การพัฒนาและการสุกแก่ของเมล็ดพันธุ์มะระขี้นก

Main Article Content

นาราวี ดือเระ
ขวัญจิตร สันติประชา
วัลลภ สันติประชา

บทคัดย่อ

ได้ศึกษาการพัฒนาและการสุกแก่ของเมล็ดพันธุ์มะระขี้นก ที่ภาควิชาพืชศาสตร์ คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ระหว่างเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม 2553 เมื่อมะระขี้นกเริ่มออกดอกทำการติดป้ายดอกที่กำลังบาน เพื่อกำหนดวันดอกบาน  และเก็บเกี่ยวผลที่อายุ 10, 12, 14, 16, 18, 20 และ 22 วันหลังดอกบาน เพื่อศึกษาการพัฒนาสีผล สีเมล็ด และคุณภาพของเมล็ดพันธุ์ ผลการทดลองพบว่า มะระขี้นกมีการพัฒนาสีผล 4 ช่วง คือ สีเขียวเข้ม สีเขียวอ่อน สีส้มเหลืองประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์ และสีส้มเหลือง ที่ผลอายุ 10-16, 18, 20 และ 22 วันหลังดอกบาน ตามลำดับ เมล็ดพันธุ์มะระขี้นกเริ่มงอกได้ที่ผลอายุ 12 วันหลังดอกบาน โดยมีน้ำหนักแห้ง 64.99 มิลลิกรัมต่อเมล็ด ความชื้น 66.53 เปอร์เซ็นต์ และความงอกมาตรฐาน 10.00 เปอร์เซ็นต์ เมล็ดพันธุ์มะระขี้นกสุกแก่ทางสรีรวิทยาที่ผลอายุ 20 วันหลังดอกบาน  เมื่อผลมีสีส้มเหลืองประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์ โดยมีน้ำหนักแห้งสูงสุด 154.25 มิลลิกรัมต่อเมล็ด ความชื้น 33.95 เปอร์เซ็นต์ และความงอกมาตรฐาน 81.00 เปอร์เซ็นต์ ความแข็งแรงสูงสุดในรูปความงอกในดิน ดัชนีความเร็วในการงอกในดิน การเจริญของต้นกล้า และการนำไฟฟ้าต่ำ ดังนั้นการเก็บเกี่ยวมะระขี้นกเพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์จึงควรเก็บเกี่ยวผลสีส้มเหลืองประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์ และเมล็ดพันธุ์มีสีน้ำตาลเข้ม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิตติ วิรุณพันธุ์. 2549. ผลของการเสริมมะระขี้นกต่อสมรรถภาพการเจริญเติบโต ไขมันในช่องท้อง คอเลสเตอรอล และจำนวนเม็ด เลือดขาวในไก่กระทง. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยแม่โจ้, เชียงใหม่. 156 หน้า.

ขวัญจิตร สันติประชา และวัลลภ สันติประชา. 2530. การพัฒนาและการสุกแก่ของเมล็ดพันธุ์ถั่วฝักยาว. วารสารสงขลานครินทร์ 9: 431-436.

ขวัญจิตร สันติประชา และวัลลภ สันติประชา. 2531. การพัฒนาและการสุกแก่ของเมล็ดพันธุ์ถั่วพุ่ม. วารสารสงขลานครินทร์ 10: 121-127.

ขวัญจิตร สันติประชา และวัลลภ สันติประชา. 2537. การพัฒนาและการสุกแก่ของเมล็ดพันธุ์ถั่วฝักยาวพันธุ์คัด-ม.อ. วารสารสงขลานครินทร์ 16 : 325-333.

จวงจันทร์ ดวงพัตรา. 2529. เทคโนโลยีเมล็ดพันธุ์. กลุ่มหนังสือเกษตร, กรุงเทพฯ. 210 หน้า.

จิราพร ชัยวรกุล. 2553. ผลของสภาวะการให้ความร้อนต่อปริมาณสารประกอบฟีโนลิกทั้งหมดและสมบัติการกำจัดอนุมูลอิสระของมะระขี้นก. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี. 112 หน้า.

ดอกเอื้อง วรศรี. 2552. อายุของฝักกระเจี๊ยบเขียวที่มีต่อการพัฒนาและการสุกแก่ของเมล็ดพันธุ์. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา. 81 หน้า.

ภัทราพร ตั้งสุขฤทัย. 2547. มะระขี้นกกับเบาหวาน. หมออนามัย 13 : 35-38.

ธวัช ลวะเปารยะ. 2546. มะระจีนและมะระขี้นก. ข่าวสาร กฟผ. 33 : 28-29.

นิสากร ปานประสงค์. 2541. ภูมิปัญญาไทยสมุนไพรรักษาเอดส์. อัพเดท 13 : 53-56.

มาริษา สงไกรรัตน์ ขวัญจิตร สันติประชา และวัลลภ สันติประชา. 2550. การพัฒนาและการสุกแก่ของเมล็ดพันธุ์ถั่วแขก. วารสารสงขลานครินทร์ วทท. 29 : 627-636.

วัลลภ สันติประชา. 2540. เทคโนโลยีเมล็ดพันธุ์. ภาควิชาพืชศาสตร์ คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่, สงขลา. 227 หน้า.

วัลลภ สันติประชา. 2550. บทปฏิบัติการเทคโนโลยีเมล็ดพันธุ์. ภาควิชาพืชศาสตร์ คณะทรัพยากร ธรรมชาติ มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่, สงขลา. 128 หน้า.

สาธิต ปิ่นมณี. 2544. ความเหมาะสมของปัจจัยการงอกและรูปแบบการติดเมล็ดมะระขี้นกที่ความหนาแน่นประชากรต่าง ๆ. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 98 หน้า.

สุธาทิพ ภมรประวัติ. 2550. มะระต้านเบาหวาน. หมอชาวบ้าน 28: 35-37.

สุมาลี ชื่นวัฒนา. 2542. การเปรียบเทียบผลผลิต คุณค่าทางโภชนาการและองค์ประกอบทางเคมีบางชนิดของมะระขี้นก Momordica charantia Linn. ที่ปลูกโดยไม่ใช้ดิน. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ. 68 หน้า.

Andrews, C.H. 1981. Effect of the pre-harvest environment on soybean seed quality. Proceedings 1981 Mississippi Short Course for Seedsmen. Mississippi State University, Mississippi State, Mississippi. 23 : 19-27.

AOSA. 2002. Seed Vigor Testing Handbook. Contribution No.32 to the Handbook on Seed Testing. The Association of Official Seed Analysts, Washington. 105 pp.

Ashirafuzzaman, M., M.R. Ismail, K.M.A. I. Fazal, M.K.Uddin and A.K.M.A. Prodhan. 2010. Effect of GABA application on the growth and yield of bitter gourd (Momordica charantia L.). International Journal of Agriculture and Biology 12: 129–132.

Delouche, J.C. 1976. Seed maturation. Proceedings 1976 Mississippi Short Course for Seedsmen. Mississippi State University, Mississippi State, Mississippi. 18 : 25-33.

Delouche, J.C. 1985. Physiological seed quality. Proceedings 1985 Mississippi Short Course for Seedsmen. Mississippi State University, Mississippi State, Mississippi. 27 : 51-59.

Herklots, G.A.C. 1972. Vegetables in South-East Asia. South China Morning Post, Hong Kong. 525 pp.

ISTA. 2008. International Rules for Seed Testing. International Seed Testing Association, Bassersdorf. 502 pp.

Nerson, H. and H.S. Paris. 1988. Effect of fruit age, fermentation and storage on germination of cucurbit seeds. Scientia Horticulturae 35 : 15-26.

Palada. M.C. and L.C. Chang. 2003. Suggested cultural practices for bitter gourd. In International Cooperators’ Guide. pp 1-5. Asian Vegetable Research and Development Center, Shanhua.

Tindall, H.D. 1983. Vegetables in the Tropics. Macmillan Education Limited, London. 533 pp.