ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความเป็นอยู่ที่ดีของแม่บ้านเกษตรกรและครอบครัวตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงจังหวัดเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ข้อมูลพื้นฐานบางประการทางเศรษฐกิจและสังคมของแม่บ้านเกษตรกรและครอบครัวในจังหวัดเชียงใหม่ 2) ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความเป็นอยู่ที่ดีของครอบครัวแม่บ้านเกษตรกรตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ แม่บ้านเกษตรจำนวน 375 ราย โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ ใช้แบบสอบถามซึ่งมีคำถามเป็นปลายเปิดและปลายปิดใช้การวิเคราะห์การถดถอยพหุในวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อทดสอบสมมติฐานเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรตามและตัวแปรอิสระ ผลการศึกษาพบว่า แม่บ้านเกษตรกรมีอายุเฉลี่ย 47.71 ปี ทั้งแม่บ้านและพ่อบ้านเกษตรกรส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษา มีจำนวนสมาชิกในครอบครัว 4 คน มีบุตรจำนวน 2 คน มีจำนวนแรงงานด้านการเกษตรของครอบครัวเพียง 2 คน ระยะเวลาในการสมรสเฉลี่ย 24.04 ปีแม่บ้านเกษตรกรมีรายได้ต่อเดือนเฉลี่ย 3,948.27 บาทและมีรายได้ของครอบครัวต่อเดือนน้อยกว่า 10,000 บาท ส่วนใหญ่ไม่เคยย้ายถิ่นที่อยู่อาศัย แม่บ้านเกษตรกรส่วนใหญ่เป็นสมาชิกกองทุนหมู่บ้านและกลุ่มธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ ด้านการมีบทบาทเชิงเศรษฐกิจในครัวเรือนของแม่บ้านเกษตรกร โดยภาพรวมแม่บ้านเกษตรกรมีบทบาทเชิงเศรษฐกิจในครัวเรือนอยู่ในระดับมาก แม่บ้านเกษตรกรได้รับความรู้ด้านการประกอบอาชีพตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงในระดับปานกลาง โดยแหล่งความรู้ที่แม่บ้านเกษตรกรได้รับความรู้มาก ได้แก่ โทรทัศน์
ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเป็นอยู่ที่ดีของครอบครัวแม่บ้านเกษตรกรตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 หรือต่ำกว่า ได้แก่ 1) จำนวนบุตร 2) บทบาทเชิงเศรษฐกิจของครัวเรือนของแม่บ้านเกษตรกร 3) การทำกิจกรรมด้านการเกษตรตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง และ 4) ปัญหาและอุปสรรคในการทำกิจกรรมเกษตรตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญของแม่บ้านเกษตรกร ได้แก่ ราคาปัจจัยการผลิตบางอย่างมีราคาสูงขึ้น แรงงานในการทำการเกษตรในครอบครัวไม่เพียงพอ รวมทั้ง แมลงและศัตรูพืชทำลายพืชผักจนได้รับความเสียหาย
Article Details
References
จริยา สุพรรณ. 2548. การยอมรับเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิตของเกษตรกรในชุมชนบ้านหลุกมะขาม ตำบลหนองไม้แก่น อำเภอแปลงยาว จังหวัดฉะเชิงเทรา. ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (พัฒนาสังคมศาสตร์) สาขาพัฒนาสังคมศาสตร์. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 157 หน้า.
จุมพฎ สุขเกื้อ. 2550. คุณภาพชีวิตของเกษตรกรภายใต้สภาวะเศรษฐกิจพอเพียงและการสนับสนุนทางสังคมตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง: กรณีศึกษาพื้นที่ประสบภัยธรณีพิบัติสึนามิ ตำบลกำพวน กิ่งอำเภอสุขสำราญ จังหวัดระนอง. ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (พัฒนาสังคม) สาขาพัฒนาสังคม. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 175 หน้า.
สมนึก ชัชวาลย์, สุวิภา จำปาวัลย์, สิริรัฐ สุกันธา. 2552. ความเข้าใจ ความพึงพอใจ และการปรับตัวของประชาชนในเขตภาคเหนือตอนบนต่อนโยบายเศรษฐกิจพอเพียง. เชียงใหม่: สถาบันวิจัยสังคม, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 144 หน้า.
สำนักพัฒนาการถ่ายทอดเทคโนโลยี. 2543. เศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการเกษตรที่พึ่งพาตนเอง. เอกสารวิชาการ. กลุ่มสื่อส่งเสริมการเกษตร สำนักพัฒนาการถ่ายทอดเทคโนโลยี กรมส่งเสริมการเกษตร, กรุงเทพฯ. 26 หน้า.
สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. 2544. ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. สำนักพิมพ์เฟื่องฟ้าพริ้นท์ติ้ง จำกัด, กรุงเทพฯ. 525 หน้า.
อยุทธ์ นิสสภา. 2552. เส้นทางพัฒนางานส่งเสริมการเกษตรไทย. อักษรสยามการพิมพ์, กรุงเทพฯ. หน้า 113.
Nakornthap, S. 1996. Education and Research for Thailand Development: Education for Sustainable Development. Bangkok: The Thailand Research Fund.
Wattanalee, S. 2006. Quantitative research on happiness: Experience from abroad. Bangkok: Office of Public Policy Development.
Wongsa-ngaun, P. 1986. Farmer Liability. Community Development Journal. 1(4), 21.