การสะสมคาร์บอนและธาตุอาหารในดินสวนป่าสนสามใบหน่วยจัดการต้นน้ำบ่อแก้ว จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

สมชาย นองเนือง
สุนทร คำยอง
นิวัติ อนงค์รักษ์
เกรียงศักดิ์ ศรีเงินยวง

บทคัดย่อ

ปริมาณคาร์บอนและธาตุอาหารสะสมในดินสวนป่าสนสามใบของหน่วยจัดการต้นน้ำบ่อแก้ว อ. สะเมิง  จ. เชียงใหม่ ที่ศึกษาประกอบด้วยสวนป่า 4 ชั้นอายุ คือ  21, 25, 29 และ 33 ปี ขุดดินลึกถึง 160 เซนติเมตร หรือจนถึงดินชั้น C ในสวนป่าแต่ละชั้นอายุและป่าดิบเขาบริเวณใกล้เคียง รวม 5 หลุม เก็บตัวอย่างดินในหลุมดินแต่ละหลุมตามระดับความลึก 11 ระดับ คือ 0 - 5, 5 - 10, 10 - 20, 20 - 30, 30 - 40, 40 - 60, 60 - 80, 80 - 100, 100 - 120, 120 - 140 และ 140 - 160 เซนติเมตร เพื่อวิเคราะห์สมบัติทางกายภาพและเคมี พบว่า ดินมีการพัฒนาของชั้นดินมากขึ้นตามอายุสวนป่า ความหนาแน่นรวมของดินชั้นบนมีค่าลดลงตามอายุสวนป่า ค่าปฏิกิริยาของดินเปลี่ยนแปลงไม่ชัดเจน ปริมาณอินทรียวัตถุและธาตุอาหารเพิ่มขึ้นตามอายุสวนป่า โดยเฉพาะ คาร์บอน ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส แคลเซียมและแมกนีเซียม แต่มีความแปรปรวนในการสะสมธาตุอาหารระหว่างอายุสวนป่า มีปัจจัยสำคัญหลายอย่างที่มีอิทธิพลร่วมกัน ได้แก่ ความหนาแน่นของต้นไม้ ชนิดพันธุ์และความหนาแน่นของพันธุ์ไม้ที่ขึ้นทดแทน ความผันแปรสภาพภูมิประเทศและการเกิดไฟป่า

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ณัฐลักษณ์ คำยอง. 2552. ความหลากหลายของชนิดพันธุ์ไม้ ลักษณะดินและการสะสมคาร์บอนในป่าชนิดต่าง ๆ บริเวณอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 334 หน้า.
ทนงศักดิ์ ปะระไทย. 2546. สมบัติของดินและการเจริญเติบโตของไม้สนสามใบที่มีอายุต่างกันในสวนป่าดอยบ่อหลวง จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 169 หน้า.
อำไพ พรลีแสงสุวรรณ์, สุนทร คำยอง, เกรียงศักดิ์ ศรีเงินยวง และ นิวัติ อนงค์รักษ์. 2553. การเจริญเติบโตผลผลิตและการทดแทนของพรรณไม้ในสวนป่าสนสามใบ พื้นที่ต้นน้ำในภาคเหนือ. การประชุมเสนอผลงานวิจัย ระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ครั้งที่ 2. วันที่ 26 พฤศจิกายน 2553. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่. 10 หน้า.
Bowen, G.D. and E.K.S. Nambiar. 1989. Nutrition of Plantation Forests Academic Press Limited. 516 p.
Kanchanaprasert, N. 1986. A Study on Vital Diagnostic Features in Soil Development and Land Potential Evaluation of Alfisols and Inceptisols in Mae Klong Drainage Basin. Ph.D. Thesis, Department of Soil Science, Kasetsart University, Bangkok. 483 p. (in Thai).
Land Use Planning Division. 1993. Repot on Land Suitability Study for High Land Development Planning in Chiang Mai Province. Land Development Department, Ministry of Agriculture and Cooperatives, Bangkok. 393 p. (in Thai).
Pampasit, S., S. Khamyong, G. Breulmann, I. Ninomiya and K. Ogino. 2000. Mineral element accumulation in soil and tree in tropical hill evergreen forest, northern Thailand. Tropics 9(4): 275-286.