การศึกษารูปแบบไอโซไซม์ของกล้วยไม้ดินว่านจูงนาง

Main Article Content

อมรรัตน์ ทองแสน
ฉันทนา สุวรรณธาดา
พรรัตน์ ศิริคำ

บทคัดย่อ

ศึกษารูปแบบไอโซไซม์ของกล้วยไม้ว่านจูงนางที่รวบรวมจากพื้นที่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติขุนแม่กวง จำนวน 7 อีโคไทป์ ด้วยวิธีโพลีอคริลาไมด์เจลอิเล็กโทรโฟรีซิส โดยศึกษาในระบบเอนไซม์ 4 ระบบ คือ acid phosphatase, esterase, peroxidase และ superoxide dismutase แล้วนำแถบสีที่ปรากฏมาวิเคราะห์ด้วยวิธี UPGMA cluster analysis เพื่อจัดกลุ่มตามความสัมพันธ์ทางพันธุกรรม พบว่าสามารถจัดกลุ่มว่านจูงนางออกได้เป็น 4 กลุ่ม อย่างชัดเจนตามอีโคไทป์ แต่อีก 3 กลุ่มมีความใกล้ชิดกันของประชากรบางต้นในอีโคไทป์ที่ต่างกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

พสุ สกุลอารีวัฒนา. 2546. สัณฐานวิทยาและรูปแบบไอโซไซม์ของพืชสกุลรองเท้านารีของไทย. วิทยานิพนธ์วิทยา-ศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 107 หน้า.
เพิ่มพงษ์ ศรีประเสริฐศักดิ์. 2531. คู่มือปฏิบัติการเทคนิคทางอิเล็คโทรโฟรีซีสในการจำแนกพันธุ์พืช Vertical cylindrical gel, slab polyacrylamide gel. หน้า. 45-110. ใน: เอกสารประกอบการฝึก อบรมทางวิชาการ เรื่อง เทคนิคทางอิเลคโทรโฟรีซีสในการจำแนกพันธุ์พืช ณ ฝ่ายปฏิบัติการวิจัยและเรือนเพาะปลูกพืชทดลอง, สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน, นครปฐม.
ศลิษา รุจิวณิชย์กุล ฉันทนา สุวรรณธาดา และพรรัตน์ ศิริคำ. 2548. การศึกษารูปแบบไอโซไซม์ของกล้วยไม้ว่านจูงนาง.วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 5-6 (พิเศษ): 681-684.
สลิล สิทธิสัจธรรม และ นฤมล กฤษณชาญดี. 2545. คู่มือกล้วยไม้. สำนักพิมพ์สารคดี, กรุงเทพฯ. 248 หน้า.
องค์การสวนพฤกษศาสตร์. 2543. เล่ม 6. กล้วยไม้ไทย โอ. เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์, กรุงเทพฯ. 292 หน้า.
อบฉันท์ ไทยทอง. 2544. กล้วยไม้เมืองไทย. อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พลับลิชชิ่ง, กรุงเทพฯ. 461 หน้า.