การประเมินมูลค่าคาร์บอนและธาตุอาหารสะสม ในดินป่าดิบเขาบริเวณดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
ประเมินมูลค่าคาร์บอนและธาตุอาหารสะสมในดินป่าดิบเขา ดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่ ในแปลงสุ่มตัวอย่างแบบถาวร ขนาด 15 เฮกตาร์ (1,700 ม. ร.ท.ก.) โดยใช้แปลงสุ่มตัวอย่าง จำนวน 3 แปลง ขนาด 50 x 50 ตร.ม. วางกระจายตามพื้นที่ลาดเท ขุดหลุมดินลึกถึง 200 ซม. 3 หลุม เก็บตัวอย่างดินตามความลึก 13 ระดับ คือ 0-5, 5-10, 10-20, 20-30, 30-40, 40-60, 60-80, 80-100, 100-120, 120-140, 140-160, 160-180 และ 180-200 ซม. เพื่อวิเคราะห์สมบัติทางกายภาพและเคมีของดินในห้องปฏิบัติการ และประยุกต์ใช้วิธีการตีมูลค่าทางการตลาดและต้นทุนที่ต้องจ่ายเพื่อฟื้นฟูคืนสภาพเดิม ในการประเมินมูลค่าของธาตุอาหารที่สะสมในชั้นดิน พบว่า เนื้อดินส่วนใหญ่เป็นดินร่วนปนทราย ในดินชั้นบนมีความหนาแน่นรวมของดินต่ำ ค่าปฏิกิริยาของดินเป็นกรดจัดมากถึงกรดรุนแรงมาก อินทรียวัตถุและคาร์บอนมีค่าสูงมาก ไนโตรเจนทั้งหมดมีค่าปานกลางถึงสูงในดินชั้นบน โพแทสเซียมที่สกัดได้มีสูงมากตลอดชั้นดิน ขณะที่ฟอสฟอรัส แคลเซียม แมกนีเซียมและโซเดียมมีค่าต่ำถึงต่ำมาก ปริมาณการสะสมของอินทรียวัตถุ คาร์บอนและไนโตรเจนในดินชั้นบนมากและลดลงในชั้นดินที่อยู่ลึกลงไป มูลค่าของการสะสมคาร์บอน ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แคลเซียม แมกเนเซียม และโซเดียม เท่ากับ 170.73, 7,962.31, 1,197.25, 48,531.97, 3,286.77, 787.84 และ 744.31 บาทต่อเฮกตาร์ ตามลำดับ คิดเป็นมูลค่ารวม เท่ากับ 62,681 บาทต่อเฮกตาร์
Article Details
References
เกษม จันทร์แก้ว. 2551. หลักการจัดการลุ่มน้ำ. สำนัก พิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์: กรุงเทพฯ. 341 หน้า.
ณัฐลักษณ์ คำยอง. 2552. ความหลากหลายของชนิดพันธุ์ไม้ ลักษณะดินและการสะสมคาร์บอนในป่าชนิดต่าง ๆ บริเวณอุทยานแห่งชาติดอย สุเทพ-ปุย จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 334 หน้า.
พงษ์ศักดิ์ วิทวัสชุติกุล และพิณทิพย์ ธิติโรจนะวัฒน์. 2552. แบบจำลองเพื่อประเมินมูลค่าป่าต้นน้ำ. เอกสารบันทึกวิจัย ที่ 1/2552. สำนักอนุรักษ์และจัดการต้นน้ำ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธ์พืช. 14 หน้า.
สุนทร คำยอง, ตฤณ เสรเมธากุล และเสวียน เปรมประสิทธิ์. 2551. การศึกษาการสะสมของคาร์บอนในระบบนิเวศป่าไม้ชนิดต่าง บริเวณดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่. ใน การประชุมวิชาการสิ่งแวดล้อมนเรศวร ครั้งที่ 4. ระหว่างวันที่ 26-27 พฤษภาคม 2551. มหาวิทยาลัยนเรศวร พะเยา จังหวัดพะเยา. น. 126-136.
สุนทร คำยอง, รวีวรรณ ศิริไสยาสน์ และดุสิต เสรเมธากุล. 2549. ป่าเทียมเมฆกับข้อมูลทางนิเวศวิทยาสำหรับการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 273 หน้า.
Fisher, R.F. and D. Binkley. 2000. Ecology and management of forest soils. Third Editor. John Wiley & Sons, New York. 16-26 p.
Katherine, H., M. Sjardin, T. Macello and G. Xu. 2008. Forging a frontier: State of the voluntary carbon market 2008. Ecosystem marketplace & new carbon finance. 8th May 2008. (Online). Available: http://www.ecosystemmarketplace.com/documents/cms_documents/2008_StateofVoluntaryCarbonMarket2.pdf (February 10, 2011).
Khamyong, S., J. Pinthong, D. Seramethakun and S.Sangawongse. 2001. Characterization of some forest soils in the Doi Inthanon National Park: Relationship between forests and soils. Thai-Danish Research Cooperation on Forest and People in
Thailand, Chiang Mai University. A paper presented to the International Conference on Forest and People in Thailand during 11-14 December 2001 at Kasetsart University. 9 p.
Kanchanaprasert, N. 1986. A Study on vital diagnostic features in soil development and land potential evaluation of alfisols and inceptisols in Mae Klong drainage basin. Ph.D. Thesis, Department of Soil Science, Kasetsart University, Bangkok. 483 p. (in Thai)
Pampasit, S. 1995. Ecological study on relationship between plant associations in the dry dipterocarp forest and soil properties in the Doi Inthanon National Park, Chiang Mai Province. Master Thesis. Chiang Mai University. 175 p.
Pampasit, S., S. Khamyong, G. Breulmann, I. Ninomiya and K. Ogino. 2000. Mineral element accumulation in soil and tree in tropical hill evergreen forest, northern Thailand. Tropics 9(4): 275-286.
Pritchett, W.L. and R.F. Fisher. 1987. Properties and management of forest soils. Second Editor. John Wiley & Sons, New York. 494 p.
Santisuk, T. 1988. An account of the vegetation of northern Thailand. Geoecological Research. 5 (ed. U. Schweinfurth). Franz Steiner Verlag Weisbaden GMBH, Stuttgart. 61 p.