ผลของ GA3 NAA และสารคล้ายบราสซิน (BS) ต่อขนาดและน้ำหนัก ของผลเงาะพันธุ์โรงเรียน
Main Article Content
บทคัดย่อ
สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช (plant growth regulators, PGRs) นิยมนำมาใช้ทางการเกษตรโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มปริมาณและคุณภาพของไม้ผลหลายชนิด แต่ยังไม่มีการวิจัยในเงาะ งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์ศึกษาผลของ GA3 NAA และสารคล้ายบราสซิน (BS) ที่มีต่อขนาดและน้ำหนักของผลเงาะพันธุ์โรงเรียน โดยแบ่งออกเป็น 3 การทดลอง คือ 1) การใช้สาร GA3(0, 25, 50 และ 75 มก./ล.) 2) การใช้สาร NAA (0, 25, 50 และ 75 มก./ล.) และ 3) การใช้สาร BS (0, 0.5, 1.0 และ 1.5 มก. /ล.) ฉีดพ่นช่อผลเงาะอายุ 7-9 สัปดาห์ หลังดอกบาน บันทึกผลขนาดของผลเงาะโดยใช้มาตรฐานสินค้าเกษตร (มกษ.) กำหนดลำดับคุณภาพของผลเงาะ ผลการศึกษาพบว่า การใช้สาร GA3 ที่ระดับความเข้มข้น 75 มก./ล. ทำให้ผลเงาะมีน้ำหนักผลสด และน้ำหนักเนื้อผล มากกว่าการใช้สาร GA3 ที่ระดับความเข้มข้น 25 และ 50 มก./ล. นอกจากนี้พบว่า การใช้ GA3 ทั้ง 3 ระดับความเข้มข้นทำให้ความกว้างผล ความหนาเนื้อ ความยาวเมล็ด และน้ำหนักเมล็ดมากกว่ากรรมวิธีที่ไม่ใช้สาร แต่ไม่พบความแตกต่างระหว่างอัตราของ GA3 การใช้สาร NAA ที่ระดับความเข้มข้น 25 มก./ล. ทำให้ผลเงาะมีความหนาเนื้อมากกว่าการใช้ NAA ระดับความเข้มข้น 50 และ 75 มก./ล. อย่างไรก็ตาม การใช้ GA3 และ NAA ทั้ง 3 ระดับความเข้มข้นไม่ทำให้ผลเงาะถูกจัดอยู่ในลำดับคุณภาพที่ 1 ได้ โดยอยู่ในชั้นคุณภาพลำดับเดียวกับกรรมวิธีที่ไม่ใช้สาร การใช้สาร BS ทั้ง 3 ระดับความเข้มข้น ทำให้ผลเงาะมีความกว้างผล ความยาวเมล็ด ความหนาเนื้อผล ความหนาเปลือก น้ำหนักผลสด น้ำหนักเนื้อผล และน้ำหนักเปลือก มากกว่าการไม่ใช้สาร BS แต่ไม่พบความแตกต่างทางสถิติระหว่างอัตราของ BS อย่างไรก็ตาม การใช้สาร BS ทั้ง 3 ระดับความเข้มข้นไม่ทำให้ขนาดและน้ำหนักของผลเงาะด้านดังกล่าวแตกต่างกัน และพบว่าการใช้สาร BS ทั้ง 3 ระดับความเข้มข้นทำให้ผลเงาะถูกจัดอยู่ในลำดับคุณภาพที่ 1 ในขณะที่กรรมวิธีที่ไม่ได้ใช้สารทำให้ผลเงาะถูกจัดอยู่ในลำดับคุณภาพที่ 2 นอกจากนี้พบว่า สาร BS มีประสิทธิภาพในการเพิ่มความยาวผล น้ำหนักผล และน้ำหนักเนื้อผลของผลเงาะได้มากกว่าสาร GA3 และสาร NAA
Article Details
References
ชรัสนันท์ ตาชม. 2548. ผลของบราสิโนสเตียรอยด์ จิบเบอเรลลินและออกซิน ต่อการเจริญเติบโตของผลลำไย. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 157 หน้า.
นฤมล มานิพพาน. 2549. การปลูกและการขยายพันธุ์เงาะ ไม้ผลเศรษฐกิจสร้างรายได้ ทางเลือกธุรกิจที่น่าสนใจในการลงทุน. สำนักพิมพ์เพชรกะรัต จำกัด, กรุงเทพฯ. 72 หน้า.
ปิยะณัฎฐ์ ผกามาศ และอนงค์ภัทร เหมลา. 2558. ผลของ NAA IBA และชนิดของกิ่งต่อการออกรากของกิ่งปักชำสบู่ดำ. วารสารเกษตร 31(3): 251-258.
มานี เตื้อสกุล. 2550. สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช. คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา, สงขลา. 252 หน้า.
รัฐพล ฉัตรบรรยงค์ สุรศักดิ์ นิลนนท์ และวาสินี ศิริโภค. 2553. การตอบสนองของผลองุ่นพันธุ์ Marroo Seedless ต่อการฉีดพ่น GA3. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 41(3/1): 421-424.
ลิลลี่ กาวีต๊ะ มาลี ณ นคร ศรีสม สุวรรณวงศ์ สุรียา ตันติวิวัฒน์ และณรงค์ วงศ์กันทรากร. 2556. สรีรวิทยาของพืช. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 273 หน้า.
สมบุญ เตชะภิญญาวัฒน์. 2544. สรีรวิทยาของพืช. คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 237 หน้า.
สมพร ณ นคร นพ ศักดิเศรษฐ์ และ ชัยพร เฉลิมพักตร์. 2550. ผลของการใช้สาร NAA และ GA3 ที่ระดับความเข้มข้นที่แตกต่างกันต่อการพัฒนาและการเจริญเติบโตของผลมังคุด. รายงานผลการวิจัย. คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย, สงขลา. 31 หน้า.
สัมฤทธิ์ เศรษฐวงศ์. 2549. ฮอร์โมนและการใช้ฮอร์โมนกับไม้ผล. อักษรสยามการพิมพ์, กรุงเทพฯ. 144 หน้า.
สุชาติ จันทร์เหลือง ปัทมา นามวงศ์ จารุวรรณ ทองใบ เฉลิมชล ช่างถม สุดารัตน์ เพ็ชรภิรมย์ และฐิติมา วัฒนศาสตร์. 2557. เทคนิคการผลิตเงาะนอกฤดู. เอกสารวิชาการ. สำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี, จันทบุรี. 32 หน้า.
อุบลวรรณ รัตนทิพยาภรณ์ และธนะชัย พันธ์เกษมสุข. 2555. ผลของสารคล้ายบราสซินต่อคุณภาพผลของลำไยพันธุ์ดอ. วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร 29(2): 8-14.
Arteca, R.N. 1996. Plant growth substances: principles and application. Chapman and Hall Press, New York. 332 p.
Azpiruz, R., Y. Wu, J.C. Locascio and K.A. Feldmann. 1998. An arabidopsis brassinosteroid-dependent mutant is blocked in cell elongation. The Plant Cell 10: 219-230.
Bhat, S.K., B.L. Raina, S.K. Chogtuand and A.K. Muthoo. 1997. Effect of exogenous auxin application on fruit drop and cracking in litchi (Litchi chinensis Sonn.) cv. Dehradun. Advances in Plant Science 10(1): 83-86.
Biswas, B.S., K. Ghos and S. K. Mitra. 1998. Effect of growth substances on fruit weight size and quality of guava cv L-49. Indian Journal of Agricultural Sciences 32: 245-248.
Cleland, R.E. 1995. Auxin and cell elongation. pp. 214-227. In: P.J. Davies (ed.). Plant Hormones: Physiology, Biochemistry, and Molecular Biology. Kluwer Academic Publishers, Dordrecht.
Drinnan, J. and M. Trayner. 2010. Boosting Rambutan Productivity Through Improvements in Fruit Set. Barton, A.C.T. 33 p.
Katsumi, M. and K. Ishida. 1991. The Gibberellin control of cell elongation. pp. 211-219. In: N. Takahashi, B.O. Phinney and J. MacMillan (eds.). Gibberellins. Springer-Verlag, New York.
Kazama, H. and M. Katsumi. 1983. Gibberellin-induced changes in the water absorption, osmotic potential and starch content of cucumber hypocotyls. Plant and Cell Physiology 24: 1209-1216.
Mandava, N.B. 1988. Plant growth-promoting brassinosteroids. Plant Physiology 39: 23-52.
Mita, T. and M. Katsumi. 1986. Gibberellin control of microtubule arrangement in the mesocotyl epidermal cells of d5 mutant of Zea mays L. Plant and Cell Physiology 27: 651-659.
Nakajima, N., A. Shida and S. Toyama. 1996. Effect of brassinosteroid on cell division and colony formation of Chinese cabbage mesophyll protoplasts. Japanese Journal of Crop Science 65: 114-118.
Sala, C. and F. Sala. 1985. Effects of brassinolide on cell division and enlargement in cultured carrot (Daucus carota L.) cells. Plant Cell Reports 4(3): 144-147.
Son, L. 2004. Effects of hand and chemical thinning on fruit size and quality of 'Priana' and 'Beliana' apricot (Prunus armeniaca) cultivars. New Zealand Journal of Crop and Horticultural Science 32: 331-335.
Takahashi, N., B.O. Phinney and J. MacMillan. 1991. Gibberellins. Springer-Verlag, New York. 426 p.
Wang, T.W., D.J. Cosgrove and R.N. Arteca. 1993. Brassinosteroid stimulation of hypocotyls elongation and wall relaxtion in pakchoi (Brassica chinensis cv. Lei-choi). Plant Physiology 101: 965-968.
Zurek, D.M. and S.D. Clouse. 1994. Molecular cloning and characterization of a brassinosteroid regulated gene from elongation soybean (Glycine max L.) epicotyls. Plant Physiology 104: 161-170.