ศักยภาพการเป็นปฏิปักษ์ของเชื้อแอกติโนไมซีสต์เอนโดไฟต์ที่แยกจากข้าว ในการควบคุมโรคไหม้ของต้นกล้าข้าว

Main Article Content

ณปภพ แก้วกันทา
เกวลิน คุณาศักดากุล

บทคัดย่อ

จากการแยกเชื้อแอกติโนไมซีสต์เอนโดไฟต์จากข้าว (Oryza sativa L.) บนอาหาร inhibitory mold agar 2 (IMA-2) สามารถแยกเชื้อได้ทั้งหมด 174 ไอโซเลท แบ่งกลุ่มไอโซเลทตามระยะเวลาในการเริ่มสร้าง aerial mycelium และการเจริญเต็มจานอาหาร และคัดเลือกไอโซเลทที่มีการเริ่มสร้าง aerial mycelium ภายใน 1 วัน และเจริญเต็มจานอาหาร ภายใน 3 วัน จำนวน 10 ไอโซเลท มาทดสอบประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญของเชื้อรา Pyricularia grisea  สาเหตุโรคไหม้ของข้าว ด้วยวิธีการ dual culture พบว่า ไอโซเลท ORR107 และ ORR719 มีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญของเชื้อราสาเหตุโรคได้สูงที่สุดไม่แตกต่างกันทางสถิติ โดยมีเปอร์เซ็นต์การยับยั้งเท่ากับ 78.35 และ 74.17 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ รองลงมาคือ ไอโซเลท ORP119, ORR721, ORS110, ORR175, ORR728, ORR737, ORR162 และ ORP123 โดยมีเปอร์เซ็นต์การยับยั้งเท่ากับ 70.00, 69.17, 65.00, 61.67, 60.00, 55.84, 50.00 และ 48.33 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ด้วยเหตุนี้ ไอโซเลท ORR107 และ ORR719 จึงถูกนำมาใช้ในการควบคุมโรคไหม้ของข้าวในต้นกล้าข้าว ด้วยวิธีการแช่เมล็ดข้าวในสปอร์แขวนลอยของแต่ละไอโซเลท ที่ความเข้มข้น 1 x 109 เซลล์ต่อมิลลิลิตร เป็นเวลา 1 วัน เมื่อต้นกล้าข้าวอายุ 14 วัน ทำการปลูกเชื้อราสาเหตุโรค จากนั้นประเมินความรุนแรงในการเกิดโรคหลังจากบ่มเชื้อ เป็นเวลา 7 วัน พบว่า ไอโซเลท ORR719 และ ORR107 มีประสิทธิภาพในการควบคุมโรคไหม้ของข้าวได้ดีที่สุด มีค่าเฉลี่ยระดับความรุนแรงในการเกิดโรคเท่ากับ 1.20 และ 1.47 ตามลำดับ แตกต่างจากชุดควบคุมที่ปลูกเชื้อราสาเหตุโรคเพียงอย่างเดียว ที่มีค่าเฉลี่ยระดับความรุนแรงในการเกิดโรคเท่ากับ 4.73 นอกจากนี้การทดสอบความสามารถในการเข้าอาศัยในเนื้อเยื่อต้นกล้าข้าว โดยวิธีการแช่เมล็ด และแยกเชื้อกลับที่ระยะเวลา 1, 3, 5, 7 และ 14 วัน หลังการออกปลูก พบว่า ทั้งสองไอโซเลทสามารถเข้าอยู่อาศัยในเนื้อเยื่อต้นกล้าข้าวได้ทั้งในส่วนของใบ ราก และเปลือกเมล็ดข้าว โดยมีเปอร์เซ็นต์การแยกเชื้อกลับอยู่ในช่วง 40-90 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนั้น ไอโซเลท ORR107 สามารถเพิ่มปริมาณในปริมาณที่เพิ่มมากขึ้นตามระยะเวลาหลังการปลูกเชื้อ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชัชวาล จันทราสุริยารัตน์ และ สุรีพร เกตุงาม. 2552. โรคไหม้ใน ข้าวและสถานการณ์ปัจจุบันของงานวิจัยด้านยีนต้านทาน โรคไหม้ในข้าว. แก่นเกษตร 37: 69-78.

ชัยพร ขัดสงคราม และ เกวลิน คุณาศักดากุล. 2556. ประสิทธิภาพของเชื้อแอกติโนไมซีสต์เอนโดไฟต์จากพืชวงศ์ลำไยในการควบคุมโรคผลเน่าของลำไย. วารสารเกษตร 29(3): 239-248.

นวรัตน์ ใจหอม และนงลักษณ์ เภรินทวงค์. 2557. เอกสารประกอบการประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 52 สาขาพืช. การประเมินความหลากหลายและการจัดกลุ่มความรุนแรงของเชื้อราสาเหตุโรคไหม้ข้าวที่เก็บรวบรวมในประเทศไทย. มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 8 หน้า.

ปิลันธนา ฐาปนพงษ์วรกุล และ ศราวิชญ์ สายมงคล. 2558. ประสิทธิภาพของเชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์ Bacillus megaterium สายพันธุ์ No.16 ในการควบคุมโรคกาบใบแห้งของข้าวพันธุ์ กข6. วารสารเกษตร 31(3): 301-310.

ศิริมาศ ชัยชม และ เกวลิน คุณาศักดากุล. 2557. การใช้เชื้อแอกติโนไมซีสต์เอนโดไฟต์ชักนำให้เกิดความต้านทานโรคทางใบของสตรอว์เบอร์รีด้วยเทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ. วารสารเกษตร 30(2): 141-150.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2558. เศรษฐกิจการเกษตรรายสินค้า ปี 2558. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.oae.go.th/ economiccon. html (25 ตุลาคม 2559).

Araujo, J.M. de, A.C. da Silva and J.L. Azevedo. 2000. Isolation of endophytic actinomycetes from roots and leaves of maize (Zea mays L.). Brazilian Archives of Biology and Technology 43: 447- 451.

Chater K.F. 2006. Streptomyces inside-out: a new perspective on the bacteria that provide us with antibiotics. Philosophical Transactions of the Royal Society of London, Series B, Biological Science 361(1469): 761-768.

Franco, C. 2002. The role of actinomycetes in plant growth and development. (Online). Available: http://www.bio.flinders.edu.au/ biotech/staff/cmmf_res.htm. (September 29, 2016).

Lahdenpera, M.L. 2000. How Mycostop® acts in the control of fungal plant diseases. Info letter (Online). Available: http://www.yankeegrower. uconn.edu/2002.doc.pdf (September 29, 2016).

Meguro, A., S. Hasegawa, M. Shimizu, T. Nishimura and H. Kunoh. 2004. Induction of disease resistance in tissue-cultured seedlings of mountain laurel after treatment with Streptomyces padanus AOK-30. Actinomycetologica 18(2): 48-53.

Ou, S.H. 1985. Rice Disease. Commonwealth Mycological Institute, Kew, Surrey, UK. 380 p.

Qin, S., K. Xing, J. H. Jiang. L. H. Xu and W. J. Li. 2011. Biodiversity, bioactive natural products and biotechnological potential of plant-associated endophytic actinobacteria. Applied Microbiology and Biotechnology 89(3): 457-473.

Roumen E., M. Levy and J.L. Notteghem. 1997. Characterisation of the European pathogen population of Magnaporthe grisea by DNA fingerprinting and pathotype analysis. European Journal of Plant Pathology 103(4): 363-371.

Sardi, P., M. Saracchi, S. Quaroni, B. Petrolini, G. E. Borgonovi and S. Merli. 1992. Isolation of endophytic Streptomyces strains from surface-steriled roots. Applied and Environmental Microbiology 58(8): 2691-2693.

Shimizu, M., Y. Nakagawa, Y. Sato, T. Furumai,Y. Igarashi, H. Onaka, R. Yoshida and H. Kunoh. 2000. Studies on endophytic actinomycetes (I) Streptomyces sp. isolated from rhododendron and its antifungal activity. Journal of General Plant Pathology 66(4): 360-366.

Zarandi, M.E., G.H. S. Bonjar, F.P. Dehkaei, S.A.A. Moosavi, P.R. Farokhi and S. Aghighi. 2009. Biological control of rice blast (Magnaporthe oryzae) by use of Streptomyces sindeneusis isolate 263 in greenhouse. American Journal of Applied Sciences 6(1): 194-199.