การผลิตกล้าพริกพิโรธปลอดโรคไวรัสโดยเทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
Main Article Content
บทคัดย่อ
จากการศึกษาอาการของโรคไวรัสในพริกพิโรธที่ปลูก ณ สถานีเกษตรหลวงปางดะ มูลนิธิโครงการหลวง พบอาการหลายแบบ เช่น ใบด่าง เตี้ยแคระแกรน ใบจุดวงแหวน ใบหดย่น และอาการตายของเนื้อเยื่อส่วนตา และเส้นใบ เมื่อเลือกอาการที่พบส่วนใหญ่ ได้แก่อาการใบด่างมาทดสอบความสามารถในการถ่ายทอดโรคโดยวิธีเสียบยอด พบว่าสามารถถ่ายทอดลักษณะอาการใบด่างไปยังต้นพริกปกติได้ นอกจากนั้นเมื่อทำการลอกเซลล์เนื้อเยื่อผิวใบ และเซลล์เนื้อเยื่อท่อลำเลียงของใบพริกที่แสดงอาการด่าง ไปตรวจสอบความผิดปกติระดับเซลล์ ภายใต้กล้องจุลทรรศน์ หลังการย้อมด้วยสี Azure II, orange green, toluidine blue และ acridine orange พบ inclusion หลายแบบ คือ crystalline inclusion, cylindrical inclusion และ amorphous inclusion เมื่อทยอยตัดตาข้าง และตายอดของต้นพริกดังกล่าวมาฟอกฆ่าเชื้อที่ผิวและเพาะเลี้ยงในอาหารสังเคราะห์สูตร MS จำนวนรวม 60 ตา พบว่า ต้นอ่อนพริกที่เจริญส่วนใหญ่ยังคงแสดงอาการใบด่างเช่นเดียวกับต้นแม่ แม้จะเพาะเลี้ยงในรุ่นที่ 2 ในระยะเวลา 3-6 เดือน และจากการนำต้นอ่อนพริกที่แสดงอาการใบด่างอายุ 2 เดือน ไปเพาะเลี้ยงในสภาพอุณหภูมิสูงที่ 35±1 องศาเซลเซียสต่อเนื่อง เป็นเวลา 4 และ 8 สัปดาห์ ช่วงเวลาละ 20 ต้น พบว่าต้นอ่อนพริกรอดตายจำนวน 13 และ 8 ต้น ตามลำดับ เมื่อนำต้นอ่อนพริกที่รอดตายมาตัดเนื้อเยื่อเจริญบริเวณยอด และเลี้ยงอาหารสังเคราะห์สูตร MS ที่เติม BAP ความเข้มข้น 0.04 ppm และ GA3 ความเข้มข้น 0.1 ppm พบการเจริญของชิ้นเนื้อเยื่อเจริญบริเวณยอดไปเป็นต้นอ่อน จำนวนรวม 3 ชิ้น เจริญเป็นแคลลัส รวมจำนวน 13 ชิ้น และแห้งตายรวม 5 ชิ้น จากการนำต้นอ่อนพริกที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเจริญบริเวณยอดจำนวน 3 ต้น ย้ายไปเลี้ยงในอาหารสังเคราะห์สูตร MS นาน 2 เดือน พบว่าต้นอ่อนพริกที่ได้ทั้งหมดไม่แสดงอาการใบด่าง แม้ว่าจะปล่อยให้เจริญเป็นเวลานานกว่า 6 เดือนก็ตาม จากนั้นทำการเพิ่มปริมาณต้นอ่อนพริกปลอดโรคไวรัสในสภาพปลอดเชื้อ พบว่าสามารถชักนำให้เกิดยอดได้มากที่สุด เฉลี่ย 4.5 ยอดต่อชิ้นพืช ในอาหารสังเคราะห์สูตร MS ที่เติม BAP ความเข้มข้น 10 ppm ร่วมกับ kinetin ความเข้มข้น1 ppm สำหรับการทดลองชักนำให้เกิดราก พบว่าสูตรอาหาร MS ที่เติม IAA ความเข้มข้น 2 ppm สามารถชักนำให้เกิดรากในปริมาณที่เหมาะสม และเมื่อย้ายขวดเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อของต้นอ่อนพริกที่มีราก อายุ 1 เดือน ไปเก็บในสภาพโรงเรือนเป็นเวลา 7 และ 14 วันก่อนย้ายปลูก พบว่าต้นอ่อนพริกมีการรอดชีวิต 85 และ 90 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ
Article Details
References
ประสาทพร สมิตะมาน. 2541. การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช: เทคนิคและการประยุกต์ใช้. สาขาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 141 หน้า.
วสุ อมฤตสุทธิ์, พรพิมล สุริยภัทร และรักเกียรติ แสนประเสริฐ. 2549. รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการการศึกษา สถานภาพการผลิต และความสัมพันธ์ของสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อผลผลิต คุณภาพ และปริมาณสาร apsaicin ในพริกพันธุ์การค้ากรณีศึกษา: จังหวัดอุบลราชธานี และศรีสะเกษ สำนักงานกองทุน สนับสนุนการวิจัย, กรุงเทพฯ. 139 หน้า.
แสนชัย คำหล้า และเพชรรัตน์ ธรรมเบญจพล. 2550, คุณสมบัติทางชีววิทยา และเซรุ่มวิทยาของเชื้อ Tobamovirus จากพริกและมะเขือเทศ. หน้า 21-25. ใน: เอกสารประกอบการประชุมวิชาการเรื่องศักยภาพการผลิตพริกเพื่ออุตสาหกรรมการส่งออกของไทยในปัจจุบัน และอนาคต. 21-22 กันยายน 2550. ห้องประชุมแตงกวา สาขาวิชาพืชสวน ภาควิชาพืชศาสตร์และทรัพยากรการเกษตร คณะเกษตรศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ห้างหุ้นส่วนจำกัด โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา, ขอนแก่น.
อิทธิสุนทร นันทกิจ, จริยา วิสิทธิ์พานิช, พรหมมาศ คูหากาญจน์ และอุทัย วิชัย. 2552. ระบบการจัดการผลิตพริกที่เผ็ดที่สุดในโลกอย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย. เคหการเกษตร 33(10): 129, 131-135. Christie, R.G. and J.R. Edwardson. 1986. Light microscopic techniques for detection of plant virus inclusion (Online). Available: http://www.apsnet.org/publications/PlantDisease/Backlssues/ Documents/1 9 8 6 Articles/PlantDisease7 0 n0 4 _273.PDF (August 22, 2011).
Kucharek, T., D. Purciful and E. Heibert. 2004. Plant viruses found in Florida and their inclusions (Online). Available: http://www.freshfrom florida.com/pi/enpp/pathology/florida_viruse s/ Florvirus.html# Solanaceae (August 22, 2011).
Lozoya-Saldana, H. and A. Madrigal-Vargas. 1985. Kinetin, thermotherapy, and tissue culture to eliminate Potato virus X (PVX) in potato. American Journal of Potato Research 62(7): 339-345.
Murashige, T. and F. Skoog. 1962. A revised medium for rapid growth and bioassays with tobacco cultures. Physiologia Plantarum 15(3): 473-497.
Murphy, J.F. and K.L. Bowen. 2006. Synergistic disease in pepper caused by the mixed infection of Cucumber mosaic virus and Pepper mottle virus. Phytopathology 96: 240-247.
Sanatombi, K. and G.J. Sharma 2007. Micropropagation of Capsicum frutescens L. using axillary shoot explants. Scientia Horticulturae 113 (1): 96-99.
Sanatombi, K. and G.J. Sharma. 2008. In vitro propagation of Capsicum chinense Jacq. Biologia Plantarum 52 (3): 517-520.
Shah, H., T. Yasmin., M. Fahim., S. Hameed and M.J. Haque. 2008. Transmission and host range studies of Pakistan isolate of Chilli veinal mottle virus. Pakistan Journal of Botany 40(6): 2669-2681.
Snow, R. 1931. Experiments on growth and inhibition Part II. New phenomena of inhibition. Proceedings of the Royal Society of London. Series B. Biological Sciences 108(757): 305-316.