การประเมินอัตราการกินอาหาร และการรอดตายของปูม้า (<I> Portunus pelagicus </I>) ที่เลี้ยงในบ่อดิน

Main Article Content

วุฒิชัย อ่อนเอี่ยม
วาสนา อากรรัตน์
เทพบุตร เวชกามา

บทคัดย่อ

การศึกษานี้ได้แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ศึกษาอัตราการกินอาหารของปูม้า และการประเมินอัตรารอดตายของ ปูม้าในบ่อดินด้วยลอบพับดักปู โดยปล่อยปูม้าขนาดความกว้างกระดองประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร หรืออายุประมาณ 30-40 วันที่ได้จากโรงเพาะฟัก ลงในบ่อดินขนาด 400 ตารางเมตร 2 บ่อ ในอัตรา 3 ตัว/ตารางเมตร เลี้ยงเป็นระยะเวลา 30, 60, 90 และ 120 วันตามลำดับ เมื่อครบกำหนดแล้วสุ่มปูเพศผู้และเมีย เพศละ 15 ตัวมาเลี้ยงในถังทดลองจำนวน 6 ถัง แต่ละถังมีตาข่ายกั้นแบ่งเป็น 5 คอก ใส่ปูเพศเดียวกันคอกละ 1 ตัว ผลการศึกษาพบว่า ปูที่มีระยะเวลาการเลี้ยงในบ่อดิน 30 วัน จะมีอัตราการกินอาหารเฉลี่ยสูงสุด คือ 31.30±6.96% นน.ตัว/วัน ซึ่งแตกต่างจากกลุ่มอื่นอย่างมีนัยสำคัญ (P<0.05) รองลงมา ได้แก่ ปูที่มีระยะเวลาการเลี้ยง 60 วัน (4.76±1.97% นน.ตัว/วัน) ส่วนปูที่เลี้ยง 90 และ 120 วัน มีอัตราการกินอาหารเฉลี่ยไม่แตกต่างกัน คือ 2.94±1.21 และ 2.55 ±1.00% นน.ตัว/วัน ตามลำดับ (P>0.05) สำหรับผลการประเมินอัตรารอดตายของปูม้าด้วยลอบพับดักปูหลังการวางลอบ 1 และ 2 ชั่วโมง พบว่า ไม่มีความแตกต่างกัน โดยจำนวนปูอยู่ที่ร้อยละ 43.53-54.78, 46.58-51.38, 13.11-24.92 และ 8.89-13.33 ของปูทั้งหมดที่มีอยู่ในบ่อที่ระยะเวลาการเลี้ยง 30, 60, 90 และ 120 วัน ตามลำดับ (P>0.05)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมประมง. 2553. สถิติการประมงแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2551. เอกสารฉบับที่ 12/2553. ศูนย์สารสนเทศ, กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
กนกวรรณ ขาวด่อน. 2547. ประสิทธิภาพของลอบปูแบบเลือกจับและการใช้เหยื่อชนิดต่าง ๆ สำหรับการ ประมงปูม้า. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 81 หน้า.
กอบศักดิ์ เกตุเหมือน ก่อเกียรติ กูลแก้ว และสุภาวดี จิตต์หมั่น. 2547. การเลี้ยงปูม้า Portunus pelagicus (Linnaeus, 1758) ในบ่อดิน. เอกสารวิชาการฉบับที่ 38/2547. ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง สงขลา, สำนักวิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง, กรมประมง, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 14 หน้า.
กอบศักดิ์ เกตุเหมือน วิลาสินี คงเล่ง สุกัญญา เจริญศรี และสุภาวดี จิตต์หมั่น. 2553. การเลี้ยงปูม้า (Portunus pelagicus Linnaeus, 1758) แบบแยกเพศ. เอกสารวิชาการฉบับที่ 12/2553. สำนักวิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง, กรมประมง, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 21 หน้า.
มนทกานติ ท้ามติ้น สุพิศ ทองรอด และสิริพร ลือชัย ชัยกุล. 2551. ระดับโปรตีนที่เหมาะสมในอาหารต่อการเจริญเติบโตของลูกปูม้า (Portunus pelagicus Linnaeus, 1758) ถึงระยะ 10 กรัม. เอกสารวิชาการฉบับที่ 15/2551. สำนักวิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง, กรมประมง, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 19 หน้า.
วารินทร์ ธนาสมหวัง ชัยยุทธ พุทธิจุน วัฒนา ฉิมแก้ว และสุพิศ ทองรอด. 2548. การเลี้ยงปูม้าในบ่อดิน. น. 339-369. ใน: วารินทร์ ธนาสมหวัง, สุพิศ ทองรอด และลิลา เรืองแป้น. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการการผลิตพันธุ์และการเลี้ยงปูม้า (Portunus pelagicus Linnaeus, 1758) เชิงพาณิชย์. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.), กรุงเทพฯ.
เวียง เชื้อโพธิ์หัก. 2542. โภชนาศาสตร์สัตว์น้ำและการให้อาหารสัตว์น้ำ. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 255 หน้า.
วิมล จันทรโรทัย และประเสริฐ สีตะสิทธิ์. 2540. สัดส่วนของโปรตีนจากปลาป่น และกากถั่วเหลืองที่ระดับ ต่ำสุดที่ไม่มีผลต่อการเจริญเติบโต การใช้ประโยชน์จากอาหาร และอัตราการกินอาหารของปลาดุก ลูกผสม. เอกสารวิชาการฉบับที่ 4/2540. กรมประมง, กรุงเทพฯ. 13 หน้า.
วุฒิชัย อ่อนเอี่ยม เทพบุตร เวชกามา และโสภี วิชัยเมือง. 2552. อัตรารอดตายของลูกปูม้า (Portunus pelagicus Linnaeus, 1758) ที่ได้จากพ่อแม่พันธุ์ในบ่อดิน. น. 381-387. ใน: เรื่องเต็มการประชุมทาง วิชาการครั้งที่ 47: สาขาประมง. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
วุฒิชัย อ่อนเอี่ยม และวราห์ เทพาหุดี. 2553. ความสัมพันธ์ทางกายภาพต่อปริมาณไข่ และอัตราการฟักไข่ของแม่ปูม้า (Portunus pelagicus Linnaeus, 1758) ที่ได้จากการเลี้ยงในบ่อดิน. น. 99-107. ใน: เรื่องเต็มการประชุมทางวิชาการครั้งที่ 48: สาขาประมง. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
สุพิศ ทองรอด วารินทร์ ธนาสมหวัง มนทกานติ ท้ามติ้น จีรรัตน์ เกื้อแก้ว และสิริพร ลือชัย ชัยกุล. 2548. การผลิตอาหารสำเร็จรูปสำหรับการเลี้ยงปูม้า. น. 277-338. ใน: วารินทร์ ธนาสมหวัง, สุพิศ ทองรอด และลิลา เรืองแป้น. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการการผลิตพันธุ์และการเลี้ยงปูม้า (Portunus pelagicus Linnaeus, 1758) เชิงพาณิชย์. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.), กรุงเทพฯ.
อาภรณ์ เทพพานิช สิริวรรณ หนูเซ่ง นิธิวัฒน์ วงศ์วิวัฒน์ และสำรวย ชุมวรฐายี. 2551. การเลี้ยงปูม้า (Portunus pelagicus Linnaeus, 1758) 291 ด้วยอาหาร 3 ชนิดในบ่อดิน. เอกสารวิชาการฉบับที่ 44/2551. สำนักวิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง, กรมประมง, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 30 หน้า.
อาภรณ์ เทพพานิช และสำรวยชุ มวรฐายี. 2548. การเลี้ยงปูม้า (Portunus pelagicus Linnaeus, 1758) ที่ระดับความหนาแน่นต่างกันในบ่อดิน. เอกสารวิชาการฉบับที่ 16/2548. ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งสุราษฎร์ธานี, สำนักวิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง, กรมประมง, กระทรวงเกษตรและ สหกรณ์. 13 หน้า.
APHA, AWWA and WEF. 1998. Standard Methods for the Examination of Water and Wastewater. 20th ed., American Public Health Association, Washington.
Marshall, S., K. Warburton, B. Paterson and D. Mann. 2005. Cannibalism in juvenile blue-swimmer crab Portunus pelagicus (Linnaeus, 1766): effects of body size, moult stage and refuge availability. Appl. Applied Animal Behaviour Science 90: 65-82.
Maheswarudu, G., Josileen Jose, K.R. Manmadhan Nair, M.R. Arputharaj, A. Ramakrishna, A. Vairamani and N. Ramamoorthy. 2008. Evalution of the seed production and grow out culture of blue swimming crab Portunus pelagicus (Linnaeus, 1758) in India. Indian Journal of Marine Sciences 37 (3): 313-321.
Oniam, V., U. Buathee, L. Chuchit and T. Wechakama. 2010. Growth and sexual maturity of blue swimming crab (Portunus pelagicus Linnaeus, 1758) reared in the earthen ponds. Kasetsart University Fisheries Research Bulletin 34 (1): 20-27.
Soundarapandian, P. and S. Dominic Arul Raja. 2008. Fattening of the blue swimming crab, Portunus pelagicus (Linnaeus). Journal of Fisheries and Aquatic Science 3 (1): 97-101.