ความหลากหลายของจุลินทรีย์และนิเวศวิทยาในกระเพาะรูเมนของกระบือปลัก ที่ได้รับฟางข้าวหรือหญ้าขนสด

Main Article Content

สุริยะ สะวานนท์
สาธกา อินทะเวียง
ภูมพงศ์ บุญแสน
พริมา พิริยางกูร

บทคัดย่อ

การศึกษาความหลากหลาย และจำนวนประชากรของแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในกระเพาะรูเมนของกระบือปลักที่ได้รับฟางข้าวหรือหญ้าขนสด โดยการวิเคราะห์ลำดับเบสของยีน 16S rDNA โดยใช้กระบือปลักโตเต็มวัย เพศเมีย จำนวน 4 ตัว ที่เจาะกระเพาะรูเมน ทำการเก็บตัวอย่างจากกระเพาะรูเมนเพื่อนำมาสกัด DNA ของแบคทีเรียและนำไปวิเคราะห์ความหลากหลายของแบคทีเรียโดยใช้เทคนิค PCR และการทำห้องสมุดยีนของ 16S rDNA (1,500 bp) ทำการหาจำนวนประชากรของแบคทีเรียโดยใช้เทคนิค real-time PCR และนำลำดับเบสของยีน 16S rDNA ที่ได้จากการโคลนมาเปรียบเทียบกับฐานข้อมูลใน GenBank โดยวิธี on line BLAST จากการสุ่มโคลนของยีน 16S rDNA จากกระเพาะรูเมนของกระบือที่กินฟางข้าว จำนวน 102 โคลน พบโคลนที่มีความเหมือนกับแบคทีเรียในฐานข้อมูลมากกว่า 97 เปอร์เซ็นต์ คิดเป็น 49.02 เปอร์เซ็นต์ (50 โคลน) และแบคทีเรียที่มีความเหมือนน้อยกว่า 97 เปอร์เซ็นต์ คิดเป็น 50.98 เปอร์เซ็นต์ (52 โคลน) ของแบคทีเรียทั้งหมดในห้องสมุดยีน แบคทีเรียกลุ่มหลักที่พบ คือ แบคทีเรียกลุ่ม Low G+C Gram-Positive Bacteria (LGCGPB) คิดเป็น 71.57 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่การโคลนยีน 16S rDNA จากกระเพาะรูเมนของกระบือที่กินหญ้าขนสด จำนวน 109 โคลน พบโคลนที่มีความเหมือนกับแบคทีเรียในฐานข้อมูล มากกว่า 97 เปอร์เซ็นต์ คิดเป็น 40.37 เปอร์เซ็นต์ (44 โคลน) และแบคทีเรียที่มีความเหมือนน้อยกว่า 97 เปอร์เซ็นต์ คิดเป็น 59.63 เปอร์เซ็นต์ (65 โคลน) ของแบคทีเรียทั้งหมดในห้องสมุดยีน แบคทีเรียกลุ่มหลักที่พบ คือ แบคทีเรียกลุ่ม LGCGPB คิดเป็น 56.88 เปอร์เซ็นต์ จำนวนประชากรของแบคทีเรียกลุ่มหลักที่พบได้บ่อยในกระเพาะรูเมนของกระบือที่ได้รับฟางข้าวหรือหญ้าขนสดมีปริมาณใกล้เคียงกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ปรีชา อินนุรักษ์ และ ทวีพร เรืองพริ้ม. 2551. การเพิ่มศักยภาพการใช้ฟางข้าวเป็นอาหารสัตว์เคี้ยวเอื้อง. พิมพ์ครั้งที่ 1. โรงพิมพ์สำนักส่งเสริมและฝึกอบรม กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน, นครปฐม.

ภูมพงศ์ บุญแสน สุริยะ สะวานนท์ ปรีชา อินนุรักษ์ และ พริมา พิริยางกูร. 2553. การศึกษาลักษณะบางประการของแบคทีเรียย่อยเยื่อใยที่มีศักยภาพสูงที่คัดเลือกจากกระเพาะรูเมนของกระบือปลัก. ใน: การประชุมทางวิชาการ ครั้งที่ 48 สาขา สัตว์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

เมธา วรรณพัฒน์. 2552. การผลิตโคเนื้อและกระบือในเขตร้อน. พิมพ์ครั้งที่ 2. คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.

วันเลิศ พงษ์โปกุล. 2549. การเพิ่มคุณค่าทางโภชนะของฟางข้าวโดยการหมักย่อยของจุลินทรีย์ในการผลิตโคเนื้อ. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

สมพร ปุ่นโก๋. 2557. การศึกษาความหลากหลายและการคัดเลือกแบคทีเรียที่มีศักยภาพในการย่อยเยื่อใยและไม่ย่อยเยื่อใยจากกระเพาะรูเมนของกระบือปลัก. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

สาธกา สุริยะ สะวานนท์ พริมา พิริยางกูร และสมจิตร ถนอมวงศ์วัฒนะ. 2555. การเปรียบเทียบความสามารถในการย่อยเยื่อใย กิจกรรมของเอนไซม์เซลลูเลส ปริมาณจุลินทรีย์ และสภาวะของกระเพาะรูเมนของกระบือปลักที่ ได้รับฟางข้าวกับหญ้าขนสด. ใน: การประชุมทางวิชาการ ครั้งที่ 50 สาขาสัตว์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ

สุริยะ สะวานนท์. 2551. จุลินทรีย์และเทคโนโลยีชีวภาพด้านจุลินทรีย์ในกระเพาะรุเมน. ภาควิชาสัตวบาล คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน, นครปฐม.

อังคณา หาญบรรจง และดวงสมร สินเจิมศิริ. 2532. การวิเคราะห์และประเมินคุณภาพอาหารสัตว์. ภาควิชาสัตวบาล, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

Dengdi, A., D. Xiuzhu and D. Zhiyang. 2005. Prokaryote diversity in the rumen of yak (Bos grunniens) and Jinnan cattle (Bos taurun) estimated by 16S rDNA homology analyses. Anarobe 11: 207-215.

Fukuma, N., S. Koike and Y. Kobayashi. 2012. Involvement of recently cultured group U2 bacterium in ruminal fiber digestion revealed by coculture with Fibrobacter succinogenes S85. FEMS Microbiology Letters 336: 17-25.

Koike, S. and Y. Kobayashi. 2001. Development and use of competitive PCR assays for the rumen cellulolytic bacteria: Fibrobacter succinogenes, Ruminococcus albus and Ruminococcus flavefaciens. FEMS Microbial Ecology 204: 361-366.

Lane, D.J. 1991. 16S/23S rRNA sequencing. E. Stackebrandt and M. Goodfellow (eds.). In: pp. 115-175. E. Stackebrandt and M. Goodfellow (eds.). Nucleic Acid Techniques in Bacterial Systematics. John Wiley and Sons, New York.

Loy A., A. Lehner, N. Lee, J. Adamczyk, H. Meier, J. Ernst, K.H. Schleifer and M. Wagner. 2002. Oligonucleotide microarray for 16S rRNA gene-based detection of all recognized lineages of sulfate-reducing prokaryotes in the environment. Applied and Environmental Microbiology 68(10): 5064-5081.

Makkar, H.P.S. and C.S. McSweeney. 2010. Methods in Gut Microbial Ecology for Ruminants. Springer, Dordrecht.

Muyzer, G., E.C. Waal and A.G. Uitterlinden. 1993. Profiling of complex microbial populations by denaturing gradient gel electrophoresis analysis of polymerase chain reaction-amplified genes coding for 16S rRNA. Applied and Environmental Microbiology 59(3): 695-700.

Perriere, G. and M. Gouy. 1996. WWW-query: an on-line retrieval system for biological sequence banks. Biochimie 78: 364-369.

Tajima, K., R.I. Aminov, T. Nagamine, K. Ogata, M Nakamura, H. Matsui and Y. Benno. 1999. Rumen bacterial diversity as determined by sequence analysis of 16S rDNA libraries. FEMS Microbial Ecology 29: 159-169.

Tajima, K., R.I. Aminov, T. Nagamine, H. Matsui, M. Nakamura and Y. Benno. 2001. Diet-dependent shifts in the bacterial population of the rumen revealed with real-time PCR. Applied and Environmental Microbiology 67: 2766-2774.

Thu, N.V. and T. R. Preston. 1999. Rumen environment and feed degradability in swamp buffaloes fed different supplements. Livest. Res. Rural Dev. 11(3): 1-7.