การใช้คลื่นความถี่วิทยุเพื่อควบคุมมอดยาสูบ

Main Article Content

รตินุช นุตพงษ์
เยาวลักษณ์ จันทร์บาง
ณัฐศักดิ์ กฤติกาเมษ

บทคัดย่อ

การใช้คลื่นความถี่วิทยุเพื่อควบคุมมอดยาสูบ Lasioderma serricorne (Fabricius) (Coleoptera: Anobiidae) ซึ่งเป็นแมลงศัตรูสำคัญที่ทำลายใบยาสูบแห้งขณะเก็บรักษา โดยได้ทำการทดลองในห้องปฏิบัติการ ณ สถาบันวิจัยเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ การศึกษาประกอบด้วย 2 ส่วน ในส่วนแรกศึกษาความทนทานของมอดยาสูบต่อคลื่นความถี่วิทยุในระยะไข่ หนอน ดักแด้ และตัวเต็มวัย โดยผ่านคลื่นความถี่วิทยุ 27.12 MHz ที่ระดับพลังงาน 420 วัตต์ เป็นเวลา 60 วินาที พบว่า มอดยาสูบระยะตัวเต็มวัยเป็นระยะที่ทนทานที่สุด พบการตาย 55.00 ±0.17 เปอร์เซ็นต์ รองลงมาได้แก่ ระยะดักแด้ หนอน และไข่ คือ 81.88 ±0.14, 97.50 ±0.11 และ 99.37 ±0.04 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ในส่วนที่ 2 นำมอดยาสูบระยะตัวเต็มวัย และใบยาสูบแห้งเบอร์เลย์ ชนิดยาเค้ก (อัดก้อน)  บรรจุในถุง laminate แล้วนำมาผ่านคลื่นความถี่วิทยุที่ระดับพลังงาน 420 วัตต์ เป็นเวลา 30, 60, 90, 120, 150 และ 180 วินาที พบว่า เมื่อระยะเวลาในการผ่านคลื่นความถี่วิทยุเพิ่มขึ้น ทำให้อุณหภูมิเพิ่มขึ้น โดยมีอุณหภูมิเป็น 34.77, 46.23, 58.27, 60.45, 73.40 และ 104.18 องศาเซลเซียส ที่อุณหภูมิ 104.18 องศาเซลเซียส สามารถทำให้ตัวเต็มวัยของมอดยาสูบตาย 100 เปอร์เซ็นต์ โดยความชื้นของใบยาอัดก้อนในถุง laminate ที่ผ่านคลื่นความถี่วิทยุ (10.58%) ไม่แตกต่างทางสถิติกับชุดควบคุม (ไม่ผ่านคลื่นความถี่วิทยุ) (10.59%) ใบยาสูบเบอร์เลย์เกรด B2F ซึ่งมีสีส้มเมื่อได้รับคลื่นความถี่วิทยุจะมีสีเข้มขึ้นเล็กน้อย  ปริมาณนิโคตินในกรรมวิธีที่ผ่านคลื่นความถี่วิทยุ (4.13%) แตกต่างจากชุดควบคุม (3.18%) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  ส่วนปริมาณน้ำตาลรีดิวซ์ซิ่ง ให้ผลยังไม่แน่นอน คุณภาพทางเคมี และกายภาพของยาสูบเบอร์เลย์ที่ได้รับคลื่นความถี่วิทยุ ยังคงมีค่าอยู่ในช่วงมาตรฐานของใบยาสูบ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤษณา สุเมธะ. 2552. ผลของการใช้คลื่นความถี่วิทยุต่อมอดหัวป้อม Rhyzopertha dominica (F.) และคุณภาพของข้าวสารพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 69 หน้า.
ชุมพล กันทะ. 2533. หลักการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูในโรงเก็บ. ขอนแก่นการพิมพ์ฯ ขอนแก่น. 249 หน้า.
บุษรา จันทร์แก้วมณี. 2547. การจัดการแมลงศัตรูข้าวหลังการเก็บเกี่ยว. หน้า 17-30. ใน: งามชื่น คง เสรี (ผู้รวบรวม), คุณภาพและการตรวจสอบข้าวหอมมะลิ. เอกสารวิชาการฉบับพิเศษ. บริษัท จิรวัฒน์ เอ็กซ์เพรส จำกัด, กรุงเทพฯ.
ประไพพรรณ องค์ประเสริฐ. 2540. มอดยาสูบกับแมลงศัตรูธรรมชาติ. สถานีทดลองยาสูบแม่โจ้, เชียงใหม่. 7 หน้า.
ฝ่ายวิจัยโรงงานยาสูบ. 2523. องค์ประกอบเคมีของใบยาบ่มไอร้อน. เอกสารวิชาการฉบับที่ 16/2523. ฝ่ายวิจัย โรงงานยาสูบ กระทรวงการคลัง, กรุงเทพฯ. 39 หน้า.
วีรยุทธ ใฝ่กระจายเพื่อน. 2554. ผลของความร้อนจากคลื่นความถี่วิทยุต่อด้วงงวงข้าวโพด (Sitophilus zeamais), วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 42 (3): (กำลังพิมพ์)
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2554. ปริมาณและมูลค่าสินค้าเกษตรกรรมส่งออก พ.ศ. 2554. (ระบบออนไลน์). แหล่งที่มา: http://www.oae.go.th/statistic/export/QVExp.xls (1 กันยายน 2554).
Birla, S.L., S. Wang, J. Tang and G. Hallman. 2004. Improving heating uniformity of fresh fruit in radio frequency treatments for pest control. Postharvest Biology and Technology 33(2): 205-217.
Janhang, P., N. Krittigamas, W. Lücke and S. Vearasilp. 2005. Using radio frequency heat treatment to control the insect Rhyzopertha dominica (F.) during storage in rice seed (Oryza sativa L.). Paper presented at the Conference on International Agricultural Research for Development. October 11-13, 2005. Stuttgart-Hohenheim, Germany.
Khamrunissa B., P. Vanitha Reddy, B.C. Leelaja, Y. Rajashekar and S. Rajendran. 2007. Studies on insect infestation in chocolates. Journal of Stored Products Research 43(2): 118-122.
Nelson, S.O. 1996. Review and assessment of radio-frequency and microwave energy for stored-grain insect control. Transactions of the ASAE 39(4): 1475-1484.
Nijhuis, H.H., H.M. Torringa, S. Muresan, D. Yuksel, C. Leguijt and W. Kloek. 1998. Approaches to improving the quality of dried fruit and vegetables. Trends in Food Science and Technology 9(1): 13-20.
Ryynänen, S. 1995. The electromagnetic properties of food materials: A review of the basic principles. Journal of Food Engineering 26(4): 409-429.
Wang, S., J. Tang, J.A. Johnson, E. Mitcham, J.D. Hansen, G. Hallman, S.R.Drake and Y. Wang. 2003. Dielectric properties of fruits and insect pests as. related to radio frequency and microwave treatments. Biosystems Engineering 85(2): 201-212.