา พบว่า อุณหภูมิตั้งแต่ 180 องศาเซลเซียส ให้อัตราการตายทันที 100 เปอร์เซ็นต์ สำหรับในระหว่างการเก็บรักษาข้าวนาน 2-3 เดือน มีอัตราการเกิดของแมลงอยู่ระหว่าง 1.1-5.3 เปอร์เซ็นต์ และ 1.1-3.7 เปอร์เซ็นต์ ที่อุณหภูมิ 180 และ 200 องศาเซลเซียส ตามลำดับ อย่างไรก็ตามอุณหภูมิที่เหมาะสมที่ให้ปริมาณต้นข้าวสูงสุดตลอดการเก็บคือ 180 องศาเซลเซียส

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัมปนาท มุกดี, กิติยา กิจควรดี, ประสูติ สิทธิสรวง และ ไพฑูรย์ อุไรรงค์. 2534. การใช้พืชพิษบางชนิดในการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูในโรงเก็บเมล็ดพันธุ์ข้าว II สะเดา. สถาบันวิจัยข้าว กรมวิชาการเกษตร,กรุงเทพฯ. ผลงานวิจัยเล่ม 1: 65-78.
เครือวัลย์ อัตตะวิริยะสุข, รุจี กุลประสูติ, มาลี ธนเศรษฐ, นิพนธ์ มาฆทาน, จันทนา สรศิริ, ศิริวรรณ ตั้งวิสุทธิจิต, สุนันทา หมื่นพล, ธงชัย เข่งวา และ ถนัด สุขปราการ. 2533. ความแปรปรวนของระดับความชื้นที่มีผลต่อน้ำหนักเมล็ด และคุณภาพการสีของข้าวในโรงเรือนปกติ. สถาบันวิจัยข้าว กรมวิชาการเกษตร,กรุงเทพฯ. ผลงานวิจัยเล่ม 2: 154-253.
ชุมพล กันทะ. 2533. หลักการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูในโรงเก็บ. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น. 249 หน้า.
ประดิษฐ์ รามัชฌิมา. 2547. การศึกษาวิธีกำจัดแมลงศัตรูของข้าวเปลือกโดยใช้รังสีอินฟราเรด. วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น. 178 หน้า.
ประสูติ สิทธิสรวง, กิติยา กิจควรดี, ไพฑูรย์ อุไรรงค์, มังกร จูมทอง, วิวัฒน์ มัธยกุล, สมาภรณ์ ศุภศิลป์, อินสน บุตรต๊ะ และ สุพัตรา สุวรรณธาดา. 2528. ความสูญเสียของเมล็ดพันธุ์ในระหว่างการเก็บรักษาในสภาพของสถานีทดลอง. (รายงานผลการค้นคว้าวิจัย). สถาบัน วิจัยข้าว กรมวิชาการเกษตร, กรุงเทพฯ. 1 หน้า.
วันชัย จันทร์ประเสริฐ. 2542. เทคโนโลยีเมล็ดพันธุ์พืชไร่. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 276 หน้า.
วิเชียร เฮงสวัสดิ์. 2525. แมลงที่สำคัญทางเศรษฐกิจของผลิตผลเกษตรในโรงเก็บในประเทศไทย. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 75 หน้า.
วินิต ชินสุวรรณ, สุเนตร โม่งประณีต, สุรเวทย์ กฤษณะเศรณี, พินัย ทองสวัสดิ์วงศ์, วิเชียร เฮงสวัสดิ์ และ ทรงเชาว์ อินสมพันธ์. 2538. การศึกษาเพื่อปรับปรุงการตากแผ่ข้าวหลังการเก็บเกี่ยวและการชะลอการเสื่อมคุณภาพข้าวเปลือกความชื้นสูงในระดับเกษตรกร. (รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น. 91 หน้า.
อนันต์ ดาโลดม. 2544. ข้าวไทย: มุมมองที่แตกต่าง. หนังสือพิมพ์กสิกร 74(3): 11-14.
Banks, H. J. and P. G. Fields. 1995. Physical methods for insect control in stored grain ecosystems. pp. 353-409. In: D.S. Jayas, N.D.G. White and W.E. Muir (eds.). Stored Grain Ecosystems. New York, NY: Marcel Dekker, Inc.
Bell, C. H. and S. M. Wilson. 1995. Phosphine tolerance and resistance in Thogoderma granairum Everts (Coleoptera: Dermestidae). Journal of Stored Products Research 31: 199-205.
Catalytic Drying Technology. 2003. Flameless Catalytic Infrared Energy. (Online). Division of Catalytic Industrial Group, Inc. Available: http://www.catalyticdrying.com/catalytic_drying.pdf. (19 October, 2009).
Fields, P. G. 1992. The control of stored-product insects and mites with extreme temperatures. Journal of Stored Products Research 28: 89-118.
Kirkpatric, R. L. 1975. Infrared radiation for control of lesser grain borers and rice weevils in bulk wheat. Journal of the Kansas Entomological Society 48(1): 100-104.
Leesch, J. G., G. f. Knapp and B. E. Mackey. 2000. Methyl bromide adsorption on activated carbon to control emissions from commodity fumigations. Journal of Stored Products Research 36: 65-74.
Sharma, A. D. and O. R. Kunze. 1982. Post-drying fissure developments in rough rice. Transactions of the ASABE 25(2): 465-468.
Tilton, E. W. and H. W. Schroeder. 1963. Some effects of infrared irradiation on the mortality of immature insects in kernels of rough rice. Journal of Economic Entomology 56: 727-730.
Wimberly, J. E. 1983. Paddy rice postharvest industry in developing countries. International Rice Research Institute, Philippines. 188 p.
Zhao, S., C. Qiu, S. Xiong and X. Chen. 2007. A thermal lethal model of rice weevils subjected to microwave irradiation. Journal of Stored Products Research 43: 430-434.
Zhongli, P. 2008. Infrared Drying of Rough Rice for Improved Quality & Processing Efficiency. research engineer, USDA-ARS, Albany, CA. (Online). Available: http//www.carrb.com/ 08rtp/Infrared.htm. (15 December, 2011).