การใช้ EMS เพื่อชักนำการกลายพันธุ์ใน กล้วยไม้เหลืองจันทบูร
Main Article Content
บทคัดย่อ
ศึกษาหาสภาวะที่เหมาะสมของการใช้สาร EMS (ethylmethanesulphonate) เพื่อชักนำการกลายพันธุ์ในกล้วยไม้เหลืองจันทบูร โดยนำ PLBs (Protocom-like bodies) กล้วยไม้เหลืองจันทบูรมาจุ่มแช่ในสารละลาย EMS ที่ระดับความเข้มข้นต่าง ๆ กันคือ 0, 0.25, 0.5, 0.75 และ 1 เปอร์เซ็นต์ นาน 60 และ 90 นาที แล้วเพาะเลี้ยงบนอาหาร MS ที่ปราศจากสารควบคุมการเจริญเติบโต พบว่า หลังเพาะเลี้ยงนาน 14 วัน PLBs ที่จุ่มแช่ในสารละลาย EMS ที่ความเข้มข้น 0.8 เปอร์เซ็นต์ นาน 90 นาที ให้อัตราการรอดชีวิตลดลงครึ่งหนึ่ง จากนั้นศึกษาการเจริญและพัฒนาการของ PLBs ที่รอดชีวิต พบว่า ภายหลังเพาะเลี้ยงนาน 2 เดือน ทรีตเมนต์ที่ไม่จุ่มแช่ในสารละลาย EMS (ชุดควบคุม) ให้เปอร์เซ็นต์การสร้างยอดสูงสุด คือ 15 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่ทรีตเมนต์ที่จุ่มแช่ในสารละลาย EMS ความเข้มข้น 0.75 และ1 เปอร์เซ็นต์ นาน 90 นาที ให้เปอร์เซ็นต์การสร้างยอดต่ำสุดเท่ากันคือ 2 เปอร์เซ็นต์ และเมื่อพิจารณาจำนวนยอดเฉลี่ยต่อชิ้นส่วนพบว่าทรีตเมนต์ที่จุ่มแช่ในสารละลาย EMS ความเข้มข้น 1 เปอร์เซ็นต์ นาน 90 นาที ให้จำนวนยอดเฉลี่ยต่อชิ้นส่วนสูงสุดคือ 12 ยอดต่อชิ้นส่วน เมื่อตรวจสอบลักษณะทางสัณฐาน พบว่า ทรีตเมนต์ที่จุ่มแช่ในสารละลาย EMS ความเข้มข้น 1 เปอร์เซ็นต์ นาน 60 นาที เกิดลักษณะต้นเผือกเป็นจำนวน 10 เปอร์เซ็นต์ และที่ EMS ความเข้มข้น 1 เปอร์เซ็นต์ นาน 90 นาที พบอาการใบด่าง 3 ลักษณะคือ ด่างเป็นบางส่วนของใบ (sectorial) ด่างตรงกลางใบ (mericlinal) และด่างบริเวณขอบใบ (periclinal) เป็นจำนวน 5, 15 และ 11 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ซึ่งลักษณะใบด่างที่เกิดขึ้นมีสีด่าง 2 สี คือ ใบด่างสีเหลืองและใบด่างสีขาว และเมื่อนำมาตรวจสอบการกลายพันธุ์ด้วยเทคนิคไอโซไซม์ พบว่าให้แถบเอนไซม์ที่แตกต่างกันระหว่างทรีตเมนต์ที่จุ่มแช่และไม่จุ่มแช่ EMS
Article Details
References
ธัญญาพร สุสานนท์. 2547. การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อและการชักนำให้เกิดการกลายพันธุ์ในหน้าวัว (Anthurium spp.). วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา. 57 หน้า.
ปนัย เรืองสังข์. 2547. ผลของ EMS และ Colchicine ต่ออัตราการรอดชีวิตและการเพิ่มชุดโครโมโซมของข้อหน้าวัวพันธุ์โซเนต. รายงานการฝึกงานภาคสนามพืชศาสตร์.มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา. 20 หน้า.
วชิรพงศ์ หวลบุตตา. 2548. คู่มือคนรักต้นไม้:กล้วยไม้ไทย. สำนักพิมพ์บ้านและสวน, กรุงเทพฯ. 96 หน้า.
วัชรินทร์ ชินกวิน และ กัณยารัตน์ สุไพบูลย์วัฒน. 2548.การทดสอบความหลากหลายทางพันธุกรรมของกล้วยไม้สกุลหวายที่ชักนำให้กลายพันธุ์และเกิดการแปรปรวนสายพันธุ์ผ่านโปรโตพลาสต์. คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, กรุงเทพฯ. 10 หน้า.
ศิริลักษณ์ อินทะวงศ์ วีณัน บัณฑิตย์ ณัฐา ควรประเสิรฐ และ พิมพ์ใจ อาภาวัชรุตม์. 2549. การเปรียบเทียบแบบแผนไอโซไซม์และเครื่องหมายอาร์เอพีดีเพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมในเอื้องสายสามสีและเอื้องสายแข็ง. วารสารสงขลานครินทร์ วทท. 28(3): 531-537.
สมปอง เตชะโต. 2541. การชักนำการกลายพันธุ์ในมังคุด: การตรวจสอบความเข้มข้นของสิ่งก่อกลายพันธุ์ต่อความสามารถในการสร้างแคลลัส. วารสารแก่นเกษตร 26: 184-194.
สมปอง เตชะโต และ วิทยา พรหมมี . 2542. การชักนำการกลายพันธุ์มังคุด: ผลของสิ่งก่อกลายพันธุ์ต่อการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมี และเนื้อเยื่อวิทยา. วารสารสงขลานครินทร์ วทท. 21: 17-24.
สกุลรัตน์ แสนปุตะวงศ์. 2548. เทคนิคการแยกและการเพาะเลี้ยงโปรโตพลาสต์จากใบกล้วยไม้เหลืองจันทบูร. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา. 71 หน้า.
สำนักงานทางหลวงชนบทจังหวัดจันทบุรี. 2547. ราชมงคลรักษ์เหลืองจันท์ ครั้งที่ 6. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.dor.go.th/~chanburi /news/detail.php?No=3 (25 มิถุนายน 2550).
Ahloowalia, B.S. and M. Maluszynski. 2001. Induced mutations - a new paradigm in plant breeding. Euphytica 118: 167-173.
Arditti, J. and R. Ernst. 1993. Micropropagation of Orchids. John Wiley and Sons, Inc., New York. 682 pp.
Bhagwat, B. and E. J. Duncan. 1998. Mutation breeding of banana cv. Highgate (Musa spp., AAA group) for tolerance to Fusarium oxysporum f. sp. cubense using chemical mutagens. Scientia Horticulturae 73: 11-22.
Koh, Y.C. and F.T. Davies. 2001. Mutagenesis and in vitro culture of Tillandsia fasciculata Swartz var. fasciculata (Bromeliaceae). Scientia Horticulturae 87: 225-240.
Nuamjaroen, P. 1998. Ethylmethanesulphonate induced variation and somaclonal variation of Safflower (Carthamus tinctorius Linn.) tissue culture. M.Sc. Thesis. Chulalongkorn University, Bangkok. 112 pp.
Sanchez, M.I. 1988. Micropropagation of Cyrtopodium (Orchidaceae) through root tip culture. Lindleyana 3: 93-96.
Singh, K. P., B. Singh, S. P. S. Raghava and C. S. Kalia. 2000. Induced flower colour mutations in carnation through in vitro application of chemical mutagen. Indian Journal of Genetics and Plant Breeding 60: 535-539.
Wongsawad, P., C. Wongsawad, S. Mahadtanapuk, S. Kantawong, P. Chariyavidhawat and T. Paratasilpin. 2005. Mutation in rice using ethyl methanesulphonate. Paper presented at 31st Congress on Science and Technology of Thailand, 18-20 October 2005, Suranaree University of Technology, Nakhon Ratchasima.