การคัดเลือกและผลิตเมล็ดพันธุ์ลูกผสมบรอกโคลีเพื่อผลิตต้นอ่อนที่มีซัลโฟราเฟนสูง
Main Article Content
บทคัดย่อ
ต้นอ่อนบรอกโคลีเป็นแหล่งของซัลโฟราเฟนซึ่งเป็นสารแอนตี้ออกซิแดนที่กำลังได้รับความนิยมในหมู่คนที่รักสุขภาพ ในการทดลองนี้ได้คัดเลือกพันธุ์ที่มีปริมาณซัลโฟราเฟนสูงมาใช้ในการผสมพันธุ์เพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์ลูกผสมที่มีซัลโฟราเฟนสูงโดยได้มีการศึกษาการออกดอกและการติดเมล็ดของบรอกโคลีพันธุ์การค้าจำนวน 4 พันธุ์คือ Montop Packman, Top Green และ F29A ที่สถานีเกษตรหลวงปางดะ จ.เชียงใหม่ ระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2552 ถึง เดือนเมษายน พ.ศ. 2553 วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (CRD) จำนวน 7 ซ้ำ โดยใช้ช่อดอกเป็นซ้ำ พบว่าพันธุ์ Top Green และ F29A มีจำนวนวันหลังเพาะเมล็ดจนดอกบาน 50% เร็วที่สุด คือ 64 วัน ทำการผสมข้ามพันธุ์ จำนวน 9 คู่ผสม เมื่อฝักบรอกโคลีเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล 50% เก็บผักและนำไปวัดความยาว น้ำหนัก นับจำนวนเมล็ดต่อฝักและน้ำหนักเมล็ด พบว่าฝักของคู่ผสม F29A x Montop และ F29AX Packman มีความยาวฝักยาวที่สุดเท่ากับ 5.157 และ 5.057 เซนติเมตร ตามลำดับแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับฝักที่ได้จากคู่ผสมอื่น ๆ ฝักของคู่ผสม Top Green x Montop, Top Green x Packman, F29A x Montop และ F29A x Packman มีน้ำหนักฝักมากที่สุดคือ 0.097, 0.103, 0.091 และ 0.093 กรัมต่อฝัก ตามลำดับ เมื่อศึกษาการติดเมล็ดในฝักพบว่ามีคู่ผสมจำนวน 6 คู่ที่สามารถติดเมล็ดได้คือคู่ผสม Top Green X Montop, Top Green x Packman, Top Green x F29A, F29A x Montop, F29A x Packman และ F29A x Top Green โดยคู่ผสม Top Green x Packman มีจำนวนเมล็ดต่อฝักมากที่สุด คือ 8.0 เมล็ดต่อฝัก และคู่ผสม Top Green X Packman และ F29A x Packman ให้น้ำหนักเมล็ดต่อฝักมากที่สุด คือ 0.026 และ 0.028 กรัมต่อฝัก ตามลำดับ เมื่อนำเมล็ดที่ได้มาเพาะและนำต้นอ่อนที่อายุ 5 วันหลังงอก ไปวิเคราะห์ปริมาณซัลโฟราเฟน พบว่าลูกผสม F29A x Packman มีปริมาณซัลโฟราเฟนสูงที่สุดคือ 4.34 มิลลิกรัมต่อกรัมน้ำหนักแห้ง
Article Details
References
ไฉน ยอดเพชร. 2542. พืชผักในตระกูลครูซิเฟอร์. รั้วเขียว, กรุงเทพฯ. 195 หน้า.
ณัฐา โพธาภรณ์ อัญชัญ ชมภูพวง ศิริลักษณ์ อินทะวงศ์ และ วีรพันธ์ กันแก้ว. 2553. การคัดเลือกและปรับปรุงพันธุ์บรอกโคลีเพื่อผลิตต้นอ่อนที่มีซัลโฟราเฟนสูง. วารสารโครงการหลวง 14: 2-6.
ธนพันธ์ เมธาพิทักษ์ 2544. เทคนิคการปลูกหน่อไม้ฝรั่งและบรอกโคลี ฉบับที่ 2. หอสมุดกลาง 09, กรุงเทพฯ. 160 หน้า.
นิพนธ์ ไชยมงคล. 2546. ฐานข้อมูลพืชผัก : บรอกโคลี (ระบบออนไลน์). แหล่งที่มา:http://www.agric prod.mju.ac.th/vegetable/File_link/Broccoli.pdf (1 สิงหาคม 2553).
บุษบัน ศิริธัญญาลักษณ์ และ สรัญญา ชวนพงษ์พานิช. 2548. สารชีวภาพกลูโคซิโนเลตและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระในเมล็ดพันธุ์บรอกโคลีที่ปลูกในประเทศไทย. รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 105 หน้า.
มณทิรา ภูติวรนาถ. 2541. การปรับปรุงพันธุ์ผักกาดหัวลูกผสมชั่วที่หนึ่ง. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาพืชสวน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 82 หน้า.
รุจิเรศน์ ชัยศรี. 2543. การใช้ลักษณะการผสมตัวเองไม่ติดเพื่อการปรับปรุงพันธุ์ลูกผสมชั่วที่ 1 ของผักกาดขาว ปลี. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาพืชสวน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 88 หน้า.
ลิขิต มณีสินธุ์ เกษม พิลึก ชัยฤกษ์ สงวนทรัพยากร และเบญจมาศ ศิลาย้อย. 2532. การศึกษาความสามารถในการติดเมล็ดจากการผสมพันธุ์ระหว่างผักกาดหัวสายพันธุ์ผสมตัวเองไม่ติด 5 สายพันธุ์. วารสารเกษตรศาสตร์ 23: 18-25.
Bassett, M.J. 1986. Breeding Vegetable Crops. AVI Publishing Company, Inc., Connecticut. 584 p.
Bjorkman, T. and K. Pearson 1998. High temperature arrest of inflorescence development in broccoli (Brassica oleracea. var. italica). Journal of Experimental Botany 49: 101-106.
Cunningham, J. 2007. Broccoli sprouts may help prevent skin cancer. (Online). Available: www.indiaedunews.net/Science/Broccoli_s prouts_may_help_prevent_skin_cancer_231 2 (March 26, 2010).
Health. 2008. Healthcare Information Directory. (Online). Available: http //www. lhealthdirectory.com/sulforaphanel/ (April 17, 2011).
Jason, M.A., W.F. Mark and W.R. James. 2005. Genetic combining ability of glucorahanin level and other horticultural traits of broccoli. Euphytica 143: 145-151.
Juurlink, B. 2006. Broccoli sprouts eaten during pregnancy may provide children with life - long protection against heart disease. (Online). Available: http://www.brassica. com/press/news001.htm (March 26, 2010).
Liang, H., Q. Yuan and Q. Xiao. 2006. Purification of sulforaphane from Brassica oleracea seed meal using low-pressure column chromatography Journal of Chromatography 828: 91-96.
Sampson, D.R. 1957. The genetics of self-and cross-incompatibility in Brassica oleracea. Genetics 42: 253-263.
Sivakumar, G., A. Aliboni and L. Bacchetta. 2007. HPLC screening of anti-cancer sulforaphane from important European Brassica species. Food Chemistry 104: 1761-1764.
Sodhi, Y.S., A. Mukhopadhyay, N. Arumugam, J.K. Verma, V. Gupta, D. Pental and A.K. Pradhan. 2002. Genetic analysis of total glucosinolate in crosses involving a high glucosinolate Indian variety and a low glucosinolate line of Brassica juncea. Plant Breeding 121: 508-511.
Trenerry, V.C., D. Caridi, A. Elkins, O. Donkor and R. Ones. 2006. The determination of glucoraphanin in broccoli seeds and florest by solid phase extraction and miceller electrokinetic capillary chromatography. Food Chemistry 98: 179-187.
Verhoeven, D.T.H., H. Verhagen, R.A. Goldbohm, P.A. Vant and G.V. Poppel. 1977. A review of mechanisms underlying anticarcinogenicity by brassica vegetables. Chemico-Biological Interactions 103: 79 -129.
Yanaka, A., S. Zhang, M. Tauchi, H. Suzuki, T. Shibahara, H. Matsui, A. Nakahara, N. Tanaka and M. Yamamoto. 2005. Role of the nrf-2 gene in protection and repair of gastric mucosa against oxidative stress. Inflammopharmacology 13: 83-90.