ผลของการควั่นกิ่งและการพ่นทางใบด้วย โมโนโพแทสเซียมฟอสเฟตและเอทิฟอนต่อการออกดอกของลิ้นจี่พันธุ์ฮงฮวยและพันธุ์จักรพรรดิ
Main Article Content
บทคัดย่อ
ศึกษาผลของการควั่นกิ่งและการพ่นปุ๋ยโมโนโพแทสเซียมฟอสเฟตและเอทิฟอนต่อการออกดอกของลิ้นจี่พันธุ์ฮงฮวยและพันธุ์จักรพรรดิ ทำการทดลองที่ อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ วางแผนการทดลองแบบ 2x4 factorial in randomized complete block design โดยกำหนดให้มี 2 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยที่ 1 พันธุ์ลิ้นจี่ 2 พันธุ์ (ฮงฮวย และจักรพรรดิ) ปัจจัยที่ 2 คือ วิธีการจัดการ 4 กรรมวิธี (กรรมวิธีควบคุม, ควั่นกิ่ง, พ่นปุ๋ย 0-52-34 เข้มข้น 1เปอร์เซ็นต์ ผสมเอทิฟอน 400 ส่วนต่อล้าน ควั่นกิ่ง และพ่นปุ๋ย 0-52-34 เข้มข้น 1เปอร์เซ็นต์ ผสมเอทิฟอน 400 ส่วนต่อล้าน) ผลการทดลองพบว่าการควั่นกิ่งและการพ่นทางใบด้วยปุ๋ย 0-52-34 เข้มข้น 1 เปอร์เซ็นต์ ผสมเอทิฟอน 400 ส่วนต่อล้าน มีผลทำให้ต้นลิ้นจี่พันธุ์ฮงฮวยและพันธุ์จักรพรรดิสามารถออกดอกได้เร็วกว่ากรรมวิธีอื่น 10 วัน มีเปอร์เซ็นต์การออกดอกสูงที่สุดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เท่ากับ 78.5 เปอร์เซ็นต์ และทำให้มีความกว้างของช่อดอกและจำนวนดอกต่อช่อมากที่สุด เท่ากับ 10.61 เซนติเมตรและ 678.2 ดอก ตามลำดับ มีเปอร์เซ็นต์การติดผลมากที่สุด เท่ากับ 47.47 เปอร์เซ็นต์
Article Details
References
นุดี เจริญกิจ และ พิทยา สรวมศิริ. 2554. ผลของการควั่นกิ่ง โมโนโพแทสเซียมฟอสเฟตและเอทิฟอนต่อการออกดอกนอกฤดูของลิ้นจี่พันธุ์ฮงฮวยบนที่สูง. วารสารเกษตร 27 (1): 19-25.
พาวิน มะโนชัย วรินทร์ สุทนต์ วินัย วิริยะอลงกรณ์ ปฏิภาณ สุทธิกุลบุตร เสกสันต์ อุสสหตานนท์ และ นพดล จรัสสัมฤทธิ์. 2545. ผลของการควั่นกิ่งต่อการติดผลของลิ้นจี่พันธุ์ฮงฮวย. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 33(4-5): 243–246.
พูนภิภพ เกษมทรัพย์. 2549. ชีววิทยา 2: โครงการตำราวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์มูลนิธิ สอวน.พิมพ์ครั้งที่ 2. ด่านสุทธาการพิมพ์, กรุงเทพ ฯ. 440 หน้า.
วรินทร์ สุทนต์ พาวิน มะโนชัย ปฏิภาณ สุทธิกุลบุตร วินัย วิริยะอลงกรณ์ และ เสกสันต์ อุสสหตานนท์. 2546. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการติดผลและการควบคุมการร่วงของผลลิ้นจี่. รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการเสนอสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยชุดโครงการไม้ผลและผลิตภัณฑ์จากไม้ผล, เชียงใหม่. 104 หน้า.
วิจิตร วังใน. 2550. ธาตุอาหารกับการผลิตพืชผล. คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 371 หน้า.
ศศิธร วณิชอนุกูล. 2553. ผลของปุ๋ยโมโนโพแทสเซียมฟอสเฟตที่ให้ทางใบต่อการแตกใบอ่อนและปริมาณธาตุอาหารในส่วนยอดของลิ้นจี่. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท สาขาวิชาพืชสวน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 97 หน้า.
สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน). 2553. พื้นที่ปฏิบัติงานโครงการหลวง. (ระบบออนไลน์). แหล่งที่มา : http://www2.hrdi. or.th/node/49. (27 ธันวาคม 2554).
สรเพชร มาสุด. 2552. ผลของการควั่นกิ่งต่อการเติบโตและการเปลี่ยนแปลงปริมาณไนโตรเจน คาร์โบไฮเดรตและฮอร์โมนของลิ้นจี่ที่ปลูกในพื้นที่ภูเขา. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท สาขาวิชาพืชสวน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 109 หน้า.
อนันต์ ดำรงสุข. 2547. ลิ้นจี่. พิมพ์ครั้งที่ 1. อักษรสยามการพิมพ์, กรุงเทพ ฯ. หน้า 69-72.
Menzel, C.M. and D.R. Simpson. 1991. Effect of temperature and leaf water stress on panicle and flower development of litchi (Litchi chinensis Sonn.). J. Hort. Sci. 66(3): 335-344.
Menzel, C.M. and D.R. Simpson. 1992. Flowering and fruit set in lychee (Litchi chinensis Sonn.) in subtropical Queenland. Aust. J. Exp. Agric. 32: 105-111.