ผลกระทบของไฟป่าต่อสมบัติทางกายภาพ-เคมีและการสะสมธาตุอาหารในดินป่าเต็งรัง สถานีวนวัฒนวิจัยอินทขิลจังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

สาโรจน์ วัฒนสุขสกุล
สุนทร คำยอง
นิวัติ อนงค์รักษ์
เกรียงศักดิ์ ศรีเงินยวง

บทคัดย่อ

ศึกษาผลกระทบของไฟป่าต่อการเปลี่ยนแปลงสมบัติทางกายภาพ-เคมีและปริมาณธาตุอาหารสะสมในดินป่าเต็งรัง บริเวณสถานีวนวัฒนวิจัยอินทขิล จ.เชียงใหม่ เปรียบเทียบระหว่างป่าที่มีไฟป่าและไม่มีไฟป่าเป็นระยะเวลาอย่างน้อยสิบปี เพื่อเป็นข้อมูลในการฟื้นฟูระบบนิเวศป่าเต็งรัง โดยดำเนินการขุดหลุมดินกว้าง 150 ซม. ลึก 200 ซม. ป่าละ 2 หลุม เก็บตัวอย่างดินตามความลึกเพื่อวิเคราะห์สมบัติทางกายภาพและเคมี พบว่า ดินชั้นบนในป่าที่มีไฟป่าเป็นดินทรายปนร่วน และป่าที่ไม่มีไฟป่าเป็นดินร่วนปนทราย ค่าเฉลี่ยตัวแปรอื่น ๆ ในดินชั้นบนสุดของป่าที่มีและไม่มีไฟป่าแตกต่างกันเล็กน้อยดังนี้ ความหนาแน่นรวม เท่ากับ 1.26, 1.11 Mg m-3 pH: 5.1, 5.5 (กรดจัด) อินทรียวัตถุ: 25.0, 32.1 g kg-1 คาร์บอน: 14.5, 18.6g kg-1 ไนโตรเจน: 0.8, 1.2 g kg-1 ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์: 13.6, 34.9 mg kg-1 โพแทสเซียมที่สกัดได้: 282.8, 359.8 mg kg-1 แคลเซียม: 385.2, 621.9 mg kg-1 แมกนีเซียม: 154.7, 271.5 mg kg-1 และโซเดียม: 10.6, 18.9 mg kg-1 ตามลำดับ ป่าที่มีไฟป่ามีปริมาณอินทรียวัตถุ คาร์บอนและไนโตรเจนทั้งหมดในดินลึก 200 ซม. เฉลี่ย 124, 72 และ 7.9 Mg ha-1 ตามลำดับ ในขณะที่ป่าที่ไม่มีไฟป่ามีปริมาณสูงกว่า (212, 123 และ 8.0 Mg ha-1) ป่าที่มีไฟป่า มีปริมาณที่สกัดได้ของฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียมและโซเดียมในดินเฉลี่ย 50, 6,421, 3,827; 2,912 และ 493 kg ha-1 ตามลำดับ ส่วนป่าที่ไม่มีไฟป่ามีค่า 156, 6,227; 4,287; 3,921 และ 412 kg ha-1 ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ณัฐลักษณ์ คำยอง. 2552. ความหลากหลายของชนิดพันธุ์ไม้ ลักษณะดินและการสะสมคาร์บอนในป่าชนิดต่าง ๆ บริเวณอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 334 หน้า.

เสวียนเปรมประสิทธิ์. 2537. การศึกษาเชิงนิเวศวิทยาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสังคม พืชในป่าเต็งรังกับคุณสมบัติของดิน บริเวณอุทยานแห่งชาติ ดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัย เชียงใหม่. 386 หน้า.

แสงคำ ผลเจริญ. 2552 ความหลากหลายของชนิดพืชลักษณะดินและการใช้ประโยชน์ป่าชุมชนบ้านทรายทอง ตำบลป่าสัก อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 192 หน้า.

อุทัย ชาญสุข. 2533. ผลของความถี่ไฟต่อคุณสมบัติของดินในป่าเต็งรังสะแกราช จังหวัดนครราชสีมา.วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 224 หน้า.

Bunyavejchewin, S. 1979. Phytosociological Structure and Soil Property in Nam Pong Basin. M.S. Thesis, Kasetesrt University, Bangkok. 123 p.

Cooling, E., N.G. 1968. Fast Growing Timber Trees of The Lowland Tropics: Pinus merkusii. Commonwealth Forestry Institute. Oxford Univer. 312 p.

Kanchanaprasert, N. 1986. A Study on. Vital Diagnostic Features in Soil Development and Land Potential Evaluation of Alfisols and Inceptisols in Mae Klong Drainage Basin. Ph.D. Thesis, Department of Soil Science, Kasetsart University, Bangkok 483 p (in Thai).

Land-Use Planning Division. 1993. Repot on land Suitability Study for High Land Development Planning in Chiang Mai Province. Land Development Department, Ministry of Agriculture and Cooperatives, Bangkok 393 p. (in Thai).

Maksririsombart, C. 1997. Characteristic of Dry Dipterocarp Forest After Forest Fire: Case Study in Huai Kha Khaeng Wildlife Sanctuary. B.S. Special paper Faculty of Environmental and Resource science, Mahidol. 52 p.

Wattanasuksakul, S., S. Khamyong, K. Sringernyuang and N. Anongrak. 2010. Plant diversity and carbon stocks potential in dry dipterocarp forest with and without fire at In Takin Silvicultural Research Station, Chiang Mai Province. The 2nd CMU Graduate Research Conference. 26th November 2010. The Graduate School, Chiang Mai University, Chiang Mai. 9 p.