การตรวจสอบลูกผสมถั่วลันเตาที่ต้านทานโรคราแป้ง โดยการใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอ

Main Article Content

อัญชัญ ชมภูพวง
อังสนา อัครพิศาล
วีณัน บัณฑิตย์
ณัฐา โพธาภรณ์

บทคัดย่อ

การตรวจสอบลูกผสมถั่วลันเตา 2 คู่ผสม คือ No. x P309 และ P309 x No.4 จำนวน 4 รุ่น ได้แก่ F2, BC1F2, BC2F2 และ BC3F2 ที่ต้านทานโรคราแป้ง (Oidium sp.) ในแปลงทดลอง โดยติดตามเครื่องหมายดีเอ็นเอที่มีขนาด 850 คู่เบส ที่เกี่ยวข้องกับยีนต้านทานโรคราแป้ง (er gene) ด้วยเทคนิคพีซีอาร์โดยใช้คู่ไพรเมอร์ ScOPD10 พบว่า ลูกผสมรุ่น F2 ของคู่ผสม No.3 x P309 ปรากฏแถบดีเอ็นเอที่มีขนาด 850 คู่เบส 70% จากจำนวนต้นที่สุ่มทั้งหมด ขณะที่ลูกผสมรุ่น BC1F2 , BC2F2 และ BC3F2 ปรากฏแถบดีเอ็นเอในทุกต้นที่สุ่ม (100%) สำหรับลูกผสมรุ่น F2 และ BC3F2 ของคู่ผสม P309 x No.4 ปรากฏแถบดีเอ็นเอ 70% และลูกผสมรุ่น BC1F2 และ  BC2F2 ปรากฏแถบดีเอ็นเอ 90% และเมื่อนำลูกผสม BC3F3 มาปลูกทดสอบความต้านทานต่อโรคราแป้ง พบว่า ลูกผสมทั้งสองคู่แสดงลักษณะต้านทานต่อโรคราแป้งเช่นเดียวกับพันธุ์ต้านทาน P309

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิตติพงษ์ ศิริวานิชกุล และ สุดฤดี ประเทืองวงศ์. 2528. โรคของถั่วลันเตาในท้องที่ภาคเหนือของประเทศไทย. สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 13 หน้า.

คมสัน อำนวยสิทธิ์. 2539. หลักการปรับปรุงพันธุ์พืช. สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล, กรุงเทพฯ. 198 หน้า.

จานุลักษณ์ ขนบดี. 2541. การผลิตเมล็ดพันธุ์ผัก. พิมพ์ครั้งที่ 2. โอเดียนสโตร์, กรุงเทพฯ. 132 หน้า.

จุลภาค คุ้นวงศ์. 2548. Marker Assisted Selection. เอกสารประกอบการประชุมเรื่อง “ปฏิบัติการ Molecular breeding training course”. ณ ศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.), ปทุมธานี. 26 เมษายน 2548.

นุชจารี วนาศิริ. 2550. การจัดจำแนกเชื้อราแป้งบางชนิดโดยอาศัยลักษณะการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศภายใต้กล้องจุลทรรศน์และกล้องอิเล็กตรอนแบบส่องกราด. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาโรคพืช. มหาวิทยาลัย เชียงใหม่, เชียงใหม่. 124 หน้า.

อัญชัญ ชมภูพวง ศิริลักษณ์ อินทวงศ์ ศิริพงษ์ คุ้มภัย และ ณัฐา โพธาภรณ์. 2553. การตรวจสอบเครื่องหมายดีเอ็นเอที่เกี่ยวข้องกับยีนต้านทานโรคราแป้งในลูกผสมถั่วลันเตาโดยใช้เทคนิคพีซีอาร์. ผลงานวิจัยของมูลนิธิโครงการหลวง ประจำปี 2552, เชียงใหม่. 665 หน้า.

Brown, T.A. 1990. Genetics: a Molecular Approach. University of Manchester Institute of Science and Technology, U.S.A. 387 p.

Janila, P. and B. Sharma. 2004. RAPD and SCAR markers for powdery mildew resistance gene er in pea. Plant Breeding 123: 271-274.

McClean, P. 1997. Genetic linkage : recombination and estimating the distance between genes. (Online). Available: http://www.ndsu.edu/pubweb/~mcclean/plsc431/linkage/linkage2.htm (November 16, 2011).

Ondrej, M., R. Dostalova and L. Odstrcilova. 2005. Response of Pisum sativum germplasm resistant to Erysiphe pisi to inoculation with Erysiphe baeumleri, a new pathogen of pea. Plant Protect. Sci. 41: 95-103.

Sharma, B. and Y. Yadav. 2003. Pisum fulvum carries a recessive gene for powdery mildew resistance. Genetics 35: 263-269.

Tiwari, K.R., G.A. Penner and T.D. Warkentin. 1998. Identification of coupling and repulsion phase RAPD markers for powdery mildew resistance gene er-1 in pea. Genome 41: 440-444.

Vaid, A. and P.D. Tyagi. 1997. Genetics of powdery mildew resistance in pea. Euphytica 96: 203-206.

White, M.J.D. 1973. The Chromosomes. Northumberland Press Limited, Britain. 214 p.