การเปรียบเทียบคุณภาพและองค์ประกอบทางชีวเคมีของเมล็ดกาแฟอะราบิกาอินทรีย์ที่ปลูกในระดับความสูงพื้นที่ที่แตกต่างกัน

Main Article Content

วรรณภา เดชครุฑ
ดรุณี นาพรหม

บทคัดย่อ

การเปรียบเทียบคุณภาพและองค์ประกอบทางชีวเคมีของกาแฟอะราบิกาอินทรีย์ที่ปลูกในระดับความสูงที่แตกต่างกันจาก 3 พื้นที่ในอำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ ได้แก่ ตำบลนาเกียน ตำบลยางเปียง และตำบลขุนตื่น ซึ่งมีระดับความสูงเหนือระดับน้ำทะเล 800-1,000, 1,000-1,200 และ 1,200-1,400 เมตร ตามลำดับ โดยเก็บตัวอย่างกาแฟกะลามาวัดขนาดและชั่งน้ำหนัก วิเคราะห์ปริมาณ caffeine และ trigonelline ในกาแฟเมล็ดและกาแฟเมล็ดคั่วด้วยเทคนิคโครมาโตกราฟีของเหลวสมรรถนะสูง จากนั้นทดสอบความพึงพอใจของผู้บริโภคด้านกลิ่นและรสชาติของกาแฟ ผลการศึกษาพบว่าในแต่ละพื้นที่มีขนาดของกาแฟกะลาไม่มีความแตกต่างกัน อย่างไรก็ตามในระดับความสูง 1,000-1,200 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล ให้น้ำหนักของกาแฟเมล็ดมากที่สุด ส่วนปริมาณคาเฟอีนในกาแฟเมล็ดและกาแฟเมล็ดคั่วที่ปลูกในระดับความสูง 800-1,000 เมตร มีปริมาณมากที่สุดคือ 1.73 และ 1.43 มิลลิกรัมต่อกรัม ตามลำดับ ซึ่งแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเทียบกับที่ระดับความสูงอื่น นอกจากนี้เมล็ดของกาแฟอะราบิกาที่ปลูกในระดับความสูง 800-1,000 เมตร มีปริมาณไทรโกเนลลีนในกาแฟเมล็ดและกาแฟเมล็ดคั่วสูงที่สุดคือ 0.99 และ 1.78 มิลลิกรัมต่อกรัม ตามลำดับ ส่วนที่ระดับความสูง 1,000-1,200 เมตร มีปริมาณไทรโกเนลลีน 0.83 และ 1.35 มิลลิกรัมต่อกรัม ในขณะที่ระดับความสูง 1,200-1,400 เมตร มีปริมาณไทรโกเนลลีน 0.60 และ 1.03 มิลลิกรัมต่อกรัม สำหรับผลจากการทดสอบความพึงพอใจของผู้บริโภคส่วนใหญ่ชอบรสชาติของกาแฟที่ปลูกในตำบลขุนตื่น ซึ่งมีระดับความสูง 1,200-1,400 เมตร

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กชกร ป้อมน้อย. 2537. ผลของไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และจุลธาตุต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของกาแฟอราบิกา. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 115 หน้า.

กรมวิชาการเกษตร. 2551. กาแฟอราบิกา (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://it.doa.go.th/ vichakan/news.php?newsid=9 (3 กรกฎาคม 2557).

ชวลิต กอสัมพันธ์ ถาวร สุภาวงค์ นริศ ยิ้มแย้ม นิธิ ไทยสันทัด ประเสริฐ คำออน และ วราพงษ์ บุญมา. 2550. การสร้างมูลค่าเพิ่มของกาแฟ อราบิกาโดยการพัฒนากระบวนการผลิตและการแปรรูป. รายงานผลการปฏิบัติงานโครงการบริการวิชาการ. ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมที่สูง คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 13 หน้า.

ดุสิต มานะจุติ บุญยวาทย์ ลำเพาพงศ์ และ จรูญ สุขเกษม. 2528. การศึกษาคุณสมบัติของดินที่ใช้ปลูกกาแฟในภาคเหนือของประเทศไทย. ภาควิชาปฐพีศาสตร์และอนุรักษศาสตร์. คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 86 หน้า.

นริศ ยิ้มแย้ม. 2539. ผลของสภาพความสูงของพื้นที่ที่มีผลต่อคุณภาพกาแฟอราบิกา. วารสารเกษตร 12(2): 157-163.

นันทรัตน์ ศุภกำเนิด. 2558. การจัดการดินและปุ๋ยสำหรับพืชสวน. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.doa.go.th/hort/images/stories/knowledgemanagement/soilfertihort170958full.pdf (16 มิถุนายน 2559).

เนาวรัตน์ ศิวะศิลป์. 2527. คู่มือวิเคราะห์ ดิน พืช และปุ๋ย. ภาควิชาปฐพีศาสตร์และอนุรักษศาสตร์. คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 138 หน้า.

เผ่าไท ถายะพิงค์ และ ปิยะวรรณ สุทธิประพันธ์. 2558. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศในการศึกษาความหลากชนิดและการแพร่กระจายของแมลงศัตรูกาแฟอราบิกาในจังหวัดเชียงใหม่และเชียงราย. วารสารเกษตร 31(2): 203-213.

พงษ์ศักดิ์ อังกสิทธิ์ และ บัณฑูรย์ วาฤทธิ์. 2542. การปลูกและผลิตกาแฟอราบิกาบนที่สูงเชียงใหม่. ศูนย์วิจัยและพัฒนากาแฟบนที่สูง คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 229 หน้า.

พัชนี สุวรรณวิศลกิจ. 2546. ความเหมาะสมของมาตรฐานกาแฟอราบิกาของไทย. รายงานการวิจัย. ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมที่สูง คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 31 หน้า.

พัชนี สุวรรณวิศลกิจ. 2553. สรรสาระ “กาแฟ”. พิมพ์ครั้งที่ 2, โรงพิมพ์นันทพันธ์, เชียงใหม่. 120 หน้า.

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน. 2537. เรื่องที่ 8 ดินและปุ๋ย. ธาตุอาหารในพืช. เล่มที่ 18. (ระบบออนไลน์)แหล่งข้อมูล: http://kanchanapisek. or.th/kp6/sub/book/book.php?book=18&chap=8&page=t18-8-infodetail05.html (29 ธันวาคม 2559).

สิรินาถ จอมพงษ์. 2551. รูปแบบการจัดการที่แตกต่างกันในระบบการผลิตกาแฟแบบวนเกษตรต่อผลผลิตและความอุดม สมบูรณ์ของดิน กรณีศึกษาบ้านปางกึ้ด ตำบลอินทขิล อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยแม่โจ้, เชียงใหม่. 84 หน้า.

สุนทรี ยิ่งชัชวาล. 2554. ใช้อินทรียวัตถุให้ถูกประเภท. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.cab. ku.ac.th/suntaree/pdf/54OrganiMatterExplain.pdf (14 มิถุนายน 2559).

สำนักสำรวจและวิจัยทรัพยากรดิน กรมพัฒนาที่ดิน. 2559. ธาตุอาหารที่จำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตของพืช. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://oss101.ldd.go.th/ web_soils_for_youth/s_prop_nutri02.htm (22 มกราคม 2559).

อดิเรก ศรีมูล. 2553. ปัจจัยที่มีผลต่อปริมาณคาเฟอีนในเมล็ดกาแฟพันธุ์อราบิกาที่ปลูกในจังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 83 หน้า.

Bertrand, B., P. Vaast, E. Alpizar, H. Etienne, F. Davrieux and P. Charmetant. 2006. Comparison of bean biochemical composition and beverage quality of Arabica hybrids involving Sudanese-Ethiopian origins with traditional varieties at various elevations in Central America. Tree Physiology 26: 1239-1248.

Bray, R.H. and L.T. Kurtz. 1945. Determination of total, organic and available forms of phosphorus in soils. Soil Science 59: 39-45.

Clarke, R.J. and R. Macrae. 1985. Coffee. Vol. 1: Chemistry. 1st ed. Elsevier Science Publishers, London. 306 p.

Clemente, J.M., H.E.P. Martinez, L.C. Alves, F.L. Finger and P.R. Cecon. 2015. Effect of nitrogen and potassium on the chemical composition of coffee beans and on beverage quality. Acta Scientiarum: Agronomy 37(3): 297-305.

Decazy, F., J. Avelino, B. Guyot, J.J. Perriot, C. Pineda and C. Cilas. 2006. Quality of different Honduran coffees in relation to several environments. Journal of Food Science 68: 2356-2361.

Ky, C.L., B. Guyot, J. Louarn, S. Hamon and M. Noirot. 2001. Trigonelline inheritance in the interspecific Coffea pseudozanguebariae x C. liberica var. dewevrei cross. Theoretical and Applied Genetics 102: 603-634.

Larcher, W. 2003. Physiological Plant Ecology: Ecophysiology and Stress Physiology of Functional Groups. 4th ed. Springer, New York. 513 p.

Mitchell, H.W. 1988. Cultivation and harvesting of the Arabica coffee tree, pp. 43-89 ln: R.J. Clarke and R. Macrae (eds.). Coffee. Elsevier Applied Science, London.

Sivetz, M. and H.E. Foote. 1963. Coffee Processing Technology. Vol 1: Fruit-Green, Roast and Soluble Coffee. The AVI Publishing Company, London. 598 p.

Varnam, H.A. and P.J. Sutherland. 1994. Beverage Technology Chemistry and Microbiology. Chapman & Hall, New York. 464 p.

Willson, K.C. 1985. Climate and Soil, Coffee Botany, Biochemistry and Production of Beans and Beverage. The AVI Publishing Company Inc., Connecticut. 457 p.