ความเสี่ยงเชิงชีวภาพในระบบการผลิตลิ้นจี่และ การจัดการของเกษตรกรในจังหวัดพะเยา

Main Article Content

รุ่งทิพย์ อุทุมพันธ์
ธวัชชัย รัตน์ชเลศ
พฤกษ์ ยิบมันตะสิริ
จงรักษ์ พันธ์ไชยศรี

บทคัดย่อ

ศัตรูพืช และการสูญหายของทรัพยากรพันธุกรรมพืช นับเป็นความเสี่ยงเชิงชีวภาพทางเกษตรที่สำคัญในระบบการผลิตลิ้นจี่ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความเสี่ยงเชิงชีวภาพ และการจัดการความเสี่ยงของเกษตรกรในระบบการผลิตลิ้นจี่ จ. พะเยา โดยจะกล่าวถึงเฉพาะความเสี่ยงจากศัตรูพืช ศึกษาจาก 4 ตำบล ใน อ. แม่ใจ และ 1 ตำบล ใน อ. เมืองพะเยา จ. พะเยา จำนวนทั้งสิ้น 113 สวน ระยะเวลาศึกษาครอบคลุมหนึ่งฤดูกาลผลิต ตั้งแต่พฤศจิกายน 2549-กรกฎาคม 2550 ใช้วิธีการสำรวจและสอบถาม รวมถึงการค้นหาและระบุตำแหน่งเชิงพื้นที่ แล้ววิเคราะห์ความเสี่ยงจากศัตรูพืชจากการประเมินของเกษตรกร พร้อมทั้งระบุวิธีการจัดการความเสี่ยงจากศัตรูพืชของเกษตรกร ผลการศึกษาพบว่า ลิ้นจี่ของ จ. พะเยา เกือบทั้งหมดเป็นพันธุ์ฮงฮวย ปลูกบนนิเวศเกษตรที่ดอนพื้นราบจนถึงที่ดอนลูกคลื่นลอนชัน ศัตรูพืชเป็นปัญหาที่สำคัญในระบบการผลิตลิ้นจี่ คิดเป็นร้อยละ 28.7 ของผู้ปลูกลิ้นจี่ รองลงมาเป็นความแปรปรวนของราคา ความแปรปรวนของภูมิอากาศ การขาดแคลนน้ำ และต้นทุนการผลิตสูง ตามลำดับ ศัตรูพืชในกลุ่มโรคพืชจัดว่ามีความเสี่ยงสูงสุด ร้อยละ 10.4 มีโรคที่สำคัญ คือ โรคกร้านแดด และโรคผลแตกเน่า ส่วนศัตรูพืชที่พบรองลงมาคือ แมลงศัตรูพืช วัชพืช และสัตว์ศัตรูพืช มีค่าดัชนีความรุนแรง ร้อยละ 2.9, 2.6 และ 2.3 ตามลำดับ เกษตรกรร้อยละ 79.3 ยังใช้สารเคมีในการจัดการโรคพืช แมลงศัตรูพืช และสัตว์ศัตรูพืชเป็นหลัก ส่วนวัชพืชเกือบทั้งหมดใช้วิธีเขตกรรม มีเกษตรกรบางส่วนใช้การจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน และวิธีเขตกรรม ร้อยละ 11.7 และ 9.0 ตามลำดับ เพื่อลดปริมาณการใช้สารเคมีเกษตร นอกจากนี้เกษตรกร ร้อยละ 99.1 มีการตัดแต่งกิ่งหลังการเก็บเกี่ยว

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมพัฒนาที่ดิน. 2549. การสำรวจและคาดการณ์ผลผลิตลิ้นจี่ปีการผลิต 2549 โดยใช้เทคโนโลยีการสำรวจระยะไกลและระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www. ldd.go.th/Lddwebsite/web_osl/pdf/book/2549_lychee.pdf (12 กรกฎาคม 2550).

กรมวิชาการเกษตร. 2549. การจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสานในประเทศไทย. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.doa.go.th/field crops/ipm/th/index.htm (1 สิงหาคม 2550).

ธวัชชัย รัตน์ชเลศ พฤกษ์ ยิบมันตะสิริ รุ่งทิพย์ อุทุมพันธ์ และ จงรักษ์ พันธ์ไชยศรี. 2550. ระบบสนับสนุนการวางแผนการจัดการทรัพยากรเพื่อการเกษตรและบริการ ระยะที่ 2 ภาคเหนือตอนบน: ความเสี่ยงและการลดความเสี่ยงเชิงชีวภาพทางเกษตร. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. ศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 238 หน้า.

ธวัชชัย รัตน์ชเลศ พฤกษ์ ยิบมันตะสิริ รุ่งทิพย์ อุทุมพันธ์ และ จงรักษ์ มูลเฟย. 2548. ระบบการผลิตลิ้นจี่ในเขตภาคเหนือตอนบน. หน้า 99-138. ใน: ระบบสนับสนุนการวางแผนจัดการทรัพยากรเพื่อการเกษตรและบริการ ระยะที่ 1 ภาคเหนือตอนบน: องค์ความรู้และยุทธศาสตร์ในระบบการผลิตไม้ผล. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. ศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

นุชนารถ จงเลขา. 2548. การจัดการศัตรูพืชในทศวรรษหน้า-โรคพืช. หน้า 18-31. ใน: เอกสารประกอบการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง เทคโนโลยีที่เหมาะสมในการลดการใช้สารเคมีเกษตรเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค. 10 พฤษภาคม 2548. ณ ห้องประชุมใหญ่ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

วิจิตร วังใน. 2546. ชนิดและพันธุ์ไม้ผลเมืองไทย. หจก.มิตรเกษตรการตลาดและโฆษณา, กรุงเทพฯ. 224 หน้า.

ศานิต รัตนภุมมะ. 2548. การจัดการศัตรูพืชในทศวรรษหน้า-แมลงศัตรูพืช. หน้า 32-53. ใน: เอกสารประกอบการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง เทคโนโลยีที่เหมาะสมในการลดการใช้สารเคมีเกษตรเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค. 10 พฤษภาคม 2548. ณ ห้องประชุมใหญ่ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

สุรเชษฐ์ จามรมาน วิบูลย์ จงรัตนเมธีกุล สืบศักดิ์ สนธิรัตน และ ดวงพร สุวรรณกุล. 2543. หลักการและวิธีการจัดการ. หน้า 44-58. ใน: สืบศักดิ์ สนธิรัตน (บก.). การจัดการศัตรูพืช. โรงพิมพ์ลินคอร์น, กรุงเทพฯ.

สำนักงานเกษตรจังหวัดพะเยา. 2550. สถิติการปลูกพืชจังหวัดพะเยา. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.phayao.doae.go.th/phayaoplantdata.htm (15 สิงหาคม 2550).

สำนักปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 2550. ข้อมูลไม้ผลยืนต้น. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://job.haii.or.th/moac/index.php?module=reports&method=report_ integration& report_id=33 (30 ตุลาคม 2550).