ผลของการใช้ปุ๋ยละลายช้าต่อการเจริญเติบโต ผลผลิต และคุณภาพเมล็ดพันธุ์ ของข้าวโพดอาหารสัตว์ ในพื้นที่จังหวัดตาก

Main Article Content

ชูชาติ สันธทรัพย์
กนกวรรณ นพพรรณ

บทคัดย่อ

การศึกษาผลของการใช้ปุ๋ยละลายช้าต่อการเจริญเติบโต ผลผลิต และคุณภาพของเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดอาหารสัตว์ ได้ดำเนินการทดลองในพื้นที่ปลูกข้าวโพด อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก ในระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2554 ถึงเดือนเมษายน 2555 โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ในบล็อก (RCBD) จำนวน 4 ซ้ำ และ 6 กรรมวิธีทดลอง ซึ่งประกอบไปด้วยอัตราการใส่ปุ๋ย (1) ปุ๋ยละลายช้า 75 กก./ไร่ (2) ปุ๋ยละลายช้า 100 กก./ไร่ (3) ปุ๋ยละลายช้าร่วมกับปุ๋ยเคมีธรรมดา 75 กก./ไร่ (4) ปุ๋ยละลายช้าร่วมกับปุ๋ยเคมีธรรมดา 100 กก./ไร่ (5) ปุ๋ยเคมีธรรมดา 100 กก./ไร่ และ (6) ไม่ใส่ปุ๋ยเป็นกรรมวิธีควบคุม ผลการศึกษาพบว่า การใช้ปุ๋ยละลายช้าทุกกรรมวิธีไม่ได้ทำให้ความสูงของต้นข้าวโพด แตกต่างกับการใช้ปุ๋ยเคมีธรรมดาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่อย่างไรก็ตามการใส่ปุ๋ยละลายช้าตามกรรมวิธีที่ 1 ในอัตรา 75 กก./ไร่ (ใส่ 2 ครั้ง รองพื้นด้วย 13-10-20, 25 กก./ไร่ และที่ระยะ 30 วันหลังปลูกด้วย 25-15-0, 50 กก./ไร่) ช่วยเพิ่มผลผลิตได้มากกว่าการใส่ปุ๋ยเคมีธรรมดา (20-10-10) ในอัตรา 100 กก./ไร่ (รองพื้น 50 กก. ที่ระยะ 20 วันหลังปลูก 25 กก. และ ที่ระยะ 40 วันหลังปลูก 25 กก.) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และการใส่ปุ๋ยละลายช้าทั้ง 4 กรรมวิธี ไม่ทำให้คุณภาพของเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดอาหารสัตว์ (น้ำหนัก 100 เมล็ด อัตราการงอก และดัชนีการงอก) ต่างจากการใส่ปุ๋ยเคมีธรรมดาที่อัตรา 100 กก./ไร่ ซึ่งจากการศึกษาชี้ให้เห็นว่าการใช้ปุ๋ยละลายช้าเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง สำหรับเกษตรกรที่ปลูกข้าวโพดเมล็ดพันธุ์อาหารสัตว์ในพื้นที่จังหวัดตาก เนื่องจากข้อได้เปรียบทางด้านคุณสมบัติของปุ๋ยละลายช้า ทำให้ลดปริมาณการใช้ปุ๋ย และลดจำนวนครั้งในการใส่ปุ๋ย ซึ่งเป็นการลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในการผลิต

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกวรรณ นพพันธ์ และ ชูชาติ สันธทรัพย์. 2559. การจัดการปุ๋ยที่เหมาะสมสำหรับการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดอาหารสัตว์ในพื้นที่จังหวัดตาก. วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร 33(1): 10-19.

จารุวรรณ วรรณประเสริฐ ศุภชัย อำคา และ ธงชัย มาลา. 2556. ผลของปุ๋ยไนโตรเจนละลายช้าและปุ๋ยเคลือบสารยับยั้งกระบวนการไนตริฟิเคชันต่อการเจริญเติบโตของพริกหวาน และไนโตรเจนอนินทรีย์ในชุดดินกำแพงแสน. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2(2): 46-63.

ชูชาติ สันธทรัพย์. 2554. การจัดการปุ๋ยที่เหมาะสมสำหรับการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดอาหารสัตว์ในพื้นที่ภาคเหนือ. รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์. คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัย เชียงใหม่, เชียงใหม่ 58 หน้า.

ไชยา บุญเลิศ ศุภชัย อำคา และ ธงชัย มาลา. 2554. ผลของปุ๋ยละลายช้าต่อการเจริญเติบโตของหน่อไม้ฝรั่ง (Asparagus officinalis L.). วิทยาสารกำแพงแสน 9(2): 37-52.

ธงชัย มาลา อรรถศิษฐ์ วงศ์มณีโรจน์ ศุภชัย อำคา และ สิรินภา ช่วงโอภาส. 2554. ผลของปุ๋ยไนโตรเจนจากปุ๋ยละลายช้าและไนตริฟิเคชันอินฮิบิเตอร์ต่อการเจริญเติบโตของกล้าพืช. รายงานวิจัย. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

เนาวรัตน์ ศิวะศิลป. 2527. การปฏิบัติการวิเคราะห์ดินและพืช. ภาควิชาปฐพีศาสตร์และอนุรักษ์ศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัย เชียงใหม่, เชียงใหม่. 138 หน้า.

วันชัย จันทร์ประเสริฐ. 2542. เทคโนโลยีเมล็ดพันธุ์พืชไร่. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 275 หน้า.

สมปอง ลิ่มพงศ์พันธุ์ วิทยา ชมพูพวง เจษฎา ชูบำรุง และ ดุสิต จิตตนูนท์. 2553. ผลการใช้ปุ๋ยเคลือบสารยับยั้งไนตริฟิเคชันในการปลูกข้าวโพด. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 41(3/1)(พิเศษ): 341-344.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2558. ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี 2558. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.oae.go.th/download/prcai/DryCrop/amphoe/maize-amphoe56.pdf (21 มีนาคม 2560).

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2559. ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี 2559. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.oae.go.th/download/prcai/DryCrop/amphoe/maize-amphoe57.pdf (21 มีนาคม 2560).

AOSA. 2002. Seed Vigor Testing Handbook. Association of Official Seed Analysts, Lincoln, NE.

Beegle, D., W. Piekielek, D. Lingenfelter and R. Fox. 2008. The Early Season Chlorophyll Meter Test for Corn. Agronomy Facts 53. Penn State Extension, College of Agricultural Sciences, The Pennsylvania State University, PA. 8 p.

Cartagena, M.C., A. Vallejo, J.A. Diez, A. Bustos, R. Caballero and R. Roman. 1995. Effect of the type of fertilizer and source of irrigation water on N use in a maize crop. Field Crops Research 44: 33-39.

Fernandez-Escobar, R., M. Benlloch, E. Herrera and J.M. Garcia-Novelo. 2004. Effect of traditional and slow-release N fertilizers on growth of olive nursery plants and N losses by leaching. Scientia Horticulturae 101: 39-49.

ISTA. 1999. International Rules for Seed Testing: rules. 1999. International Seed Testing Association, Zurich. 333 p.

Kalra, Y.P. 1998. Handbook of Reference Methods for Plant Analysis. CRC Press, Boca Raton, FL. 287 p.

Noellsch, A.J., P.P. Motavalli, K.A. Nelson and N.R. Kitchen. 2009. Corn response to conventional and slow-release nitrogen fertilizers across a claypan landscape. Agronomy Journal 101: 607-614.

Novozamsky, I., R. van Eck, J.C. van Schouwenburg and I. Walinga. 1974. Total nitrogen determination in plant material by means of the indophenol-blue method. Netherlands Journal of Agricultural Science 22: 3-5.

Trenkel, M.E. 2010. Slow- and Controlled-Release and Stabilized Fertilizers: An Option for Enhancing Nutrient Use Efficiency in Agriculture. International Fertilizer Industry Association (IFA), Paris, France. 160 p.

Zekri, M. and R.C.J. Koo. 1992. Use of controlled-release fertilizers for young citrus trees. Scientia Horticulturae 49: 233-241.