การจำแนกไส้เดือนฝอยรากปม <I>Meloidogyne</I> spp. บางไอโซเลทของไทย โดยเทคนิค PCR

Main Article Content

ธนากร จันทร์มาลี
วราภรณ์ ประกอบ
วราภรณ์ ประกอบ

บทคัดย่อ

ไส้เดือนฝอยรากปม Meloidogyne spp. ทั้งหมด 10 ไอโซเลทซึ่งแยกและเตรียมได้จากดินที่เก็บจากพื้นที่ที่มีการระบาดของโรครากปม บางจังหวัดในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย เพิ่มปริมาณไส้เดือนฝอยโดยการปลูกต้นกล้ามะเขือเทศพันธุ์สีดาอายุ 30 วัน ลงในดินแต่ละตัวอย่าง จากนั้นเตรียมเชื้อบริสุทธิ์โดยเทคนิค single egg mass inoculation สำหรับนำไปจำแนกชนิดของไส้เดือนฝอยรากปมด้วยวิธีการทางสัณฐานวิทยาด้วยรูปแบบรอยย่นส่วนก้นของตัวเต็มวัยเพศเมีย จากผลการทดลองสามารถจำแนกชนิดไส้เดือนฝอยรากปมได้ดังนี้คือ ไอโซเลท CM1,  CM2,  CM3,  LP1 และ LP2 เป็น M. incognita ขณะที่ไอโซเลท LN1,  LN2,  UB1,  UB2 และ TK1 เป็น M. javanica จำแนกชนิดไส้เดือนฝอยรากปมด้วยเทคนิค PCR โดยอาศัยคู่ไพร์เมอร์ 194/195 ซึ่งจำเพาะต่อไส้เดือนฝอยรากปมที่พบในเขตร้อนชื้น (M. incoginita, M. arenaria และ M. javanica) และคู่ไพร์เมอร์ที่จำเพาะต่อไส้เดือนฝอยรากปมแต่ละชนิด พบว่า Meloidogyne  ทั้ง 10 ไอโซเลท ให้ผลการจำแนกชนิดที่สอดคล้องกับการจำแนกด้วยลักษณะรูปแบบรอยย่นส่วนก้น จากผลการทดลองสามารถสรุปได้ว่าการจำแนก Meloidogyne spp. โดยเทคนิค PCR สามารถทำได้รวดเร็ว และถูกต้อง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ลือชัย อารยะรังสฤษฏ์. 2544. ข้าว: ไส้เดือนฝอยและการจัดการ. เอกสารวิชาการ ศูนย์วิจัยข้าว ปทุมธานี สถาบันวิจัยข้าว กรมวิชาการเกษตร. 85 หน้า.
สืบศักดิ์ สนธิรัตน. 2541. ไส้เดือนฝอยศัตรูพืช: โรคและการจัดการ. สำนักพิมพ์รั้วเขียว, กรุงเทพฯ. 204 หน้า.
สุดารัตน์ โชคแสน. 2550. การจัดจำแนก species และ race ของไส้เดือนฝอยรากปม (Meloidogyne) ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยวิธีทางโมเลกุล และวิธีใช้พืชจำเพาะ. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัย ขอนแก่น, ขอนแก่น. 84 หน้า.
อนันต์ หิรัญสาลี และพิศาล ศิริธร. 2538. ไส้เดือนฝอยรากปมของมะละกอในภาคตะวันออก เฉียงเหนือ. แก่นเกษตร 23(4): 172-178.
Adam M.A.M., M.S. Phillips and V.C. Blok. 2006. Molecular diagnostic key for identification of single juveniles of seven common and economically important species of root-not nematode (Meloidogyne spp.). Plant Pathology 56: 190 –197.
Blok V.C., M.S. Phillips and M. Fargette. 1997. Comparison of sequences from the ribosomal DNA intergenic region of Meloidogyne mayaguensis and other major tropical root-knot nematodes. Journal of Nematology 29: 16–22.
Hirschmann, H. 1985. The classification of the family Meloidogynidae.pp.35-45 In: J.N. Jasser and C.C. Carter (edr). An Advanced Treatise on Meloidogyne. Vol. I: Biology and Control. North Carolina state University Raleigh.
Siddiqi, M.R. 2000. Parasites of plants and Insects. 2nd ed. Wallingford. UK:CABI Publ. 833 p.
Taylor, A. L. and J.N. Sasser. 1978. Biology, identification and control of root knot nematode (Meloidogyne species) Dept. of Plant Pathology, North Carolina state University Raleigh. 111 p.
Wishart J., M. S. Phillips and V.C. Blok. 2002. Ribosomal intergenic spacer: A Polymerase chain reaction diagnostic for Meloidogyne chitwoodi, M. fallax, and M. hapla. Phytopathology 92: 884-892
Zijlstra C., DTHM Donkers-Venne and M. Fargette. 2000. Identification of Meloidogyne incognita, M. javanica and M. arenaria using sequence characterized amplified region (SCAR) based PCR assays. Nematology 2: 47–53.