ผลของการห่อผลต่อผลผลิตและคุณภาพของมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้

Main Article Content

ศรัญญา ใจพะยัก
ธวัชชัย รัตน์ชเลศ

บทคัดย่อ

ศึกษาการห่อผลมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้ด้วยถุงกระดาษคาร์บอนสองชั้นที่ความยาวผลต่างกัน เพื่อเปรียบเทียบผลผลิตและคุณภาพของผลหลังการห่อ ทำการทดลองระหว่างเดือนมกราคมถึงมิถุนายน พ.ศ. 2550 กับต้นที่มีอายุ 6 ปี ในสวนมะม่วงของเกษตรกรที่อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ มี 3 กรรมวิธี จำนวน 4 ซ้ำๆ ละ 1 ต้น ประกอบด้วย การห่อผลในระยะที่ผลมีความยาว 5, 7 และ 9 เซนติเมตร หรือมีอายุ 42, 47 และ 50 วันหลังดอกบาน 50 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ผลการทดลองพบว่า เมื่อเก็บเกี่ยวผลที่อายุ 115 วันหลังดอกบาน 50  เปอร์เซ็นต์ ต้นที่มีการห่อผลที่ระยะผลมีความยาว 5, 7 และ 9 เซนติเมตร ให้น้ำหนักผลที่เก็บเกี่ยวได้เมื่อผลแก่เท่ากับ 17.8, 10.3 และ 14.5 กิโลกรัมต่อต้นตามลำดับ น้ำหนักเฉลี่ยต่อผลของทุกต้นอยู่ระหว่าง 422 – 460 กรัม จำนวนช่อผลร่วงหลังการห่อต่อช่อผลที่ห่อทั้งหมด จำนวนช่อผลเสียหลังการห่อ ขนาดผลและเมล็ด ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติระหว่างกรรมวิธีที่ศึกษา คุณภาพภายในของผลหลังการบ่มได้แก่ สีเปลือก ความแน่นเนื้อรวมเปลือกและไม่รวมเปลือก ปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ และปริมาณกรดทั้งหมดนั้นไม่แตกต่างด้วยเช่นกัน จากการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าเกษตรกรสามารถห่อผลมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้ที่มีความยาวตั้งแต่ 5 เซนติเมตรขึ้นไป โดยไม่ทำให้เกิดความเสียหายกับผลผลิตทั้งปริมาณและคุณภาพ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมวิชาการเกษตร. 2545. เกษตรดีที่เหมาะสมสำหรับมะม่วง. กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ. 24 หน้า.

เฉลิมชัย แก้ววรชาติ. 2539. การปลูกมะม่วง. อักษรสยามการพิมพ์, กรุงเทพฯ. 83 หน้า.

ชูชาติ วัฒนวรรณ และ อรุณี วัฒนวรรณ. 2550. ยกระดับการผลิตมะม่วงไทยเพื่อการส่งออก. กลุ่มวิชาการ สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 6 กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, จันทบุรี. 64 หน้า.

ดิศร ริมประนาม. 2541. ผลของการห่อผลและสารควบคุมการเจริญเติบโตของพืชบางชนิดต่อการเปลี่ยนแปลงรงควัตถุของเปลือกผลมะม่วงพันธุ์เคนท์ในระหว่างการพัฒนาของผล. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท สาขาวิชาชีววิทยา มหาวิทยาลัย เชียงใหม่, เชียงใหม่. 122 หน้า.

ธวัชชัย รัตน์เลศ และ ฉันทลักษณ์ ติยายน. 2553. เกษตรดีที่เหมาะสมสำหรับมะม่วง ฉบับชุมชน 3 วิสาหกิจชุมชนกลุ่มส่งออกมะม่วง ตำบลโป่งตาลอง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา. ศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 105 หน้า.

ธวัชชัย รัตน์ชเลศ พฤกษ์ ยิบมันตะสิริ และ รุ่งทิพย์ อุทุมพันธ์. 2546. มะม่วงแก้วไม้ผลเพื่อความหวังและฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ. สำนักพิมพ์มติชน, กรุงเทพฯ. 199 หน้า.

ธวัชชัย รัตน์เลศ และ รุ่งทิพย์ อุทุมพันธ์. 2552 ก. เกษตรดีที่เหมาะสมสำหรับมะม่วง ฉบับชุมชน 1 ชมรมผู้ปลูกมะม่วงอำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก. ศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 88 หน้า.

ธวัชชัย รัตน์เลศ และ รุ่งทิพย์ อุทุมพันธ์. 2552 ข. เกษตรดีที่เหมาะสมสำหรับมะม่วง ฉบับชุมชน 2 ชมรมผู้ปลูกมะม่วง จังหวัดเชียงใหม่. ศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 35 หน้า.

ธวัชชัย รัตน์ชเลศ และ รุ่งทิพย์ อุทุมพันธ์. 2553ก. การผลิตมะม่วงคุณภาพเพื่อการส่งออก. น. 1 – 9. ใน พัฒนามะม่วงไทยก้าวไกลสู่ตลาดโลก. คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

ธวัชชัย รัตน์ชเลศ และ รุ่งทิพย์ อุทุมพันธ์. 2553ข. การห่อผลมะม่วง. น. 129 – 138. ใน พัฒนามะม่วงไทยก้าวไกลสู่ตลาดโลก. คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

ธีรนุช เจริญกิจ พาวิน มะโนชัย และ นภดล จรัสสัมฤทธิ์. 2546. อิทธิพลของการห่อผลต่อคุณภาพสีผิวของลำไยหลังการเก็บเกี่ยว. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 34 (1 – 3 พิเศษ): 307–310.

พานิชย์ ยศปัญญา. 2539. คัมภีร์มืออาชีพมะม่วงนอกฤดู. สำนักพิมพ์มติชน, กรุงเทพฯ. 136 หน้า.

มนู โป้สมบูรณ์. 2551. การผลิตมะม่วงคุณภาพดี. กลุ่มส่งเสริมการผลิตไม้ผล กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ. 43 หน้า.

วิจิตร แก้วทองแท้. 2543. มะม่วงนอกฤดู. โครงการหนังสือเกษตรชุมชน, กรุงเทพฯ. 72 น..

สมาคมชาวสวนมะม่วงไทย. 2553. การตลาด. จดหมายข่าวสมาคมชาวสวนมะม่วงไทย 1(2): 14 – 15.

สายชล เกตุษา. 2528. สรีรวิทยาและเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวผักและผลไม้. ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 364 หน้า.

สำนักพัฒนาคุณภาพสินค้าเกษตร. 2548. รายงานการวิจัย เรื่อง การยอมรับของเกษตรกรต่อการพัฒนาคุณภาพมะม่วง เพื่อการส่งออกญี่ปุ่นโดยวิธีการห่อผล. ฝ่ายพัฒนาการผลิตและควบคุมศัตรูพืชผัก ผลไม้เพื่อการส่งออก สำนักพัฒนาคุณภาพสินค้าเกษตร, กรุงเทพฯ. 92 หน้า.

Estrada, C.G. 2002. Effect of fruit bagging on sanitation and pigmentation of six mango cultivars. Acta Hort. 645: 195–199.

Modi, V.V. and V.V. Reddy. 1967. Carotenogenesis in ripening mangoes. Indian J. Expt. Biol. 5(4): 233-235.