ปริมาณธาตุอาหารพืชในสารละลายที่ได้จากการหมักวัสดุอินทรีย์ชนิดต่างๆ
Main Article Content
บทคัดย่อ
ปริมาณธาตุอาหารพืชในสารละลายที่ได้จากการหมักวัสดุอินทรีย์ชนิดต่าง ๆ ดำเนินการระหว่างเดือนมีนาคม ถึง สิงหาคม 2549 ณ สำนักส่งเสริมและการศึกษาต่อเนื่อง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแหล่งเชื้อจุลินทรีย์ 4 ชนิด คือ เชื้อจุลินทรีย์ของมูลนิธิคิวเซ เชื้อจุลินทรีย์จากกรมพัฒนาที่ดิน เชื้อจุลินทรีย์ตามธรรมชาติ และเชื้อจุลินทรีย์ตามธรรมชาติจากการเพาะเลี้ยงโดยใช้น้ำมะพร้าวและสับปะรด และวัสดุอินทรีย์ 5 ชนิด คือ ผลไม้ เศษอาหาร สัตว์ทะเล หัวปลา และวัชพืช จากการศึกษาพบว่าสารละลายจากเชื้อจุลินทรีย์พัฒนาที่ดินให้ปริมาณรวมของธาตุอาหารหลักและธาตุอาหารรองสูงที่สุดคือ 2.193 และ 0.32 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ นอกจากนั้นเชื้อจุลินทรีย์จากแหล่งนี้ยังให้ปริมาณของจุลธาตุอาหารสูงสุดและมีต้นทุนต่ำที่สุด อีกด้วย เมื่อเปรียบเทียบสารละลายจากวัสดุอินทรีย์ 5 ชนิด พบว่าสารละลายจากการหมักหัวปลาให้ปริมาณรวมของธาตุอาหารหลักสูงสุดคือ 1.878 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่สารละลายจากเศษอาหารให้ปริมาณรวมของธาตุอาหารรองสูงสุดคือ 0.46 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนั้นยังให้เหล็กและสังกะสีสูงสุด 64.09 และ 3.92 ppm ตามลำดับ สารละลายจากผลไม้ให้แมงกานีสสูงสุด 9.78 ppm และสารละลายจากสัตว์ทะเลให้ปริมาณทองแดงสูงสุด 0.61 ppm ผลการศึกษาดังกล่าวสรุปได้ว่าเชื้อจุลินทรีย์จากกรมพัฒนาที่ดิน และสัตว์ทะเลเป็นวัสดุอินทรีย์เหมาะสมที่สุดในการทำให้สารละลายมีปริมาณธาตุอาหารพืชสูงสุด
Article Details
References
กรมวิชาการเกษตร. 2546. ฮอร์โมนพืชและธาตุอาหารพืชในน้ำหมักชีวภาพ. กองเกษตรเคมี กรมวิชาการเกษตร, กรุงเทพฯ. 134 หน้า.
กรมวิชาการเกษตร. 2547. ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์น้ำหมักชีวภาพ. กรมวิชาการเกษตร, กรุงเทพฯ. 51 หน้า.
กรมวิชาการเกษตร. 2548. คู่มือปุ๋ยอินทรีย์. กรมวิชาการเกษตร, กรุงเทพฯ. 162 หน้า.
กาญจนา วันเสาร์ และเอื้องฟ้า บรรเทาวงษ์. 2544. ปุ๋ยน้ำหมักดีจริงหรือ. วารสารเคหการเกษตร 25(4): 179-186.
จีระภา ชัยวงศ์ และยุทธศักดิ์ สุบการี. 2547. การเตรียมปุ๋ยน้ำชีวภาพจากหอยขยะ. โครงงานนักศึกษา
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, ปัตตานี. 94 หน้า.
ฝ่ายถ่ายทอดเทคโนโลยี. 2544. ปุ๋ยเคมี อินทรีย์ และชีวภาพ. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย, กรุงเทพฯ. 48 หน้า.
มุกดา สุขสวัสดิ์. 2545. ปุ๋ยอินทรีย์. สำนักพิมพ์บ้าน และสวน. กรุงเทพฯ. 215 หน้า.
วรรณา เลี้ยววาริณ. 2538. คู่มือวิเคราะห์ดินและปุ๋ย.หน่วยปฏิบัติการวิเคราะห์กลาง คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา. 37 หน้า
สัมฤทธิ์ เฟื่องจันทร์. 2538. แร่ธาตุอาหารพืชสวน. ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น. 604 หน้า.
สุมาลี สุทธิประดิษฐ์. 2536. ความอุดมสมบูรณ์ของดิน. ภาควิชาธรณีศาสตร์ คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา. 349 หน้า.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2549. สถิติการนำเข้าส่งออก. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.oae.go.th/oae website/oae imex.php (20 กันยายน 2549).
Kaewtubtim, M. 2008. A study on amounts plant nutrients in soluble organic fertilizer from fermentation of fish heads, fruits, food leftovers, weeds and marine animals. pp. 390-395. In: Proceedings of 46th Kasetsart University Annual Conference Subject: Plants. 29 January – 1 February 2008, Bangkok.
Salisbury, F.B. and C.W. Ross. 1992. Plant Physiology. Wadsworth Publishing Company, Belmont. 682 pp.
Tan, K.H. and V. Nopamornbodi. 1979. Effect of different levels of humic acids on nutrient content and growth of corn (Zea mays L.). Plant and Soil 51(2): 283-287.