คุณภาพซากและเนื้อของโคขาวลำพูนและโคลูกผสมบราห์มันที่เลี้ยงด้วยหญ้าแพงโกล่า
Main Article Content
บทคัดย่อ
การทดลองครั้งนี้ใช้โคขาวลำพูน และโคลูกผสมที่มีเลือดบราห์มัน 50% เพศผู้สายพันธุ์ละ 8 ตัว อายุเริ่มต้นเฉลี่ย 1 ปี 4 เดือน และ 1 ปี 3 เดือน ตามลำดับ เลี้ยงขังคอกให้ได้กินหญ้าแพงโกล่าอายุประมาณ 40-50 วันแบบเต็มที่จนได้น้ำหนักเฉลี่ย 275-320 กิโลกรัม จึงทำการฆ่าและตัดแต่งซากทั้งแบบไทยและสากล ผลการศึกษาพบว่าคุณภาพซากไม่แตกต่างทางสถิติ (p>0.05) สำหรับการตัดแต่งซากแบบไทย เปอร์เซ็นต์เนื้อหางตะเข้และเสือร้องไห้ในโคขาวลำพูนสูงกว่าโคลูกผสมบราห์มัน (p<0.05) สำหรับคุณภาพเนื้อทางด้านความชื้น และปริมาณไตรกลีเซอร์ไรด์ในเนื้อโคขาวลำพูนต่ำกว่า (p<0.001) ส่วนปริมาณคอลลาเจนชนิดไม่ละลายน้ำและผลรวมคอลลาเจนในโคขาวลำพูนมีค่ามากกว่า (p<0.001) นอกจากนี้ยังพบว่าค่าความสูญเสียน้ำจากการต้มเนื้อของโคขาวลำพูนมีค่าต่ำกว่าโคลูกผสมบราห์มันอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ (p<0.05) จะเห็นได้ว่าการเลี้ยงโคด้วยหญ้าแพงโกล่าเมื่อเปรียบเทียบระหว่างสายพันธุ์ของโคดังกล่าวไม่พบความแตกต่างของคุณภาพซากทางสถิติ (p>0.05) จึงเป็นแนวทางในการส่งเสริมการเลี้ยงโคพื้นเมืองให้แก่เกษตรกรได้
Article Details
References
กรมปศุสัตว์. 2552. พันธุ์โคเนื้อ. [online] Available: http://www.dld.go.th/lspy_pyu/department 1.htm. (30 สิงหาคม 2553)
จุฑารัตน์ เศรษฐกุล. 2551. โอกาสทางการตลาดของโคเนื้อไทย. ประชาคมวิจัย. ฉบับที่ 76: 14.
จุฑารัตน์ เศรษฐกุล ญาณิน โอภาสพัฒนกิจ กันยา ตันติวิสุทธิกุล และ ธนนันท์ ศุภกิจจานนท์. 2548. การผลิตเนื้อจากโคลูกผสมเลือดบรามันห์ที่เลี้ยงด้วยหญ้าเป็นอาหารหยาบ: คุณภาพซากและคุณภาพเนื้อ การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 43 หน้า 288-301.
ชัยณรงค์ คันธพนิต. 2529. วิทยาศาสตร์เนื้อสัตว์. ภาควิชาสัตวบาล คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 276 น.
สัญชัย จตุรสิทธา. 2551. เทคโนโลยีเนื้อสัตว์. พิมพ์ครั้งที่ 2. โรงพิมพ์มิ่งเมือง. เชียงใหม่. 335 น.
อิทธิพล เผ่าไพศาล และสำราญ วิจิตรพันธ์. 2549. รายงานผลงานวิจัยกองอาหารสัตว์ ประจำปี พ.ศ. 2549 กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หน้า 204 – 220.
AOAC. 1995. Official Methods of Analysis. (15th Ed.). Association of Official Analytical Chemists, Arlington, VA. USA.
Biggs, H. G., J. M. Erikson and W. R. Moorehead. 1975. Annual colorimetric assay of triglycerides in serum. Clin. Chem. 21: 437-441.
Hill, F. 1969. The solubility of intramuscular collagen in meat animals of various ages. J. Food Sci. 31: 161-166.
Jaturasitha S., R. Norkeaw, T. Vearasilp, M. Wicke and M. Kreuzer. 2009. Carcass and meat quality of Thai native cattle fattened on Guinea grass (Panicum maxima) or Guinea grass legume (Stylosanthes guianensis) pastures. Meat Sci. 81: 155–162.
Jung, D. H., H. G. Biggs and W. R. Moorehead. 1975. Colorimetry of serum cholesterol with use of ferric acetate, uranyl acetate and ferrous sulfate/sulfuric acid reagents. Clin. Chem. 21: 526-1530.
King, D. A., W. W. Morgan, R. K. Miller, J. O. Sanders, D. K. Lunt, J. F. Taylor, C. A. Gill, and J. W. Savell. 2006. Carcass merit between and among family groups of Bos indicus crossbred steers and heifers. Meat Sci. 72:496-502.
Koohmaraie, M., M. P. Kent, S. D. Shackelford, E. Veiseth and T. L. Wheeler. 2002. Meat tenderness and growth: Is there any relationship? Meat Sci. 62: 345–352.
Monson, F., C. Sanudo and I. Sierra. 2004. Influence of cattle breed and ageing time on textural meat quality. Meat Sci. 68: 595–602.
Muchenje, V., K. Dzama, M. Chimonyo, J. G. Raats and P. E. Strydom. 2008. Meat quality of Nguni, Bonsmara and Aberdeen Angus steers raised on natural pasture in the Eastern cape, South Africa. Meat Sci. 79: 20–28.
Padre, R. G., J. A. Aricetti, S. T. M. Gomes, R. H. T. B. Goes, F. B. Moreira, I. N. Prado, J. V. Visentainer, N. E. de Souza and M. Matsushita. 2007. Analysis of fatty acids in Longissimus muscle of steers of different genetic breeds finished in pasture systems. Livest. Sci. 110: 57–63.
Rule, D. C., M. D. Macneil and R. E. Short. 1997. Influence of sire growth potential, time on feed, and growing-finishing strategy on cholesterol and fatty acids of ground carcass and Longissimus muscle of beef steers. J. Anim. Sci. 75 (6): 1525–1533.
SAS Institute. 1997. SAS Systems for Windows, release 6.12, version 8.2. Cary, NC: SAS Institute Inc.