วิธีการทำให้เซลล์แตกเพื่อการสกัดน้ำมันจากสาหร่ายขนาดเล็ก

Main Article Content

ผกามาศ ชิดเชื้อ
ปติรุจ จิรกาลวงศ์
อรอุมา ตนะดุลย์

บทคัดย่อ

ทดสอบประสิทธิภาพวิธีทำให้เซลล์สาหร่ายแตกด้วยวิธีแบบขั้นตอนเดียว ได้แก่ bead vortexing (B), microwave (M) และวิธีการ ultrasonic (U) และทำให้เซลล์แตกแบบสองขั้นตอน ได้แก่ microwave และ bead vortexing (MB), microwave และ ultrasonic (MU) และวิธีการ ultrasonic และ bead vortexing (UB) โดยใช้สารสกัดที่เป็นส่วนผสมของคลอโรฟอร์มและเมทานอล (2:1) ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าสายพันธุ์สาหร่าย วิธีการทำให้เซลล์แตก และปฏิสัมพันธ์ของสายพันธุ์สาหร่ายและวิธีทำให้เซลล์แตกมีผลต่อปริมาณของน้ำมันที่สกัดได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95% ปริมาณน้ำมันที่ได้จากสาหร่ายไอโซเลท A มีค่าเท่ากับ 9.35, 8.32, 8.09, 8.93, 8.04 และ 7.90% ขณะที่สาหร่ายไอโซเลท B ให้ปริมาณน้ำมันเท่ากับ 6.45, 9.00, 8.65, 7.22, 8.08 และ 5.81% เมื่อใช้วิธีการ B, M, U, MB, MU และวิธี UB ตามลำดับ จากการศึกษาแสดงให้เห็นว่าการทำให้เซลล์แตกแบบขั้นตอนเดียวให้ปริมาณน้ำมันสูงกว่าการทำให้เซลล์แตกแบบสองขั้นตอนจากสาหร่ายทั้งสองไอโซเลท การทำให้เซลล์แตกด้วยวิธีเม็ดบีด (B) เป็นวิธีการที่เหมาะสมแก่การนำไปใช้สกัดน้ำมันจากสาหร่ายไอโซเลท A เพื่อให้ได้ปริมาณน้ำมันสูงและประหยัดเวลาในการสกัด อย่างไรก็ตาม การใช้ไมโครเวฟเป็นวิธีที่เหมาะสมกับสาหร่ายไอโซเลท B เพราะนอกจากให้น้ำมันสูงและยังเป็นวิธีการที่ง่าย สะดวก รวดเร็วและปลอดภัย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

มนัสนันท์ นพรัตน์ไมตรี อณัญญา ปานทอง และวรางคณา กิจพิพิธ. 2558. ผลของการเสริมสาหร่าย Schizochytrium sp. ในอาหารไก่ไข่ ต่อการย่อยได้ปรากฏของโภชนะ สมรรถภาพการผลิ ต และคุณภาพของไข่ไก่. วารสารเกษตร 31(2): 107-120.

รัตนภรณ์ ลีสิงห์. 2555. การคัดเลือกสาหร่ายสีเขียวขนาดเล็กที่ผลิตลิปิดสูงจากตัวอย่างน้ำจืดในพื้นที่เขื่อนสิรินธรจังหวัดอุบลราชธานี. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น. 44 หน้า.

สรวิศ เผ่าทองศุข. 2543. สาหร่าย: ศักยภาพการวิจัยและพัฒนาเพื่อการใช้ประโยชน์จากสาหร่ายในประเทศไทย. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ. 356 หน้า.

Chisti, Y. 2007. Biodiesel from microalgae. Biotechnol. Adv. 25(3): 294-306.

Harris, E.H. 1989. The Chlamydomonas Sourcebook: A Comprehensive Guide to Biology and Laboratory Use. Academic Press, San Diego, 780 p.

Lee, J.Y., C. Yoo, S.Y. Jun, C.Y. Ahn and H.M. Oh. 2010. Comparison of several methods for effective lipid extraction from microalgae. Bioresource Technol. 101(1): S75-S77.

Mahesar, S.A., S.T.H. Sherazi, K. Abro, A. Kandhro, M.I. Bhanger, F.R. van de Voort and J. Sedman. 2008. Application of microwave heating for the fast extraction of fat content from the poultry feeds. Talanta 75(5): 1240-1244.

Prabakaran, P. and A.D. Ravindran. 2011. A comparative study on effective cell disruption methods for lipid extraction from microalgae. Letters in Applied Microbiology 53(2): 150-154.

Ranjith Kumar, R., P. Hanumantha Rao and M. Arumugam. 2015. Lipid extraction methods from microalgae: a comprehensive review. Front. Energy Res. 2(61): doi: 10.3389/fenrg. 2014. 00061.

Scragg, A.H., J. Morrison and S.W. Shales. 2003. The use of a fuel containing Chlorella vulgaris in a diesel engine. Enzyme Microb. Technol. 33(7): 884-889.

Sheehan, J., T. Dunahay, J. Bebemann and P. Roessler. 1998. A Look Back at the U.S. Department of Energy’s Aquatic Species Program: Biodiesel from Algae. National Renewable Energy Laboratory, Golden, Colorado.

Tanadul, O., J.S. VanderGheynst, D.M. Beckles, A.L.T. Powell and J.M. Labavitch. 2014. The impact of elevated CO2 concentration on the quality of algal starch as a potential biofuel feedstock. Biotechnol. Bioeng. 111(7): 1323-1331.

Virot, M., V. Tomao, C. Ginies, F. Visinoni and F. Chemat. 2008. Microwave–integrated extraction of total fats and oils. Journal of Chromatography A 1196-1197: 57-64.