พฤติกรรมการใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชในการผลิตมะเขือเทศ ของเกษตรกรในจังหวัดสกลนคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
มะเขือเทศจัดเป็นพืชผักเศรษฐกิจที่สำคัญชนิดหนึ่งที่นิยมปลูกกันอย่างแพร่หลาย จังหวัดสกลนครมีพื้นที่ปลูกมะเขือเทศมากที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แต่ในขณะเดียวกันในการผลิตมะเขือเทศนั้นมีโรคและแมลงรบกวนเป็นจำนวนมาก ทำให้เกษตรกรจำเป็นต้องใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชในปริมาณมากตามไปด้วยการวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลกับพฤติกรรมการใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรผู้ปลูกมะเขือเทศในจังหวัดสกลนคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ เกษตรกรผู้ปลูกมะเขือเทศในจังหวัดสกลนครจำนวน 186 ราย โดยใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา และทดสอบสมมติฐานโดยใช้การวิเคราะห์ถดถอยพหุแบบขั้นตอน ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ การมีส่วนร่วมในกิจกรรมและการเข้าร่วมฝึกอบรมทางการเกษตร (เชิงบวก) และพื้นที่ปลูกมะเขือเทศ (เชิงลบ) และปัจจัยที่มีอิทธิพลกับพฤติกรรมการใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 คือ จำนวนรุ่นที่ปลูกมะเขือเทศ (เชิงบวก) ข้อเสนอแนะจากการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรมีการจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการทางการเกษตรและเปิดโอกาสให้เกษตรกรเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมดังกล่าวให้ทั่วถึง มีการลงพื้นที่เยี่ยมเยียนเกษตรกร โดยเน้นไปที่เกษตรกรที่มีพื้นที่ปลูกมะเขือเทศจำนวนมาก และเกษตรกรที่ปลูกมะเขือเทศหลายรุ่นในรอบปี
Article Details
References
กรมส่งเสริมการเกษตร. 2553. พัฒนาการงานส่งเสริมการเกษตรของประเทศไทย. กองวิจัยและพัฒนางานส่งเสริมการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร, กรุงเทพฯ. 52 หน้า.
กัลยา วานิชย์บัญชา. 2553. สถิติสำหรับงานวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 5. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ. 317 หน้า.
นภาพร ทางทิศ และวรทัศน์ อินทรัคคัมพร. 2558. ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาโครงการหลวง. วารสารเกษตร 31(1): 59-68
บุญชม ศรีสะอาด. 2545. การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. สุวีริยาสาส์น, กรุงเทพฯ. 171 หน้า.
บุบผา อนันต์สุชาติกุล. ม.ป.ป. สถิติเบื้องต้นทางการศึกษา. ภาควิชาประเมินผลและวิจัยทาง การศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย เชียงใหม่, เชียงใหม่.
สมาคมอารักขาพืชไทย. 2552. การใช้สารป้องกันศัตรูพืชอย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ. สมาคมอารักขาพืชไทย, กรุงเทพฯ. 38 หน้า.
สำนักงานเกษตรจังหวัดสกลนคร. 2557. รายงานข้อมูลภาวะการผลิตพืช แบบรายปี กลุ่มพืชผัก ชนิดพืชมะเขือเทศโรงงาน ประจำปี 2557. สำนักงานเกษตรจังหวัดสกลนคร, สกลนคร
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2556. สถิติการเกษตรของประเทศไทย. สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร, กรุงเทพฯ. 174 หน้า.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสกลนคร. 2556. ผลการตรวจเลือดเกษตรกรกลุ่มเสี่ยงโดยตรวจหาระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรส. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสกลนคร, สกลนคร.
สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 3 จังหวัดขอนแก่น. 2555. สถานการณ์สารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในผักและผลไม้ในระบบการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืช (GAP) ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน. สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 3 จังหวัดขอนแก่น, ขอนแก่น
สุวรรณา ประณีตวตกุล และอัจฉรี ศัสตรศาสตร์. 2543. ทางเลือกการลดการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช: กรณีศึกษาโรงเรียนเกษตรกร. เอกสารการประชุมทางวิชาการครั้งที่ 38 สาขาเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
อรสา ดิสถาพร. 2540. การปลูกมะเขือเทศ. กรมส่งเสริมการเกษตร, กรุงเทพฯ.26 หน้า.
อุดร ชมาฤกษ์. 2551. พฤติกรรมการใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพริก: กรณีศึกษาเกษตรกรอำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี. [วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ฉบับที่ 2: 311-321] วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตร มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, อุบลราชธานี.
Yamane, T. 1967. Elementary Sampling Theory. Prentice Hall, Michigan. 405 p.