ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติในการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในการปลูกข้าวของเกษตรกร อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย

Main Article Content

ยุทธพล ทองปรีชา
ดุษฎี ณ ลำปาง

บทคัดย่อ

ศึกษา (1) รูปแบบ ปริมาณการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ และต้นทุนการผลิตข้าว (2) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ปัจจัย ด้านสังคม ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม กับ ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ และ (3) ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในนาข้าวของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในอำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย จำนวน 347 ราย พบว่า เกษตรกรมีรูปแบบการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมี  ปุ๋ยอินทรีย์ที่ใช้ในการปลูกข้าวมากที่สุดคือ ปุ๋ยคอก รองลงมาคือ ปุ๋ยหมัก และ ปุ๋ยพืชสด มีต้นทุนการผลิตข้าวนาปีไร่ และนาปรัง เฉลี่ยเท่ากับ 3,577.10 และ  4,010.50 บาท/ไร่ ตามลำดับ การทดสอบสมมติฐาน พบว่า เพศ และ ความรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมในนาข้าว มีความสัมพันธ์กับ ความรู้เกี่ยวกับการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในการปลูกข้าวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การได้รับข่าวสารเกี่ยวกับปุ๋ยอินทรีย์ ความถี่ในการฝึกอบรม และความรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมในนาข้าวมีความสัมพันธ์กับทัศนคติเกี่ยวกับการใช้ ปุ๋ยอินทรีย์ในการปลูกข้าวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนพื้นที่ปลูกข้าว การฝึกอบรมความรู้เกี่ยวกับปุ๋ยอินทรีย์ ความถี่ในการฝึกอบรม  ประสบการณ์การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ จำนวนแหล่งผลิต/จำหน่ายปุ๋ยอินทรีย์ จำนวนแรงงานในครัวเรือน การมีอยู่ของแหล่งผลิต/จำหน่ายปุ๋ยอินทรีย์ และ ความยากง่ายในการเข้าถึงแหล่งผลิต/จำหน่ายปุ๋ยอินทรีย์ มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในการปลูกข้าว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในส่วนของปัญหานั้น เกษตรกรมีปัญหาเกี่ยวกับการใช้ปุ๋ยหมักมากที่สุด และมีข้อเสนอแนะ คือเกษตรกรต้องการให้มีการจัดอบรมให้ความรู้ด้านการผลิต การใช้ประโยชน์ปุ๋ยอินทรีย์ และการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมีในการปลูกข้าวอย่างถูกต้อง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมการเกษตร. 2553. ปุ๋ยพืชสด.(ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล : http://www.doae.go.th ( 9 สิงหาคม 2553 ).

จิรพงษ์ ประสิทธิเขตร. 2548. “คำแนะนำการใช้ปุ๋ยกับพืชเศรษฐกิจ”. กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. กรุงเทพฯ. 121 หน้า.

ชายันต์ คำมา. 2544. ความรู้และการปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกร ในอำเภอ หล่มสัก จังหวัดเพชรบรูณ์. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัย เชียงใหม่. 127 หน้า.

ธงชัย มาลา. 2550. ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยชีวภาพ : เทคนิคการผลิตและการใช้ประโยชน์. พิมพ์ครั้งที่ 2. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ. 300 หน้า.

ธีรพงศ์ มนต์แก้ว. 2551. ความรู้และการปฏิบัติเกษตรอินทรีย์ของกลุ่มเกษตรกรในตำบลสะลอง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัย เชียงใหม่. 110 หน้า.

นริศร์ คงสมบุญ. 2541. การใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูข้าวของเกษตรกรในจังหวัดสิงห์บุรี. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 75 หน้า.

วรจนา ศรีบุญมา. 2545. ปัจจัยบางประการที่มีความสัมพันธ์ต่อการใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 เพื่อเพิ่มผลผลิตของเกษตรกรใน จ.บุรีรัมย์. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.doae.go.th หัวข้องานวิจัยส่งเสริมการเกษตร ( 15 สิงหาคม 2553 ).

ศักดิ์ชาย สมใส. 2541. ทัศนคติของเกษตรกรหมู่บ้านรอบบริเวณศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ต่อการอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 114 หน้า.

ศูนย์สารสนเทศการเกษตร. 2553. ต้นทุนข้าวนาปีและนาปรัง ปี พ.ศ. 2550-2552 เฉลี่ยทั้งประเทศ. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: www.oae.go.th ( 6 สิงหาคม 2553 ).

เอนก จอมมูล. 2544. การปฏิบัติของเกษตรกรในการใช้สารเคมีสำหรับการผลิตสตรอเบอรี่ในอำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 134 หน้า.