การพัฒนาผลิตภัณฑ์เจอร์กี้ไก่รสกะเพรา

Main Article Content

ศิริลดา ไกรลมสม

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการผลิตผลิตภัณฑ์เจอร์กี้ไก่รสกะเพราที่เป็นไปตามความต้องการของผู้บริโภค 2) ให้ทราบอุณหภูมิและเวลาที่เหมาะสมในการอบผลิตภัณฑ์เจอร์กี้ไก่รสกะเพรา 3) ศึกษาการเปลี่ยนแปลงคุณภาพของผลิตภัณฑ์เจอร์กี้ไก่รสกะเพราในระหว่างการเก็บรักษาเป็นระยะเวลา 28 วัน  4) ศึกษาการยอมรับของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์เจอร์กี้ไก่รสกะเพรา โดยพบว่าสูตรที่เหมาะสมในการผลิตผลิตภัณฑ์เจอร์กี้ไก่         รสกะเพรา คือการใช้เนื้ออกไก่เป็นส่วนผสมหลักในอัตราส่วนร้อยละ 100 และใช้ส่วนผสมอื่น ๆ ได้แก่ กะเพรา พริกจินดา กระเทียม ซอสปรุงรส น้ำปลา น้ำตาล น้ำ ผงเพรก โซเดียมอิริโทรเบท และผงชูรส ในอัตราส่วนร้อยละ 4.61, 7.73, 10.73, 1.10, 3.74, 4.27, 6.00, 0.20, 0.20 และ 0.20 ของส่วนผสมหลักตามลำดับ  การอบผลิตภัณฑ์ที่อุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 15 ชั่วโมงจะได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพที่ดีที่สุด โดยผลิตภัณฑ์มีค่าสัดส่วนเฉลี่ยของค่าสังเกตทางประสาทสัมผัสในด้าน สีน้ำตาล กลิ่นกะเพรา รสเค็ม ความเผ็ด ความเหนียว ความแข็ง และการยอมรับโดยรวม เท่ากับ 0.99 ± 0.13, 0.90± 0.25, 0.95 ± 0.18, 1.00 ± 0.09, 0.96 ± 0.13, 1.03 ± 0.16 และ 0.78± 0.03 ตามลำดับ การเปลี่ยนแปลงคุณภาพด้านต่าง ๆ ของผลิตภัณฑ์เจอร์กี้ไก่รสกะเพราในระหว่างการเก็บรักษาเป็นระยะเวลา 28 วัน พบว่าผลิตภัณฑ์มีคุณภาพทางกายภาพด้านปริมาณน้ำอิสระ และค่าแรงเฉือนที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P≤0.05) คุณภาพทางเคมี ด้านค่าไทโอบาร์บิทูริคแอซิดเพิ่มขึ้นเล็กน้อยแต่ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) คุณภาพทางด้านปริมาณจุลินทรีย์ทั้งหมด ปริมาณยีสต์และรา ไม่เกินมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน 297/2549 การทดสอบคุณภาพทางประสาทสัมผัสที่ได้จากผู้บริโภคจำนวน 100 คน อายุระหว่าง 15-45 ปี พบว่ามีคะแนนด้านสีน้ำตาล กลิ่นกะเพรา รสเค็ม ความเผ็ด ความเหนียว ความแข็ง และการยอมรับโดยรวมเท่ากับ 7.08 ± 0.87, 7.11 ± 0.69, 7.44 ± 0.89, 7.24 ± 0.81, 7.06 ± 0.90, 7.36 ± 0.92 และ 8.23 ± 0.62 คะแนน ตามลำดับ โดยผู้บริโภคให้การยอมรับอยู่ในระดับชอบปานกลางถึงชอบมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กองโภชนาการ กรมอนามัย. 2530. ตารางแสดงคุณค่าอาหารไทยในส่วนที่กินได้ 100 กรัม. กรมอนามัย, กรุงเทพฯ. 48 หน้า.

คมแข พิลาสมบัติ ศุภลักษณ์ สรภักดี และ รุจริน ลิ้มศุภ วานิช. 2558. โครงการการพัฒนาผลิตภัณฑ์เนื้อกึ่งแห้งพร้อมรับประทานจากเนื้อที่มีลักษณะเหนียวเพื่อเพิ่มมูลค่าและการนำไปใช้ประโยชน์. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สวก.), กรุงเทพฯ. 132 หน้า.

ประภาศรี เทพรักษา ตรัยรัตน์ แก้วสะอาด และ สุนทรีย์ สุวรรณสิชณน์. 2554. การพัฒนากระบวนการผลิตและยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์เนื้ออบแห้งปรุงรส. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 19(2): 40-50.

ไพโรจน์ วิริยจารีย์. 2547. การวางแผนและการวิเคราะห์ทางด้านประสาทสัมผัส. ภาควิชาเทคโนโลยีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 275 หน้า.

รุจริน ลิ้มศุภวานิช และ จุฑารัตน์ เศรษฐกุล. 2555. ผลิตภัณฑ์อาหารประเภทต่าง ๆ. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://extension. dld.go.th/th1 (10 กรกฏาคม 2558).

ลิขิต เอียดแก้ว. 2534. ธุรกิจไก่เนื้อ. พิมพ์ครั้งที่ 1. ฐานเกษตรกรรม, กรุงเทพฯ. 119 หน้า.

ศิริลดา ไกรลมสม. 2558. การพัฒนาผลิตภัณฑ์ไส้กรอกกะเพราไก่ลดไขมันโดยใช้แป้งบุกร่วมกับแซนแทนกัม. วารสารเกษตร 31(1): 77-87.

สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. 2549. มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนเนื้อแดดเดียว มผช.297/2549. สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน, กรุงเทพฯ. 5 หน้า.

สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. 2555ก. มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนกุนเชียงไก่ มผช.105/2555. สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน, กรุงเทพฯ. 5 หน้า.

สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. 2555ข. มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนกุนเชียงหมู มผช.103/2555. สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน, กรุงเทพฯ. 5 หน้า.

สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. 2555ค. มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนกุนเชียงปลา มผช.104/2555. สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน, กรุงเทพฯ. 5 หน้า.

เสาวลักษณ์ วงศ์มณี และสุนิษา นุชพิเรนทร์. 2553. การพัฒนาผลิตภัณฑ์เจอร์กี้รสลาบ. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัย ราชภัฏเทพสตรี, ลพบุรี. 112 หน้า.

Allen J.C. and R.J. Hamilton. 1994. Rancidity in Foods. Blackie Academic, London. 304 p.

AOAC. 2000. Official Methods of Analysis of AOAC International. 17th ed. Association of Official Analytical Chemists. Gaithersburg, Maryland.

Christensen, M., P.P. Purslow and L.M. Larsen. 2000. The effect of cooking temperature on mechanical properties of whole meat, single muscle fibres and perimysial connective tissue. Meat Science 55: 301-307.

FSIS. 2012. FSIS compliance guideline for meat and poultry jerky produce by small and very small establishment. USDA, Washington, D.C. 54 p.

Konieczny, P., J. Stangierski and J. Kijowski. 2007. Physical and chemical characteristics and acceptability of home style beef jerky. Meat Science 76: 253-257.

Labuza, T.P., G.A. Reineccius, J. Baynes and N. Monnier. 2008. The Maillard Reaction in Food, Nutrition and Health. Woodhead Publishing Limited, London. 455 p.

Pearson, D. 1976. The chemical analysis of food. Churchill living stine. London. England. 498 p.

Tanikawa, E. 1985. Marine Product in Japan. 2nd ed. Koseisha-Koseikaku, Co., Ltd., Tokyo. 533 p.