ความหลากชนิดของแมลงศัตรูข้าวและศัตรูธรรมชาติในนาข้าวอินทรีย์

Main Article Content

วิชัย สรพงษ์ไพศาล
สมชาย ธนสินชยกุล
วงค์พันธ์ พรหมวงค์
ฉัตรมณี วุฒิสาร
ภราดร ดอกจันทร์

บทคัดย่อ

การควบคุมโดยธรรมชาติมีบทบาทสำคัญในการควบคุมศัตรูข้าวในการผลิตข้าวแบบอินทรีย์ซึ่งต้องเกี่ยวข้องกับทั้งศัตรูพืชและศัตรูธรรมชาติ การศึกษาความหลากชนิดของทั้งแมลงศัตรูข้าวและศัตรูธรรมชาติในพื้นที่นาข้าวอินทรีย์ของศูนย์วิจัยและพัฒนากีฏวิทยาสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงพฤษภาคม พ.ศ. 2552 ใช้แผนการสุ่มแบบสุ่มธรรมดา และดำเนินการสุ่มโดยใช้สวิงโฉบจำนวน 10 ครั้ง/จุด จำนวน 3 จุด ทุก ๆ 14 วันตั้งแต่ระยะปลูกจนถึงเก็บเกี่ยว ทำการจำแนกชนิดของแมลงและศัตรูธรรมชาติที่พบ วิเคราะห์ความหลากชนิด และความสัมพันธ์ของจำนวนชนิดแมลงศัตรูข้าวกับปัจจัยทางชีวภาพ คือ จำนวนชนิดของศัตรูธรรมชาติ และปัจจัยทางกายภาพ คือ อุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ และปริมาณฝน ผลการศึกษา พบแมลงและแมงมุมจำนวน 52 ชนิด จำแนกได้เป็นแมลงศัตรูข้าว จำนวน 20 ชนิด แมลงศัตรูธรรมชาติ จำนวน 25 ชนิด และแมงมุมศัตรูธรรมชาติ จำนวน 7 ชนิด และพบว่าต้นข้าวในช่วงการสร้างเมล็ด (อายุ 56 วัน) มีความหลากชนิดของแมลงและแมงมุมมากที่สุด จำนวน 46 ชนิด และต้นข้าวในระยะกล้า (อายุ 14 วัน) มีความหลากชนิดของแมลงและแมงมุมน้อยที่สุด จำนวน 22 ชนิด ความหลากชนิดและการกระจายตัวของชนิดของแมลงศัตรูข้าวมีค่าดัชนีเท่ากับ 2.28 และ 0.76 ตามลำดับ ในขณะที่ศัตรูธรรมชาติมีค่าเท่ากับ 2.94 และ 0.85 ตามลำดับ โดยจำนวนชนิดของแมลงและแมงมุมที่สำรวจ ไม่มีความสัมพันธ์กับปัจจัยทางกายภาพ คือ  อุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ และปริมาณฝน แต่มีความสัมพันธ์กับจำนวนชนิดของศัตรูธรรมชาติอย่างมีนัยสำคัญสูงถึงร้อยละ 88.5 (P value ≤ 0.05)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จุลมณี ไพฑูรย์เจริญลาภ. 2552. ข้าว: เทคโนโลยีการปลูกและการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว. เอกสารคู่มือนักส่งเสริมการเกษตร. พิมพ์ครั้งที่ 1. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย, กรุงเทพฯ. 179 หน้า.
พิทักษ์ เจริญผล. 2551. การป้องกันกำจัดศัตรูพืชแบบผสมผสาน. สำนักงานเกษตรอำเภอห้วยแถลง, นครราชสีมา,10 หน้า.
พิสุทธิ์ เอกอำนวย. 2551. โรคและแมลงของพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ. พิมพ์ครั้งที่ 2. บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), กรุงเทพฯ. 379 หน้า.
วิฑูรย์ ปัญญากุล. 2545. คู่มือการผลิต-การจัดการข้าวหอมมะลิอินทรีย์. มูลนิธิสายใยแผ่นดิน. กรุงเทพฯ. 95 หน้า.
วิภาดา วังศิลาบัตร. 2544. แมงมุมในสวนส้ม. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด, กรุงเทพฯ. 108 หน้า.
สมคิด ดิสถาพร. 2549. เกษตรอินทรีย์มาตรฐานสากลประเทศไทย. จามจุรีโปรดักท์, กรุงเทพฯ. 218 หน้า.
สุวัฒน์ รวยอารีย์. 2544. เรียนรู้การจัดการแมลงศัตรูข้าวโดยวิธีผสมผสาน. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด, กรุงเทพฯ. 262 หน้า.
สำนวน ฉิมพกา และวีรเทพ พงษ์ประเสริฐ. 2548. ปัจจัยที่มีผลต่อการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูข้าวของเกษตรกร อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร. วารสารเกษตรนเรศวร 8(1): 77-94.
Asahina, S. 1993. A List of Odonata from Thailand. Bosco Offset, Bangkok. 106 p.
Barrion, A. T. and J. A. Litsinger. 1995. Riceland Spiders of South and Southeast Asia. CAB International, Wallingford. 700 p.
Heong, K. L., G. B. Aquino and A. T. Barrion. 1991. Arthropod community structures of rice ecosystems in the Philippines. Bulletin of Entomological Research 81: 407-416.
Hutacharern C., N. Tubtim and C. Dokmai. 2007. Checklists of Insects and Mites in Thailand. 1st ed. Department of National Parks, Wildlife and Plant Conservation, Bangkok. 319 p.
Maloney, D., F. A. Drummond and R. Alford. 2003. Spider Predation in Agroecosystems: Can Spiders Effectively Control Pest Populations? .
MAFES Technical Bulletin 190. University of Maine, Orono. 32 p.
Ooi, P. A. C. and B. M. Shepard. 1994. Predators and parasitoids of rice insect pests. pp. 585-612. In: E. A. Heinrichs (ed.). Biology and Management of Rice insects. Wiley Eastern, New Delhi.
Pathak, M. D. and Z. R. Khan. 1994. Insect Pests of Rice. IRRI, Manila, Phillippines. 89 p.
Pedigo, L. P. 1996. Entomology and Pest management. 2nd ed. Prentice Hall, Englewood Cliffs. 697 p.